การแข่งขันโปโลช้างเริ่มจากบทสนทนาระหว่างผู้ที่รักกีฬาและผู้ที่ชอบทำบุญสองคนที่ฝันอยากจัดกีฬาเพื่อการกุศลในช่วงปลายปีพ.ศ. 2533 ค่อยๆก่อตัวจนกลายเป็นหนึ่งในงานยิ่งใหญ่ประจำปีในประเทศไทย การแข่งขันโปโลช้างฯ เปิดตัวครั้งแรก ณ เมืองหัวหิน โดยมี อนันตรา หัวหิน รีสอร์ท แอนด์ สปา เป็นเจ้าภาพ ในปีพ.ศ. 2544
ตั้งแต่ปีแรกของแข่งขัน อนันตรา ได้ช่วยเหลือช้างเร่ร่อนมาแล้วมากกว่า 30 เชือก โดยได้ให้ที่พักพิงเพื่อให้ช้างเหล่านี้ได้มีความเป็นอยู่ที่ดี ณ แคมป์ช้าง อนันตรา สามเหลี่ยมทองคำ แคมป์ช้าง แอนด์ รีสอร์ท ระหว่างการแข่งขันในแต่ละปี จะมีช้างเร่ร่อนกว่า 50 เชือก จะได้ออกจากท้องถนนเพื่อมาร่วมในการแข่งขัน โดยระหว่างการเข้าร่วมกิจกรรม ช้างทุกเชือกจะได้รับอาหารที่เหมาะสมและมีประโยชน์ ได้พักผ่อนในสภาพแวดล้อมที่ดีตามธรรมชาติ และยังเป็นโอกาสที่ช้างเหล่านี้จะได้รับการตรวจเช็คสุขภาพประจำปี พร้อมรับวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกาย โดยการดูแลอย่างใกล้ชิดจากสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอีกด้วย
การใช้ชีวิตบนท้องถนนนับเป็นเรื่องโหดร้ายสำหรับช้าง ช้างเร่ร่อนต้องเดินผ่านย่านท่องเที่ยวที่แออัดและถนนที่วุ่นวายกว่า 10 ชั่วโมงในแต่ละคืน ถูกบังคับให้พักในตอนกลางวันบนพื้นที่สีแคบๆกลางเมืองอย่างไม่มีทางเลือก บ่อยครั้งที่ปราศจากร่มเงา หรือน้ำดื่ม โปรแกรมการแข่งขันโปโลช้างจึงนี้ถูกออกแบบมาเพื่อให้ช้างเหล่านี้ได้พักผ่อนและผ่อนคลายอย่างเต็มที่ในแบบพวกเค้าไม่เคยได้รับในชีวิตประจำวัน
ช้างเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมอันภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์ของชาติไทย การแข่งขันโปโลช้างจึงจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ด้วยเคารพ และเงินรายได้ที่ระดมจากการแข่งขันทั้งหมดได้ถูกนำไปช่วยเหลือให้ช้างเหล่านี้เพื่อคุณภาพการดำรงชีวิตที่ดีขึ้น การรักษาพยาบาลที่เหมาะสม รวมทั้งการฝึกอบรมและการจ้างงานควาญช้างอีกด้วย
เกมการแข่งขัน
- ด้วยขนาดของช้าง ทำให้ทีมหนึ่งทีมมีผู้เล่นเพียง 3 คน เล่นในสนามขนาด 100 x 60 เมตร โดยใช้ลูกโปโลขนาดมาตรฐาน
- เกมการแข่งขันแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ใช้เวลาครึ่ง (หรือ ชักก้า) ละ 7 นาที เวลาพักครึ่ง 15 นาที ใช้เสียงนกหวีดเป็นสัญญาณหยุดและเริ่มการแข่งขัน โดยจะเปลี่ยนช้างผู้เล่นและสลับด้านสนามในการเล่นเมื่อเริ่มครึ่งหลัง
- สนามมีการแบ่งด้วยเส้นวงกลมขนาดรัศมี 10 เมตร เพื่อบอกจุดกึ่งกลางของสนาม โดยมีเส้นครึ่งวงกลมขนาดรัศมี 20 เมตรอยู่หน้าประตู โดยวัดจากกึ่งกลางของเส้นประตูนับจากปลายสุดของสนามทั้งสองด้าน เรียกว่า ดี (D)
- ระบบการให้คะแนน ให้ 2 คะแนนสำหรับทีมที่ชนะ และ 1 คะแนนสำหรับทีมที่เสมอ
กฎและกติกาการเล่น
กฎกติกาการเล่นโปโลช้างคล้ายกับกีฬาโปโลม้า ต่างกันเพียงโปโลช้างจะมีควาญช้างเป็นผู้ช่วยในการบังคับช้าง และมีนักกีฬาอีกหนึ่งคน สำหรับนักกีฬาหญิงอนุญาตให้ใช้มือสองข้างจับไม้ตีได้ และสามารถใช้ไม้ตีที่มีความยาว 2 เมตร
กฎกติกาเพิ่มเติม
- ทีมที่มีช้าง 3 เชือก อยู่เกินครึ่งสนามถือว่าทำผิดกติกา
- ห้ามช้างเกิน 2 เชือก อยู่ในเขตดีพร้อมกัน (ช้างหนึ่งเชือกจากทีมรุก และอีกหนึ่งเชือกจากทีมรับ)
หลักการเล่น
สุขภาพและสวัสดิภาพของช้างที่ใช้ในการแข่งขันเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดตามมาตรฐานของสมาคมโปโลช้างโลก (T.E.P.A) การกระทำทารุณแก่ช้างเป็นความผิดร้ายแรงที่สุด
- ห้ามช้างล้มตัวนอนขวางประตู หากผิดกติกาฝ่ายตรงข้ามจะได้ตีลูกโทษ ณ จุดครึ่งวงกลมหน้าประตู
- ห้ามช้างใช้งวงหยิบลูกบอลขึ้นมาในขณะการแข่งขัน หากผิดกติกาฝ่ายตรงข้ามจะได้ตีลูก ณ จุดที่ทำผิดกติกา และอีกฝ่ายจะต้องถอยห่างจากจุดตีลูกออกไป 15 เมตร
- ช้างในแต่ละทีมจะถูกสุ่มเลือกจากฝูงช้าง โดยจะดูความสูงและความเร็วของช้างให้ใกล้เคียงกันเพื่อความยุติธรรม หลังจากเลือกช้างได้แล้ว จะทำสัญลักษณ์ตัวอักษณ A, B, C, D, E, F บนช้างแต่ละตัว
- หลังจบแต่ละเกม ช้างจะได้รับอาหาร อาทิ อ้อย หรือฟางข้าว และวิตามิน (กากน้ำตาลผสมเกลือ)
แต้มต่อในการเล่น หรือ แฮนดิแคป
นักกีฬาฝีมือระดับแฮนดิแคป จะถูกจัดระดับโดยคณะกรรมการ T.E.P.A โดยอาจจัดแบ่งคณะกรรมการและนักกีฬาแฮนดิแคปได้ดังนี้
- นักกีฬาโปโลม้ามืออาชีพ ให้ครึ่งหนึ่งของคะแนนแฮนดิแคปในการเล่นโปโลม้าของตนเอง
- นักกีฬาโปโลช้างมืออาชีพและผู้ที่เคยเล่นกีฬาโปโลช้าง ให้แต้มต่อครึ่งหนึ่งของคะแนนแฮนดิแคปแก่นักกีฬาที่เคยลงแข่งขันรายการระดับโลก อาทิ WEPA, TEPA, CEPA มากกว่าสามครั้ง หรือผู้ที่เคยคว้าแชมป์กีฬาโปโลช้าง และไม่มีคะแนนแฮนดิแคปในการเล่นโปโลม้า
ผู้เล่นจะได้รับการจัดระดับแฮนดิแคปก่อนการแข่งขันเริ่ม และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ในระหว่างการแข่งขัน หากผลคะแนนแฮนดิแคปรวมของทีมมีเศษ เศษของคะแนนจะถูกปัดลงให้เหลือเลขตัวเดียว
ข้อมูลอื่นๆที่น่าสนใจ
- ช้างในการแข่งขันตอบสนองต่อคำสั่งภาษาไทยจากควาญช้างของตนเองเท่านั้น
- การแข่งขันโปโลช้างครั้งแรกใช้ลูกฟุตบอลในการเล่น ก่อนเปลี่ยนเป็นลูกโปโลมาตรฐานเมื่อพบว่าช้างชอบเหยียบลูกฟุตบอลให้แตกเป็นอย่างมาก
- การแข่งขันใช้เวลาทั้งหมด 14 นาที แบ่งออกเป็นสองครึ่งๆ ครึ่งละ 7 นาที หรือแทนคำว่าครึ่งได้ด้วยคำว่า ชักก้า (Chukkas)
- ไม้โปโลที่ยาวที่สุดที่เคยใช้ในเกมยาวถึง 94 นิ้ว
- ช้างที่โตเต็มที่กินกล้วยถึงวันละ 250 กิโลกรัม
- การแข่งขันโปโลช้างรายการนี้ เป็นการแข่งขันกีฬาการกุศล เพื่อระดมรายได้นำไปสนับสนุนโครงการต่างๆเพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของช้าง รวมถึงสนับสนุนค่าอาหาร ค่ารักษาพยาบาล การจ้างงาน และการฝึกอบรมควาญช้างในประเทศไทย
- คลินิกช้างบำบัดเพื่อเด็กออทิสติกแห่งแรกของโลกได้รับการสนับสนุนจากรายได้จากการแข่งขันโปโลช้างรายการนี้มาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2552
- ของประมูลในงานกาล่าดินเนอร์ที่แปลกมากที่สุดได้รับการประมูลระหว่างงานกาล่าดินเนอร์ในปีพ.ศ. 2548 โดยมร. บิล ไฮเนคกี้ ซีอีโอบริษัทไมเนอร์อินเตอร์เนชั่นแนล และเจ้าของอนันตรา ได้ยอมโกนหนวดของตนเองออกด้วยมูลค่า3,000 ดอลล่าสหรัฐ โดยผู้ชนะการประมูลคือภรรยาของเขานั่นเอง ซึ่ง ใบหน้าที่เกลี้ยงเกลาไร้หนวดเคราของ มร. ไฮเนคกี้ ทำให้หลายคนเกือบจำเขาไม่ได้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2513
- ระหว่างเกมแรกของปีพ.ศ. 2547 ช้างพลายกำแพงซึ่งเป็นช้างของผู้ตัดสิน เกิดแอบชอบพังโดโด้ ดาวกองหน้า จึงเกิดการเกี้ยวพาราสีระหว่างการแข่งขัน จากนั้นมาผู้ตัดสินเลยไม่เคยนั่งอยู่บนหลังช้างเพื่อตัดสินอีกต่อไป
ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อกรุณาเยี่ยมชมเว็บไซด์ www.anantaraelephantpolo.com