วิ่งออกกำลังกาย ลงเท้าให้ถูกต้อง เพื่อสุขภาพ

10626821_689511851133183_8610501598466086728_n

Heel Strike or Forefoot Strike การวิ่งแบบเอาฝ่าเท้าลงหรือเอาส้นเท้าลง ดีกว่ากัน ??
GRETCHEN REYNOLDS กล่าวว่า “ปกติแล้วการวิ่งตามธรรมชาติของมนุษย์จะมีการลงน้ำหนัก 2 แบบ คือแบบแรกใช้ส่วนส้นเท้าลงพื้นก่อน(heel Strike) และแบบที่สองคือใช้ส่วนฝ่าเท้าลงพื้นก่อน (forefoot Strike, Toe Strike)

จากการเก็บวิเคราะห์ข้อมูลหลายฐานข้อมูลพบว่า การวิ่งของคนส่วนใหญ่ 80-90 % จะเป็น Heel strike คือเอาส้นเท้าลงก่อน ซึ่งก็มีข้อคัดค้านว่าที่เป็นอย่างนี้เนื่องจากรองเท้าในปัจจุบัน ออกแบบทำให้นักวิ่งต้องวิ่งลงด้วยส้นเท้าก่อน เพราะเป็นลักษณะที่ส้นด้านหลังสูงทำให้ตัวเลขของคนวิ่งแบบ Forefoot strike ดูน้อยกว่าความเป็นจริง และคิดว่าถ้าเราวิ่งเท้าเปล่าแบบธรรมชาติ การวิ่งจะลงน้ำหนักจะเป็นแบบ forefoot เสียเป็นส่วนใหญ่ด้วยซ้ำซึ่งเป็นธรรมชาติที่ถูกต้องของมนุษย์และยังเชื่อว่าการวิ่งแบบ Forefoot strike ช่วยลดโอกาสการบาดเจ็บจากการวิ่งได้ดีกว่า Heel Strike

227075_689511951133173_1305082630624811236_n

จึงได้มีที่มาของการวิจัยที่ประเทศฟินแลนด์โดย ทดลองอาสาสมัครของทั้งชายและหญิงที่มีน้ำหนักและส่วนสูงใกล้เคียงกัน ที่มีการวิ่งที่แตกต่างกัน 2 แบบ โดยการตรวจวัดผลการลงน้ำหนักด้วย motion-capture sensors
จากการเก็บข้อมูลพบว่า จุดที่มีการลงน้ำหนัก มากที่สุดและเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ มี 3 จุด ได้แก่ ที่ เข่า, ข้อเท้า และ เอ็นร้อยหวาย

การวิ่งแบบ Heel strike มีผลให้เกิดการบาดเจ็บที่เข่าได้มากกว่าแบบ Forefeet strike โดยการลงน้ำหนักแบบ heel strike มีแรงกระทำต่อเข่าสูงกว่า แบบ Forefeet strike ถึง 16 % ซึ่งนำไปสู่การบาดเจ็บจากการใช้งานซ้ำได้ง่ายกว่า อย่างไรก็ดีการวิ่งแบบ Forefeet strike ก็มีข้อเสียคือทำให้เกิดแรงกระทำต่อ ข้อเท้าและเอ็นร้อยหวายมากกว่าแบบ Heel strike ถึง 20 % และนำไปสู่การบาดเจ็บที่เอ็นร้อยหวายและข้อเท้าได้ง่ายกว่า

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า การวิ่งทั้งสองแบบก็ทำให้เกิดการบาดเจ็บจากการวิ่งได้เหมือนกัน เพียงแต่เป็นคนละตำแหน่งที่บาดเจ็บ Heel strike ทำให้คุณบาดเจ็บที่เข่าได้ ถ้าเป็นมากๆเกิด patellofemoral stress syndrome, Forefeet strike ก็ทำให้เกิด Plantar fasciitis (เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ ) Achilles’ tendinopathy (เอ็นร้อยหวายอักเสบ ) , และ stress fractures of the foot การร้าวของกระดูก ได้ . ดังนั้นคุณไม่สามารถหลบเลี่ยงการบาดเจ็บทั้งหมดจากการเปลี่ยน style การวิ่งได้เลย

อย่างไรก็ตามเราสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลตรงนี้เพื่อเลือก style การวิ่งที่เหมาะกับคุณได้ เช่น ถ้าคุณมีปัญหาปวดเข่าคุณควรวิ่งแบบ Forefeet strike แต่ถ้าคุณมีปัญหาที่ข้อเท้าหรือเอ็นร้อยหวายคุณควรวิ่งแบบ Heel strike แทน

การเปลี่ยน Style การวิ่งเป็นเรื่องที่ไม่ได้ทำง่ายๆแต่คุณสามารถทำได้แบบค่อยเป็นค่อยไป การบาดเจ็บจากการวิ่งไม่ใช่เรื่องไกลตัว ควรหมั่นสังเกตและปรึกษาแพทย์ถ้าอาการไม่หายไป อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ยังคงต้องถกเถียงกันต่อไป และน่าจะมีงานวิจัยเพิ่มอีกในอนาคตอย่างแน่นอน

Credit : GRETCHEN REYNOLDS

Related contents:

You may also like...