เรียนรู้เรื่องไวน์กับ สจ๊วร์ต รัสเตด แห่ง วูล์ฟ บลาสส์ ไวน์เมกเกอร์ชื่อดังระดับโลก

_MG_6996

เมื่อต้นเดือนกันยายน 2558 ที่ผ่านมา HiclassSociety.com ได้รับเกียรติจาก ‘วู้ล์ฟ บลาสส์ หนึ่งในแบรนด์ผู้ผลิตไวน์ที่คว้ารางวัลระดับโลกมากที่สุด จากประเทศออสเตรเลีย’ ให้ไปพูดคุยอย่างใกล้ชิดกับ ‘สจ๊วร์ต รัสเตด ไวน์เมกเกอร์ชื่อดังของวู้ล์ฟ บลาสส์’ ถึงเรื่องราวเกี่ยวกับไวน์ออสเตรเลียและการผลิตไวน์ของวู้ล์ฟ บลาสส์ และดิฉันในฐานะ บก. ก็ได้มีโอกาสไปร่วมอบรมความรู้เกี่ยวกับไวน์ ในโครงการ วู้ล์ฟ บลาสส์ อะคาเดมี ร่วมรุ่นกับบรรดาบุคลากรมืออาชีพจากร้านอาหารและโรงแรมชั้นนำต่างๆมากมาย ที่สนใจมาหาความรู้จากมืออาชีพเรื่องการผลิตไวน์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังระดับสากลอย่าง สจ๊วร์ต รัสเตด แห่ง วูล์ฟ บลาสส์

4

ก่อนที่จะเข้าสู่ช่วงเวิร์คช็อป กลุ่มสื่อมวลชนก็ได้มีโอกาสทำความรู้จักกับ สจ๊วร์ต รัสเตด แห่ง วูล์ฟ บลาสส์ อย่างเป็นกันเอง โดยก่อนหน้าที่เขาจะก้าวมาสู่วงการไวน์และเรียนรู้จนเป็นมืออาชีพนั้น ไวน์เมกเกอร์คนนี้เคยเป็นนักการเงินมาก่อน แต่เมื่อเขาได้มาสัมผัสและหลงใหลในวิถีแห่งไวน์จนถอนตัวไม่ขึ้น จึงตัดสินใจหันหลังให้กับงานด้านการเงิน และมุ่งศึกษาเรื่องการผลิตไวน์อย่างจริงจัง และประสบความสำเร็จบนเส้นทางนี้อย่างมาก

8

สจ๊วร์ต รัสเตด เกิดและเติบโตในสหราชอาณาจักร หลังจากทำงานในด้านที่ปรึกษาทางการเงินเพื่อการลงทุน มานานกว่า 10 ปี สจ๊วร์ตจึงตัดสินใจเดินตามความฝันในการเป็นไวน์เมกเกอร์ และได้เข้าศึกษาอย่างจริงจังในสาขาการปลูกองุ่นและการผลิตไวน์ที่มหาวิทยาลัยอะเดลเลด โดยเลือกใช้ไวน์สองรุ่นจากเขตแม็คลาเร็น และเวล เป็นตัวอย่างในการค้นคว้า กระทั่งสำเร็จการศึกษาด้วยระดับคะแนนสูงสุดในชั้นเรียน และได้ร่วมเป็นหนึ่งในไวน์เมกเกอร์ของ วู้ล์ฟ บลาสส์ ในช่วงปีการศึกษาสุดท้ายจวบจนปัจจุบัน

10

นับเป็นเวลากว่า 8 ปีแล้วที่สจ๊วร์ตทำงานอยู่ในสายการผลิตไวน์ขาว ไวน์แดง และโรเซไวน์ ซึ่งเขาได้คว้าทั้งเหรียญรางวัลและถ้วยรางวัลเชิดชูเกียรติให้แก่ วู้ล์ฟ บลาสส์ อีกมากมาย และเนื่องจากสจ๊วร์ตเติบโตขึ้นในลอนดอน ทำให้เขาเป็นผู้ที่มีประสาทสัมผัสการรับรสในแบบชาวยุโรปและออสเตรเลีย ดังนั้นปรัชญาการสร้างสรรค์ไวน์ของเขา จึงเน้นที่ความสมดุล สะท้อนให้เห็นถึงแหล่งผลิตและรสชาติอันเป็นเอกลักษณ์ของสายพันธุ์องุ่นที่ใช้ในการทำไวน์

สจ๊วร์ต ได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 60 ไวน์เมกเกอร์ระดับโลก เพื่อเข้าร่วมงาน Ningxia Wine Challenge ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างเดือนกันยายน ค.ศ. 2015 ถึงเดือนธันวาคม ค.ศ. 2017 และเมื่อเร็วๆนี้ สจ๊วร์ตได้ย้ายภูมิลำเนามาที่ประเทศสิงคโปร์พร้อมด้วยภรรยาและลูกสาวทั้งสอง โดยยังคงมุ่งมั่นเดินหน้าจัดกิจกรรมต่างๆเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับไวน์ ซึ่งเป็นการสนับสนุนทางด้านการตลาดของ วู้ล์ฟ บลาสส์ ได้เป็นอยางดี ในยามว่าง สจ๊วร์ตชื่นชอบการเล่นกีฬา การเดินทาง และการทำอาหาร

งาน วู้ล์ฟ บลาสส์ อะคาเดมี ถูกจัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อราว 10 ปีที่แล้ว เมื่อครั้งเดินทางไปทั่วโลกเพื่อโปรโมทผลิตภัณฑ์ไวน์ของวู้ล์ฟ บลาสส์ ซึ่งในขณะนั้น วู้ล์ฟ บลาสส์ มีหน้าที่ในการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับประเทศออสเตรเลียและการผลิตไวน์ของเขาให้เป็นที่รู้จักในระดับสากล โดยแทนที่จะมุ่งหน้ายัดเยียดข้อมูลเพื่อขายสินค้าแบบฮาร์ดเซลล์ ทางผู้ผลิตไวน์อย่าง วู้ล์ฟ บลาสส์ ก็ได้เลือกที่จะใช้การโปรโมทไวน์ของพวกเขาอย่างมีรสนิยมและให้ผลดีอย่างยั่งยืน ด้วยการให้ความรู้แก่ผู้บริโภค ด้วยการจัดงานวู้ล์ฟ บลาสส์ อะคาเดมี จัดขึ้นเพื่อให้ข้อมูลภาพรวมของอุตสาหกรรมไวน์ ขั้นตอนการผลิต วิธีการดื่ม ความผสานกลมกลืนระหว่างไวน์กับอาหาร รวมถึงวิธีการเสิร์ฟไวน์ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวนอกจากจะให้ความรู้แล้ว ยังให้ความสนุกสนานแก่ผู้ร่วมงานในทุกครั้งที่จัด

3

“งานวู้ล์ฟ บลาสส์ อะคาเดมี มีเป้าหมายหลักในการนำเสนอรายละเอียดและสร้างความตระหนักรู้ต่อแบรนด์ในหมู่ผู้บริโภคทั่วโลก ตลอดจนทำให้ผลิตภัณฑ์ไวน์ของวู้ล์ฟ บลาสส์ เป็นที่รู้จักในนานาประเทศ ซึ่งปัจจุบัน เราให้ความสำคัญกับตลาดไวน์ของเมืองไทย เนื่องจากเป็นตลาดใหม่ที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงมาก” สจ๊วร์ต รัสเตด ไวน์เมกเกอร์จาก วูล์ฟ บลาสส์ กล่าว

20150910_123850

หลังจากที่พวกเราสื่อมวลชนคุยกับ สจ๊วร์ต รัสเตด พอหอมปากหอมคอแล้ว ก็ไปร่วมรับประทานมื้อเที่ยงกันที่ห้องอาหารเบญจรงค์ ซึ่งเป็นห้องอาหารไทยชื่อดังของโรงแรมดุสิตธานีที่มีชื่อเสียงมายาวนาน โดยเมนูที่เสิร์ฟในมื้อเที่ยงวันนี้ จะเป็นเมนูเดียวกันกับที่จะเสิร์ฟให้กับบรรดาแขกผู้มีเกียรติในไวน์ดินเนอร์ช่วงเย็น ฝีมือเชฟชื่อดัง มอร์เทน นีลเซน (Morten Nielsen)  เจ้าของรอยสักสุดเท่บนแขนขวาที่จารึกว่า “หลงใหลในอาหาร” เพื่อสื่อสารถึงความรักอาหารไทยและทักษะในการทำอาหารไทยแบบรู้ลึกรู้จริงเลยทีเดียว เชฟ มอร์เทน นีลเซน มีประสบการณ์การทำอาหารไทยมากว่า 12 ปี ในฐานะหัวหน้าเชฟที่ห้องอาหารกิน กิน ประเทศเดนมาร์ก และห้องอาหารสระบัว บาย กิน กิน ประเทศไทย จึงไม่ต้องกังวลเรื่องรสชาติและความประทับใจ โดยเชฟคนเก่งได้ฝากลายเซ็นต์เท่ๆบนเมนูวันนี้มาให้เป็นที่ระลึกด้วย

หลังจากอิ่มอร่อยกับมื้อเที่ยงก็เข้าสู่บรรยากาศของเวิร์คช็อป โดยการอบรมนี้แบ่งเป็น 3 Session ได้แก่

Session 1

  • An introduction to Wolf Blass
  • Australian Wine Industry Overview
  • Tasting wines – key white and red varieties

Session 2

  • Wine storage, serving temperature
  • Wine awards
  • Food and wine matching

Session 3

  • Srewcaps
  • Blending wine
  • Quiz

สจ๊วร์ต รัสเตด ได้บอกเล่าให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจกระบวนการของการทำไวน์ ตั้งแต่วงจรชีวิตของต้นองุ่น (The Vine Cycle) ในออสเตรเลีย ซึ่งจะเริ่มผลิดอก (Budburst) ในเดือนกันยายนและบานสะพรั่ง (Flowering) ในช่วงเดือนพฤศจิกายน จากนั้นก็จะเริ่มออกผลอ่อน (Fruit set) ในเดือนธันวาคม และเมื่อถึงเดือนมีนาคมก็จะสามารถเก็บเกี่ยวผลองุ่น (Fruit ripening/harvest) ที่พร้อมสำหรับการผลิตไวน์ได้

line

ในกระบวนการทำไวน์ (Wine making) ก็จะเริ่มจากการเก็บเกี่ยวผลองุ่น (Harvest) และนำผลองุ่นที่ได้ไปผ่านการบดอัด (Crushing) เพื่อให้ได้น้ำองุ่นออกมา เติมยีสต์ และเข้าสู่กระบวนการหมัก (Fermentation) โดยขั้นตอนสุดท้ายหลังการหมัก ก็จะเป็นขั้นตอนของการบ่มในถังไม้โอ๊ค และการผสมผสานรสชาติ (Maturation / Blending)

สำหรับการผลิตไวน์ของออสเตรเลียนั้น ก็มีรูปแบบและพัฒนาการผสมผสานรสชาติจากสายพันธุ์องุ่นต่างๆ ที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง (Australian Wine Styles) ได้แก่

  • Pre 1970’s – fortified (Port, Sherry style wines)
  • Post 1970’s – table wine
  • Red wines: Shiraz, Cabernet Sauvignon, blended reds
  • White wines: Chardonnay, Sauvignon Blanc, Riesling
  • Sparkling wines: Champagne-style white wines, Sparkling Shiraz (Uniquely Australian!!)
  • Rose wines (Light wines made from red grapes)

line

แหล่งการผลิตไวน์ในประเทศออสเตรเลีย  โดยส่วนใหญ่จะอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ แต่ตอนกลางของประเทศจะปลูกน้อย เพราะสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศแถบนั้นร้อนและแห้งแล้งเกินไป

wine-region

line

เนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่แตกต่างกัน มีผลต่อรสชาติของผลผลิต ในฉลากของไวน์ออสเตรเลียจึงประกอบด้วยข้อมูลที่ระบุให้ผู้บริโภคทราบถึงแหล่งผลิต และรายละเอียดของวัตถุดิบโดยชัดเจน

label

line

ปัจจัยที่ทำให้ไวน์มีความแตกต่างกันจากขั้นตอนของการหมัก ประกอบด้วย

  • Time on skins
  • Temperature
  • Type of fermentation vessel
  • Pressing
  • Storage

สำหรับขั้นตอนการบ่มไวน์ จะมีตัวเลือกของภาชนะบรรจุ ได้แก่

  • Stainless Steel Tanks
  • Oak Barrels
  • Oak and Stainless Steel

และเมื่อบ่มจนได้ที่แล้ว ก็จะเป็นขั้นตอน Clarification & Stabilisation ก่อนจะถึงการบรรจุขวด (Bottleing) เป็นขั้นตอนสุดท้าย

line

ในการทดสอบคุณภาพของไวน์ จะมีเกณฑ์ในการพิจารณาประกอบด้วย

  • Appearance

-                    สีของไวน์

-                   ความเข้มข้นของสี

-                   ลักษณะสดใสเป็นประกายของสีไวน์ หรือความขุ่น

 

  • Aroma

-                   ประเภทของกลิ่นที่ได้รับ สัมผัสได้ถึงกลิ่นใดบ้าง

-                   ความเข้มข้นของกลิ่น

-                   รู้สึกว่ามีกลิ่นใดที่เด่นออกมาเป็นพิเศษบ้าง เช่น กลิ่นผลไม้ หรือกลิ่นไม้โอ๊ค

-                   ต้องมั่นใจว่า ไวน์นั้นไม่มีกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์หรือสิ่งแปลกปลอม

  • Taste

-                   ประเภทของรสที่ได้รับ รู้สึกถึงรสใดบ้าง

-                   ความเข้มข้น/หนักแน่นของรสชาติ

-                   รู้สึกว่ามีรสชาติใดที่เด่นออกมาเป็นพิเศษ

-                   ต้องมั่นใจว่า ไวน์นั้นไม่มีรสชาติที่ไม่พึงประสงค์หรือสิ่งแปลกปลอม

  • Finish

-                   พิจารณาดูว่า กลิ่นรสของไวน์นั้นคงอยู่ในสัมผัสยาวนานแค่ไหน

line

สจ๊วร์ต รัสเตด บอกว่า ความจริงแล้วในโลกนี้มีรสชาติที่แตกต่างกันนับร้อยพันรสชาติ แต่ลิ้นของคนเรามีความสามารถที่จำแนกลักษณะของรสชาติที่แตกต่างกันออกได้ 5 ประเภท ได้แก่

  • Sourness (acidity) –ความเปรี้ยว ซึ่งเป็นรสชาติหลักที่สำคัญทั้งในไวน์ขาวและไวน์แดง – มีคำเรียกในหมู่นักชิมไวน์แบ่งออกเป็นประเภทย่อยๆ ของความเปรี้ยวที่ว่านี้ออกเป็น 3 แบบ ได้แก่ ‘Zing’, ‘crisp’ และ ‘fresh’
  • Sweetness – ความหวาน เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ควบคุมสมดุลของรสชาติ ไม่ให้ไวน์นั้นมีรสที่เปรี้ยวเกินไป ช่วยให้ไวน์มีความกลมกล่อมและหนักแน่น
  • Bitterness – ความขม เป็นองค์ประกอบสำคัญในรสชาติของไวน์แดง เรียกระดับความขมของไวน์ว่า Tannins
  • Saltiness – ความเค็ม รสชาตินี้ ไม่ควรปรากฏอยู่ในรสของไวน์
  • Umami – รสชาติของโปรตีน รสชาตินี้ก็ไม่ควรปรากฏอยู่ในรสของไวน์เช่นกัน

line

คุณสมบัติพื้นฐานที่ควรทราบสำหรับไวน์แต่ละประเภท

RIESLING

  • Light & crisp
  • Unwooded – No oak barrels maturation
  • Key Regions: Mosel (Germany), Alsace (France), Clare Valley, Eden Valley, Tasmania
  • Primary fruit Characters : floral, fragrant, perfumed, rose petal, cold tea, green apple, pear, lemon, citrus, lime, grapefruit, pineapple, fruity, peach, apricot, passion fruit and tropical fruit.

CHARDONNAY

  • Fruity, rich and something creamy
  • Often fermented and aged in small oak barrels
  • Key Regions: Burgundy (France), California (USA), Adelaide Hills, Yarra Valley, Tasmania, Margaret River
  • Primary Fruit Characters: Tobacco, cucumber, apple, grapefruit, lemon, lime, pineapple, gooseberry, rock melon, nectarine, peach, fig, tropical fruit and fruit salad.
  • Developed Flavor: Toast, honey, fig, nuts, almond and cashew.

SHIRAZ

  • Primary Fruit Characters: Blackberry, barnyard, dark cherry, cinnamon, coffee, earthy, herbs, aniseed, black olives, raspberry, plum, savoury, liquorice, black pepper, salami, spice, mulberry, mint

CABERNET SAUVIGNON

  • Full bofied dry wine with long lingering flavors
  •  Often matured in oak barrels
  • Key Regions: Bordeaux (France), Chile, California (USA), Coonawarra,  Margaret River, Langhorne Creek, Yarra Valley
  • Primary Fruit Characters: Capsicum, tomato leaf, vegetative, herbaceous, cinnamon, menthol, eucalyptus, leafy, minty, violet, perfumed, dusty, berry, plum, blackcurrent, black olive, prune, liquorice
  • Developed Fruit: Earthy, dust, cigar box, chocolate, tobacco, coffee mocha

line

การชิมไวน์

ในการตัดสินคุณภาพของไวน์ เป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล เพราะแต่ละคนก็มีความชอบและเกณฑ์ในการพิจารณาที่แตกต่างกัน แต่หลักเกณฑ์พื้นฐานในการเลือกไวน์ที่ดี สจ๊วร์ต รัสเตด แนะนำว่า ให้มองหาคุณสมบัติเหล่านี้ที่มีอยู่ในไวน์ที่เราทดสอบ ถ้ามีครบ ก็จัดได้ว่า เป็นไวน์ที่ดี

  • Balance – รสชาติมีความสมดุล ไม่ปรากฏรสชาติอย่างใดอย่างหนึ่งเด่นออกมาจนเกินไป
  • Length – ระยะเวลาที่สัมผัสของกลิ่นรสคงอยู่ในความรู้สึก ยาวนานเพียงใด
  • Intensity – ความเข้มข้นหนักแน่นของไวน์
  • Complexity – ความซับซ้อนของกลิ่นและรสชาติ มีรายละเอียดที่สัมผัสได้

_MG_6828

line

การเก็บไวน์

  • อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการเก็บรักษาไวน์คือ 12-16 องศาเซลเซียส
  • หลีกเลี่ยงสภาพอากาศที่รุนแรงและแปรปรวน
  • ไม่มีการสั่นสะเทือน ความชื้นสัมพันธ์ 60-70% ไม่ถูกแสงแดด
  • การเก็บระยะยาวควรวางขวดในแนวนอน
  • ตรวจสอบฝาจุก ระวังไม่ให้มีการชำรุด ป้องกันอากาศเข้าไป
  • ไวน์แต่ชนิดเมื่อเปิดขวดแล้ว จะอยู่ได้ในระยะเวลาที่ต่างกัน

-                   Sparkling เมื่อเปิดแล้วเก็บได้ 1 วัน

-                   Whites เมื่อเปิดแล้วเก็บได้ 2 วัน

-                   Reds เมื่อเปิดแล้วเก็บได้ 3 วัน

line

การเสิร์ฟไวน์

  • 6-10 องศาเซลเซียส คืออุณหภูมิที่เหมาะสมในการเสิร์ฟ Sparkling wine
  • 6-10 องศาเซลเซียส คืออุณหภูมิที่เหมาะสมในการเสิร์ฟ Light, aromatic whites and rose wines
  • 11-13 องศาเซลเซียส คืออุณหภูมิที่เหมาะสมในการเสิร์ฟ Fuller bodied white wine
  • 12-16 องศาเซลเซียส คืออุณหภูมิที่เหมาะสมในการเสิร์ฟ Red wines ยิ่งมีแทนนินสูง ยิ่งต้องเสิร์ฟในอุณหภูมิที่สูง

ในการเก็บรักษาไวน์ จะมีการใช้กำมะถัน

  • เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศ หรือออกซิเจนเข้าไปทำให้ไวน์เสีย และกันแมลง
  • มีการใช้กันทั่วโลก แต่บางประเทศก็ไม่มีระบุในฉลาก
  • ปริมาณการใช้ตามกฎหมายไมเกิน 20-30 ppm
  • ถ้าปรากฎในฉลากจะเขียนว่า ‘Sulphites’, ‘220’
  • โดยปกติอาหารหลายชนิดก็มีการใช้กำมะถัน และมากกว่าที่ใช้ในไวน์ คนที่แพ้กำมะถัน ก็น่าจะแพ้กำมะถันในอาหารด้วย

line

20150910_160726

หลักการด้านพื้นฐานรสชาติในการจับคู่อาหารกับไวน์

  • อาหารรสหวาน
    เพิ่มการรับรู้รสชาติในไวน์: ขม ฝาด เปรี้ยว ความรู้สึกร้อนของแอลกอฮอล์
    ลดการรับรู้รสชาติในไวน์: หวาน ความกลมกล่อม รสชาติผลไม้
  • อาหารรสเค็ม
    เพิ่มการรับรู้รสชาติในไวน์: ความกลมกล่อม
    ลดการรับรู้รสชาติในไวน์: ฝาด ขม เปรี้ยว
  • อาหารรสเปรี้ยว
    เพิ่มการรับรู้รสชาติในไวน์: หวาน ความกลมกล่อม ผลไม้
    ลดการรับรู้รสชาติในไวน์: เปรี้ยว
  • อาหารรสฝาดขม
    เพิ่มการรับรู้รสชาติในไวน์: ขม
  • อาหารรสเผ็ด
    เพิ่มการรับรู้รสชาติในไวน์: ขม ฝาด เปรี้ยว ความรู้สึกร้อนของแอลกอฮอล์
    ลดการรับรู้รสชาติในไวน์: หวาน ความกลมกล่อม รสชาติผลไม้
  • อาหารรสอูมามิ
    เพิ่มการรับรู้รสชาติในไวน์: ขม ฝาด เปรี้ยว ความรู้สึกร้อนของแอลกอฮอล์
    ลดการรับรู้รสชาติในไวน์: หวาน ความกลมกล่อม รสชาติผลไม้

เมื่อทราบถึงหลักเกณฑ์พื้นฐานด้านรสชาติแล้ว ก็จะสามารถนำไปใช้ในการจับคู่อาหารและไวน์ได้เหมาะสม โดยยึดเอาหลักง่ายๆดังนี้ คือ

HIGH RISK FOOD

  • อาหารรสขม ควรจับคู่กับ ไวน์ขาว หรือไวน์แดงที่มีแทนนินต่ำ เพราะอาหารขม จะกระตุ้นให้ลิ้นรู้สึกว่าไวน์มีรสฝาดยิ่งขึ้น
  • อาหารรสเผ็ด ควรจับคู่กับ ไวน์ขาวที่มีดีกรีแอลกอฮอล์ต่ำ หรือ ไวน์แดงที่มีแทนนินต่ำ แนะนำให้เสิร์ฟไวน์ที่มีรสผลไม้และรสหวานโดดเด่น เพราะอาหารเผ็ด จะลดการรับรสหวานและรสผลไม้

LOW RISK FOOD

  • อาหารรสเปรี้ยว สามารถจับคู่กับไวน์ได้หลายชนิด แนะนำว่า อาหารที่มี acid สูงๆ ควรจับคู่กับไวน์ที่มี acid สูง ไม่เช่นนั้นรสชาติของอาหารจะข่มรสชาติของไวน์จนไม่รู้สึกเป็นรสเป็นชาติ
  • อาหารรสเค็ม สามารถจับคู่กับไวน์ได้หลายชนิด

ข้อพิจารณาเพิ่มเติม

  • การจับคู่อาหารและไวน์ควรคำนึงถึงความเข้มข้นของรสชาติ ถ้าอาหารรสอ่อน ก็ควรเสิร์ฟคู่กับไวน์ที่มีรสนุ่มนวล อาหารรสหนักแน่น ก็ควรเสิร์ฟคู่กับไวน์ที่มีรสชาติหนักแน่นพอกัน
  • สังเกตกรรมวิธีในการปรุงอาหาร และซอสที่ใช้ ซึ่งมีผลมากต่อความเข้มข้นของกลิ่นและรสชาติ
  • อย่างไรก็ดี การจับคู่อาหารและไวน์ก็ต้องอาศัยรสนิยมส่วนบุคคล

line

การผสมไวน์

ในการผลิตไวน์ การผสมไวน์เพื่อให้ได้รสชาติที่น่าพึงพอใจ เป็นหนึ่งในกระบวนการสำคัญ การปรุงหรือผสมไวน์ สามารถทำได้หลายวิธี เช่น

  • ผสมไวน์ต่างชนิดเข้าด้วยกัน
  • ผสมองุ่นจากไร่ที่แตกต่างกัน
  • ผสมไวน์ที่มีอายุแตกต่างเข้าด้วยกัน
  • ผสมไวน์จากถังไวน์ต่างชนิดเข้าด้วยกัน

_MG_6834

ซึ่งหลักการในการผสมไวน์ คือผู้ปรุงไวน์จะต้องเข้าใจถึงคุณสมบัติของไวน์แต่ละชนิดที่นำมาผสมกันว่า ไวน์ตัวไหน มีลักษณะแบบใด และทำให้เกิดผลลัพธ์อย่างไร เช่น

  • Shiraz provides richness, weight, soft fruit
  • Cabernet provides structure and tannin
  • Chardonnay provides crisp apple flavors
  • Pinot Noir provides soft ‘strawberry and cream’ fruit

WB_0981

โดยในช่วงท้ายของเวิร์คช็อป ผู้เข้าร่วมทุกคนจะได้มีโอกาสผสมไวน์ของตัวเอง และหลังจากนั้นก็มีการทดสอบความรู้จากการอบรม และมอบประกาศนียบัตรให้กับผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมทุกคน ซึ่งเป็นบรรยากาศที่น่าภาคภูมิใจและอบอุ่นมาก ได้รับความรู้อย่างเต็มที่จากไวน์เมคเกอร์ชั้นนำ และถ่ายภาพร่วมกันเพื่อบันทึกความทรงจำที่น่าประทับใจก่อนกลับ พร้อมไวน์ขวดน้อยที่ผสมเองด้วยความภาคภูมิใจ และไวน์รสเลิศที่ วูล์ฟ บลาสส์ ได้มอบเป็นอภินันทนาการในครั้งนี้ด้วย ถือเป็นประสบการณ์ที่ดีและมีประโยชน์มากสำหรับผู้ที่ชื่นชอบไวน์หรือผู้ที่ทำงานด้านอาหารและเครื่องดื่มทุกคน และที่สำคัญงานนี้ก็สร้างความประทับใจในแบรนด์ วูล์ฟ บลาสส์ ในฐานะตัวแทนไวน์ออสเตรเลียได้อย่างดีเยี่ยม

kung


Reported by : Wannasiri Srivarathanabul
Editor@HiclassSociety.com

Related contents:

You may also like...