ไข้หูดับ

genps01

ฟังชื่อนี้แล้วอาจตลกพิลึก แต่ใช่แล้ว “ไข้หูดับ” แล้วไข้เกี่ยวอะไรกับหู ใช่หูไม่ได้ยินเสียงหรือเปล่า หรือไข้ที่ทำให้แก้วหูหนวก เรามาทำความรู้จักเข้าโรคชื่อประหลาดนี้กัน

ไข้หูดับ มีชื่อว่า Streptococcus suis เชื้อนี้จะทำให้สุกรป่วยและตายได้บ่อย ซึ่งในโรคนี้เป็นการติดต่อจากหมูสู่คน ไข้หูดับในคนมีการรายงานครั้งแรกในโลกที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ในปี พ.ศ. 2511 การติดเชื้อไข้หูดับเชื้อนี้ผ่านบาดแผลตามร่างกาย หรือเข้าทางเยื่อบุตา ผู้ที่ติดเชื้อมักมีอาชีพเกี่ยวกับการเลี้ยงหมู ทำงานในโรงงานชำแหละหมู หรือผู้สัมผัสกับสารคัดหลั่งของหมู เช่น น้ำมูก น้ำลาย และผู้ที่มีความเสี่ยง หมายรวมถึงผู้จำหน่าย หรือผู้ที่รับประทานเนื้อหมูดิบหรือดิบๆสุกๆ เช่น ลาบหมู โรคนี้ระบาดอยู่ในหลายประเทศที่มีการเลี้ยงหมูรวมทั้งประเทศไทย มักพบในชุมชนที่มีการเลี้ยงหมู เช่น ในภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ แพร่ และน่าน

การติดเชื้อในคนเกิดได้สองวิธี คือ จากการรับประทานหรือการสัมผัสเนื้อ และเลือดดิบหรือสุกๆดิบๆของสุกรที่ป่วย ยังไม่มีรายงานการติดต่อของไข้หูดับ จากคนสู่คน

มีการรายงานว่าในปี พ.ศ. 2548 พบมีการระบาดครั้งใหญ่ในประเทศจีนมีผู้ติดเชื้อทั้งหมดประมาณ 215 ราย และเสียชีวิตถึง 38 ราย (ร้อยละ 18 ) คาดว่าทั่วโลกมีผู้ป่วยมากกว่า 800 ราย ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งมาจากประเทศในแถบเอเชียอาคเนย์โดยเฉพาะประเทศไทยและประเทศเวียดนาม สำหรับประเทศไทยที่รวบรวมไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530-2553 พบ 19 รายงานมีผู้ป่วยรวม 301 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ โดย 3 รายงานดังกล่าว (พ.ศ. 2537, 2549 และ 2552) เป็นผู้ป่วยในคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ถึง 91 ราย

ผู้ที่ป่วยมักเป็นกลุ่มชายวัยกลางคนและผู้สูงอายุกว่าครึ่งของผู้ป่วยมีประวัติดื่มสุราเป็นประจำ มักพบว่ามีโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ไต มะเร็ง มักจะมีประวัติการรับประทานลาบ หลู้ ส้า ดิบ เฉลี่ย 3 วันก่อนป่วยและส่วนใหญ่ป่วยเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เลือดเป็นพิษและเยื่อบุหัวใจอักเสบผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อนี้ได้แก่ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกายอ่อนแอ

อ่านถึงตรงนี้ทำให้ทราบแล้วว่า ไข้หูดับที่ว่านี้ไม่ได้ทำให้หู Shut down แต่ประการใด แต่สำหรับใครที่มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่กล่าวมานี้อาจทำให้ร่างกายคุณได้รับเชื้อที่กล่าวมา หนำซ้ำเสี่ยงต่ออันตรายถึงการติดเชื้อในกระแสเลือดอีกด้วย

ขอขอบคุณความรู้จาก รศ.สุพัตรา แสงรุจี

Related contents:

You may also like...