การผลิตน้ำดื่มสะอาด ระบบสุขาภิบาล การดูแลสุขภาพ การขนส่ง การสร้างแสงสว่าง ความร้อน ความเย็น หรือแม้แต่การทำอาหาร มีความจำเป็นต่อความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ทั้งสิ้น ซึ่งต้องมีพลังงานเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง กระทั่งกิจกรรมต่างๆ ทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาสังคมของประเทศ ประชากรกว่า 700 ล้านคน ในภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก ไม่สามารถเข้าถึงไฟฟ้าได้ ถึงแม้ว่าความต้องการด้านไฟฟ้าในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีอัตราเติบโตสูงขึ้นถึง 3 เท่า ภายในปี 2040 แต่ด้วยภัยธรรมชาติจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้บรรดาผู้นำโลก และหน่วยงานข้ามชาติ ต่างตระหนักถึงความจำเป็นที่ต้องทำให้ทุกคนจะสามารถเข้าถึงพลังงานได้ควบคู่ไปกับการควบคุมผลกระทบร้ายแรงจากสภาพแวดล้อมที่อันตราย ซึ่งกำลังแผ่ขยายไปทุกที่
การปฏิวัติอุตสาหกรรม และการเติบโตอย่างรวดเร็วของสังคมเมือง ทำให้เกิดความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมอันเนื่องมาจากมลพิษ การตัดไม้ทำลายป่า และความเสื่อมโทรมของดิน ที่กำลังขยายวงกว้าง สิ่งต่างๆ เหล่านี้ถูกขยายผลให้รุนแรงขึ้น จากการพึ่งพาอาศัยพลังงานเชื้อเพลิงจากฟอสซิล ซึ่งเป็นขุมพลังหลักในการเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ทั้งนี้ในบรรดา 19 ประเทศ จาก 25 ประเทศในภูมิภาคเอเชีย รวมถึงประเทศฟิลิปปินส์ และสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ต้องประสบกับภาวะน้ำท่วมชายฝั่ง ผู้คนบาดเจ็บ เสียชีวิต รวมไปถึงการสูญเสียทางเศรษฐกิจ มีการคาดการณ์ว่า จะมีประชากรจำนวนมากกว่า 5.9 ล้านคน ที่จะได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในทุกปีจนถึงปี 2100 ตามรายงานปี 2017 ที่จัดทำขึ้นโดยธนาคารพัฒนาเอเชีย หรือ ADB (Asian Development Bank) ทวีปเอเชีย จัดเป็นเป็นภูมิภาคที่มีอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงที่สุด และมีความมุ่งหวังที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรนับหลายล้านคนให้ดีขึ้น องค์กรรัฐบาลในภูมิภาคนี้ ล้วนตระหนักถึงสิ่งที่เป็นปัจจัยต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ พร้อมกับได้แสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองที่จริงจังมากขึ้น ในการนำวิธีการรับมือกลับมาพิจารณาใหม่ ด้วยการกำหนดกรอบนโยบายด้านพลังงานที่ปลอดภัยยิ่งกว่าเดิม ให้ความยั่งยืนมากขึ้น นอกเหนือจากการใช้พลังงานหมุนเวียนจากแหล่งพลังงานสะอาดที่ลดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม
ส่งเสริมให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในพลังงานหมุนเวียน
ในปัจจุบันเป็นช่วงเวลาสำคัญที่ทั้งองค์กรและหน่วยงานต่างๆของนานาประเทศ จะต้องช่วยกันเร่งกระบวนการพัฒนาไปสู่อนาคตที่ยั่งยืน ด้วยแหล่งพลังงานหมุนเวียน ซึ่งนับเป็นเวลาหลายปีที่ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้มีส่วนร่วมและนำเสนอความเชี่ยวชาญในเรื่องของความยั่งยืน ตามปณิธานที่ต้องการช่วยให้ผู้คนเข้าถึงพลังงานสะอาด ปลอดภัย และเชื่อถือได้ ความมุ่งมั่นนี้มาพร้อมกับจุดยืนที่แตกต่างในการช่วยเหลือผู้ที่อยู่อาศัยในถิ่นทุรกันดาร ถูกตัดขาดจากโลกภายนอก และยังขาดแคลนพลังงาน
นอกจากการมอบโซลูชันพลังงานที่สะอาดและยั่งยืนให้กับชุมชมแล้ว เราเชื่อในเรื่องของการส่งเสริมให้ชุมชนได้มีส่วนร่วม พร้อมสนับสนุนความคิดที่ว่า “ความมุ่งมั่นพยายามที่ดีงาม ต้องอาศัยความสามารถที่แข็งแกร่ง” ของคนในท้องถิ่น เพื่อดูแลจัดการโซลูชันในการเข้าถึงการบริการด้านพลังงาน โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่นที่อยู่ห่างไกล โดย ADB พบว่าการประสบความสำเร็จที่ผ่านมาส่วนใหญ่ มักจะมีจุดร่วมที่เหมือนกัน คือ “การตอบสนองจากชุมชนในทางบวก ต่อระบบพลังงานหมุนเวียน” ด้วยอัตราการจ่ายเงินคืนในระดับที่สูงมาก ซึ่งผู้อยู่อาศัยในท้องถิ่นหรือผู้นำหมู่บ้านจะต้องดูแล และจัดการเทคโนโลยีเหล่านี้ให้ได้ด้วยตัวเอง
หนึ่งในความสำเร็จ ก็คือโครงการที่ได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากภาครัฐบาลของประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยในปี 2016 ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้ทำงานร่วมกับคณะกรรมการด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานหมุนเวียน (Directorate General of Renewable Energy and Energy Conservation หรือ EBTKE) รวมถึงพันธมิตรอื่นๆ ของรัฐบาล เพื่อมอบไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน 100 เปอร์เซ็นต์ ที่มีระบบสำรองไฟไว้ในแบตเตอรี่และพลังงานแสงอาทิตย์แบบออฟกริด (ที่ไม่ต้องใช้ไฟจากการไฟฟ้าฯ) ให้กับหมู่บ้าน 250 แห่ง มีประชากร 37,500 ครัวเรือน นอกจากจะช่วยให้พวกเขาไม่ต้องพึ่งพาพลังงานดีเซล ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่ก่อให้เกิดมลพิษในระดับสูง ยังช่วยให้ผู้คนเหล่านี้เข้าถึงพลังงานได้ตลอดเวลา พร้อมกับควบคุมค่าใช้จ่ายได้ เช่นเดียวกับที่ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้มอบกระแสไฟฟ้าให้กับ 12,500 หลังคาเรือนในหมู่บ้าน 100 แห่งในประเทศกัมพูชา ผ่านระบบโซลาร์โฮม รวมถึงอีกกว่า 1,000 หลังคาเรือนในหมู่บ้าน 5 แห่งในประเทศเมียนมาร์ ผ่านไมโครกริด เพราะในภูมิภาคนี้ต้องเผชิญกับความท้าทายลักษณะเดียวกันในการเข้าถึงพลังงาน การตอบสนองด้านพลังงาน ในแง่ของการใช้และปัจจัยการผลิต ล้วนมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละภูมิภาค ดังนั้นในส่วนของโซลูชันจึงจำเป็นต้องปรับให้สอดคล้องกับภูมิภาคที่แตกต่างกัน ทั้งในเรื่องเศรษฐกิจ การเมืองและวัฒนธรรม
ชักชวนเยาวชนเพื่อโลกที่พร้อมสำหรับอนาคต
เนื่องจากมีการกำหนดความต้องการด้านพลังงานและประชากรในภูมิภาคนี้มีเพิ่มมากขึ้น จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนในการปรับปรุงประสิทธิภาพของโซลูชัน และผลกระทบที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริงในระยะยาว นอกเหนือจากการพัฒนาต่อเนื่องในเรื่องของเทคโนโลยีและนวัตกรรมแล้ว เยาวชนในปัจจุบันยังนับเป็นสินทรัพย์ที่สำคัญที่สุดในโลก ที่ช่วยให้นำไปสู่เส้นทางสีเขียวและอนาคตที่ยั่งยืนได้อย่างรวดเร็ว เพื่อต่อยอดความริเริ่มของเราในสาธารณรัฐอินโดนีเซีย มูลนิธิชไนเดอร์ (Schneider Foundation) พร้อมด้วยบริษัท ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้ร่วมมือกับกระทรวงการศึกษาและวัฒนธรรม ของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Kemendikbud RI) และ กระทรวงการศึกษาแห่งชาติของฝรั่งเศส (MENES) โดยมีการปรับปรุงคุณภาพและทักษะความสามารถของผู้เชี่ยวชาญด้านไฟฟ้าในประเทศ โดยมูลนิธิชไนเดอร์ได้ให้เงินสนับสนุน ความร่วมมือดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน คือการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับอินเตอร์เนชันแนล รวมไปถึงเพื่อตอบสนองความต้องการอื่นๆ อีกทั้งช่วยเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียนชาวอินโดนีเซียกว่า 1,500 คน ก้าวไปสู่การทำงานในวิชาชีพไฟฟ้าในทุกปี ตั้งแต่ปี 2018 เป็นต้นไป
ในความริเริ่มเหล่านี้ เราคาดหวังที่จะได้เห็นความสำเร็จ และการใช้พลังงานหมุนเวียนที่จะคงอยู่ตลอดไป รวมถึงการเป็นชุมชนที่แข็งแกร่ง และการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน ทั้งเรื่องแรงงาน การวางแผน และการตัดสินใจ
การเข้าถึงพลังงาน เริ่มจากความร่วมมือ
พลังงานเป็นปัจจัยสำคัญในการพลิกโฉมอนาคตสู่ความเสมอภาคและยั่งยืน รวมไปถึงใช้ต่อสู้กับความยากจนและผลักดันให้มนุษยชาติก้าวไปสู่การพัฒนา ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้ทุ่มเทให้ความสำคัญกับ “พลังงานยั่งยืนสำหรับทุกคน (SE4ALL – Sustainable Energy for ALL) และวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน 2030 (2030 Agenda for Sustainable Development) รวมถึงข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) ซึ่งทั้งหมดล้วนช่วยกันผลักดันโครงข่ายในระดับโลก เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและคำมั่นสัญญา
ชไนเดอร์ อิเล็คทริค มีคำมั่นสัญญาในการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน ช่วยให้ผู้คนเข้าถึงพลังงานสะอาดและปลอดภัย เป็นสิ่งที่อยู่ในดีเอ็นเอขององค์กร โดยร่วมมือกับพนักงาน สปอนเซอร์จากพันธมิตร รวมถึงลูกค้าในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก เราได้มีส่วนร่วมในการช่วยให้ผู้คนกว่า 5 ล้านคน ในชุมชนที่ห่างไกลเพื่อให้เข้าถึงพลังงานได้ภายใน 7 ปีที่ผ่านมา และยังไม่ได้หยุดแค่นั้น เป้าหมายของเราก็คือการบรรลุที่ 50 ล้านคนภายใน 10 ปีข้างหน้า จากการทำงานร่วมกับชุมชน ภาครัฐฯ และองค์กรธุรกิจ เรามีพลังงานที่ให้ความปลอดภัยทั้งโลก และผู้คน เราปรับปรุงเรื่องของประสิทธิภาพรวมไปถึงมาตรฐานการอยู่อาศัย ในขณะที่ช่วยลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงจากฟอสซิล เพื่อประโยชน์ของสภาพแวดล้อมในภาพรวม และตอนนี้ เราจำเป็นต้องร่วมมือกันให้มากกว่าที่เคย เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับชุมชนด้วยการให้พวกเขาเข้าถึงพลังงานที่มีประสิทธิภาพ เชื่อถือได้ ปลอดภัย และให้ความยั่งยืน หรือแม้แต่การฝึกอบรมเพื่อดูแลสภาพแวดล้อมในการดำรงชีวิตให้มีความสะอาดมากขึ้น ปลอดภัยยิ่งขึ้น
เกี่ยวกับชไนเดอร์ อิเล็คทริค
ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นในการจัดการพลังงาน และระบบออโตเมชั่น ตั้งแต่ บ้าน อาคาร ดาต้าเซ็นเตอร์ ระบบโครงสร้างพื้นฐาน และอุตสาหกรรมต่างๆ ด้วยการยืนหยัดอยู่ในเวทีระดับโลกในกว่า 100 ประเทศ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เป็นผู้นำที่โดดเด่นในด้านการจัดการพลังงาน ทั้งแรงดันไฟฟ้าขนาดกลาง-ต่ำ และระบบสำรองไฟฟ้า รวมถึงระบบออโตเมชั่นต่างๆ เรานำเสนอโซลูชั่นแบบบูรณาการที่มีประสิทธิภาพ ด้วยการผสานการทำงานร่วมกันทั้งในส่วนของพลังงาน ระบบออโตเมชั่น และซอฟต์แวร์ เรามีระบบนิเวศทั่วโลก ซึ่งเป็นการประสานความร่วมมือกับคู่ค้ารายใหญ่ที่สุด รวมถึงชุมชนนักพัฒนาและผู้วางระบบบนแพลตฟอร์มเปิด เพื่อมอบประสิทธิภาพด้านการดำเนินงาน และการควบคุมในแบบเรียลไทม์ เราเชื่อว่าด้วยผู้คนที่ยอดเยี่ยมเหล่านี้ และพันธมิตรของเรา จะช่วยให้ชไนเดอร์ อิเล็คทริคเป็นบริษัทที่เยี่ยมยอด พร้อมกับคำมั่นสัญญาของเราที่มุ่งมั่นในเรื่องการสร้างนวัตกรรม ความหลากหลาย และความยั่งยืนช่วยให้ทุกคนมั่นใจได้ว่า “Life is On” ในทุกที่สำหรับทุกคน และทุกช่วงเวลา www.schneider-electric.co.th
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
บริษัท เอพีพีอาร์ มีเดีย จํากัด 02-655-6633
ทนุ รักษาผล /086 398 1290 / thanu@apprmedia.com
สุชลี พงษ์ประเสริฐ / 087 682 6888 / suchalee@apprmedia.com
นวรัตน์ ฉัตรดรงค์ / 090 093 6555 /nawarat@apprmedia.com