มหากาพย์ Underwear

King Tutamkamen 2

ตั้งแต่สมัยอียิปต์เป็นต้นมา supporter หรือ underwear หรือที่เราเรียกว่ากางเกงชั้นในนั้นมีที่มาที่ไปอย่างน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก กางเกงในนั้นอยู่คู่กับมนุษยชาติมายาวนานแล้ว ย้อนไปถึงสมัยอิยิปต์โบราณช่วง 1323 ปีก่อนคริสตกาล (1323 BCE) พระศพของกษัติรย์ตุตันคาเมน (King Tutankhamen) กษัตริย์แห่งอียิปต์ถูกฝังพร้อมด้วยเพชรนิลจินดา เฟอร์นิเจอร์ ตะเกียง แจกัน และผ้าเตี่ยว (loincloth) จำนวน 145 ผืน นี่เป็นครั้งแรกที่กางเกงในถูกบันทึกอยู่ในประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ยังมีรูปปั้นคนใช้จำนวนถึง 400 ตัว ฝังลงไปในหลุมพระศพด้วย คาดว่าคงจะฝังลงไปเพื่อให้ช่วยซักผ้าเตี่ยวให้นั่นเอง

มาถึงช่วงของกรีกโบราณ ปี ค.ศ.100 (100 CE) ชาวโรมันทั้งหญิงและชายสวมผ้าเตี่ยวที่เรียกว่า “Subligaculum” และใช้กันแพร่หลายสืบกันมาชั่วลูกชั่วหลานหลายร้อยปี จนกระทั่งในปี ค.ศ.634 (634 CE) ชาวยุโรปยุโรปมีความคิดว่าผ้าเตียว Subligaculum เริ่มล้าสมัย จึงถูกแทนที่ด้วยกางเกงชั้นในยาวประมาณเข่า (braies) ซึ่งกางเกงชั้นในแบบนี้เอื้อประโยชน์ต่อคุณผู้ชายเป็นอันมาก เพราะมีช่องเปิดตรงเป้าไว้ให้ปัสสาวะได้สะดวกนั่นเอง

Roman era underwear
Subligaculum, Roman era underwear

Europian Braies
Europian Braies

ในช่วงยุคกลาง(ค.ศ. 1390)ได้คิดปรับทรงของขุดชั้นใน Braies ให้มีความสั้นขึ้น โดย Geoffrey Chaucer นักแต่งกลอนชื่อดังของอังกฤษผู้ประพันธ์หนังสือชื่อ The Canterbury Tales ให้เหตุผลว่าความยาวของกางเกงชั้นในที่สั้นขึ้นถึงต้นขานั้นดูเปิดเผยเกินไป ต่อมาในยุตกษัตริย์เอ็ดวาร์ดที่ 4 (ค.ศ. 1482) ห้ามบุคคลที่มียศต่ำกว่า Lord สวมใส่เสื้อคลุมแบบสั้น ส่งผลให้หนุ่มอังกฤษผู้รักแฟชั่นทั้งหลายต่างบ่นกันเซ็งแซ่ พวกเขาเลยตอบโต้ด้วยการประดิษฐ์ปลอกสวมสำหรับปิดบังอวัยวะเพศ(codpiece)ขึ้นมาแทน จวบจนมาถึง ค.ศ. 1525 ในยุคของกษัตริย์เฮนรี่ที่ 8 ทรงดัดแปลง codpiece ให้มีลักษณะป่องขึ้นจากเดิมเพื่อเอื้ออำนวยต่อขนาดของอวัยวะเพศชายที่มีการตื่นตัวได้ตลอดเวลา

King Henry VIII Bulge
King Henry VIII with his codpiece cover as his bulge.

และแล้วก็ถึงเวลาที่ชุดชั้นในได้ถูกปรับเปลี่ยนจากเดิมจนฉีกรูปลักษณ์ออกไปคือในปี ค.ศ. 1793 ชุดชั้นในแบบชุดยาวติดกันทั้งตัว(union suit)ถูกประดิษฐ์ขึ้นในขณะเดียวกันก็เป็นช่วงเดียวกับเครื่องปั่นฝ้ายถูกผลิตขึ้น ทำให้ความต้องการชุดชั้นในผ้าฝ้ายก็เพิ่มขึ้นก็กลายเป็นชุดชั้นในมาตรฐานในศตวรรษที่ 19 เช่นเดียวกันสุภาพสตรีวิคตอเรียนก็เริ่มใส่ชุดชั้นในแบบที่รัดแนบกับลำตัวมากๆหรือที่เรียกกันว่า “คอร์เซ็ต (corset)” นักวิชาการคาดว่าการที่ผู้หญิงในยุควิคตอเรียนมักเป็นลม เนื่องมาจากใช้ชุดชั้นในรัดแน่นจนเกินไป ในช่วงกลางของศตวรรษที่ 19 นี้ Horace Greeley Johnson ประดิษฐ์ชุดชั้นในที่เรียกว่า Kenosha Klosed-Krotch ซึ่งในปัจจุบันมันก็คือชุดลอง จอห์น (long johns)นั่นเอง จากผลงานการทุ่มทุนของเขาเลยได้ฉายาว่า “เอดิสันแห่งชุดชั้นใน”

union suit
Union Suit

corset
Corset

Kenosha Klosed-KrotchKenosha Klosed-Krotch 2

Kenosha Klosed-Krotch

ค.ศ. 1919 กางเกงชั้นในที่มีลักษณะคล้ายกางเกงเรียกว่า bloomers ได้ถูกคิดค้นและผลิตขึ้นซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่สาวๆ เนื่องจากพวกเธอเริ่มกระตือรือร้นในกิจกรรมโลดโผน เช่น การขี่จักรยานและเล่นเทนนิสมากขึ้น หลังจากนั้นได้ราวสามปีถือได้ว่าเป็นปีสำคัญในประวัติศาสตร์ชุดชั้น ในสตรีก็ว่าได้เพราะเริ่มประดับด้วยผ้าชีฟอง ซาตินและลูกไม้ ชุดชั้นในถูกเรียกด้วยศัพท์ใหม่ว่า “lingerie” ซึ่งเป็นภาษาฝรั่งเศส แปลว่า “ชุดชั้นใน”

ต่อมาปี ค.ศ. 1970 เป็นช่วงที่กางเกงชั้นในพัฒนาการมาถึงขีดสุด เริ่มมีคนใส่กางเกงชั้นในแบบ จี-สตริง (Thong) บนชายหาดในประเทศบราซิล จริงๆแล้วคำว่า thong เป็นภาษาโบราณ โดยมาจากคำว่า thwong ที่แปลว่าเส้นหนัง และสำหรับสุภาพบุรุษก็มีกางเกงชั้นในหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น Trunk ที่แปลว่า “งวงช้าง” จะเป็นทรงกางเกงคล้ายกางเกงขาสั้นที่พัฒนามาจาก braies(ค.ศ.100) แต่มีความกระชับมากกว่าและบริเวณ “ความเป็นชาย” จะมีการตัดเย็บเป็นกะเปาะไว้สำหรับโอบอุ้มองคชาติของคุณผู้ชายนั่นเอง

Bloomer
bloomers

Trunk
Trunk

Story : Kittisak Kandisakunanont

Thanks to images from http://www.vamshare.com/wp-content/uploads/2014/06/egyptian-women.jpg
http://sv6.postjung.com/picpost/data/260/260486-531fd49ead80c.jpg

Related contents:

You may also like...