แม้ป้อมปราการและคุกสมัยกลางในปารีสที่เป็นที่รู้จักในชื่อบัสตีย์นี้มีนักโทษเพียงเจ็ดคน แต่การทลายคุกแห่งนี้ได้กลายเป็นสถานการณ์รุนแรงและควบคุมไม่ได้ นำไปสู่การปฏิวัติฝรั่งเศสและต่อมาก็ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของสาธารณรัฐฝรั่งเศส วันทลายคุกยังได้เป็นวันหยุดราชการประจำ ซึ่งเรียก “วันบัสตีย์” (Bastille Day) หรือในภาษาฝรั่งเศสว่า “วันที่สิบสี่กรกฎาคม” (Le quatorze juillet) เดิมเรียก “วันเฉลิมฉลองของสหพันธรัฐ” (Fête de la Fédération)
พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศสก็ได้รับการกดดันอีกครั้งจากพระนางมารีอ็องตัวแน็ตและ Comte d’Artois (พระอนุชา) ซึ่งจะได้เป็นพระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสในอนาคต ทำให้พระองค์ทำการเรียกกองทหารที่จงรักภักดีต่อพระองค์จากต่างประเทศเข้ามาประจำการในกรุงปารีสและพระราชวังแวร์ซาย ทำให้เกิดความโกรธแค้นในหมู่ประชาชน นอกจากนี้พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ยังทรงปลดเนคเกร์ลงจากตำแหน่งอีกครั้ง ทำให้ประชาชนออกมาก่อจลาจลเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคมและทลายคุกบาสตีย์ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ได้ในวันที่ 14 กรกฎาคม
หลังจากนั้นพระเจ้าหลุยส์ก็เรียกเนคเกร์มาดำรงตำแหน่งอีกครั้งในวันที่ 16 กรกฎาคม เนคเกร์ได้พบกับประชาชนที่ศาลาว่าการกรุงปารีส (l’Hôtel de Ville) ซึ่งถูกประดับไปด้วยธงสามสีคือแดง ขาว น้ำเงิน วันเดียวกันนั้น Comte d’Artois ก็ได้ทรงหนีออกนอกประเทศ ถือเป็นพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์แรก ๆ ที่หนีออกนอกประเทศในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส
หลังจากนั้นไม่นานเทศบาลและกองกำลังติดอาวุธของประชาชน (Garde Nationale) ก็ได้ถูกตั้งขึ้นอย่างรีบเร่งโดยประชาชนชาวปารีส ในไม่ช้าทั่วประเทศก็มีกองกำลังติดอาวุธของประชาชนตามอย่างกรุงปารีส กองกำลังนี้อยู่ใต้การบัญชาการของนายพลเดอลาฟาแยตต์ ซึ่งผ่านสงครามปฏิวัติอเมริกามาแล้ว ชนชั้นกลางนั้นผิดหวังที่ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากนักจากสภาแห่งชาติและยัง เกรงว่าสภาแห่งนี้อาจจะถูกยุบ คนทั่วๆไปก็กลัวว่าทหารต่างด้าวจะสกัดเส้นทางขนส่งอาหารเข้ามาในเมืองหลวงซึ่งจะทำให้ราคาราคาขนมปังแพงขึ้น เมื่อพระเจ้าหลุยส์เห็นว่าทหารต่างชาติไม่สามารถรักษาความสงบไว้ได้ก็ทรงปลดประจำการทหารเหล่านั้น มีบันทึกด้วยว่าในบรรดาปืนใหญ่ที่ใช้ยิงทลายประตูคุกบัสตีย์นั้น สองกระบอกผลิตในกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องเจริญสัมพันธไมตรีที่สมเด็จพระนารายณ์พระราชทานแก่ราชสำนักพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ปัจจุบันปืนคู่นี้ตั้งแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์ทหารบกฝรั่งเศส
การปฏิวัติฝรั่งเศส เป็นช่วงหนึ่งของประวัติศาสตร์ยุโรป เกิดขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2332 – 2342 เป็นการปฏิวัติที่โค่นล้มสถาบันกษัตริย์ฝรั่งเศส และสถาปนาสาธารณรัฐขึ้น การปฏิวัตินี้มีความสำคัญ เพราะเป็นจุดหักเหในประวัติศาสตร์การปกครองของโลก และหักล้างทางความคิดด้านศาสนาและการปกครองในระบอบกษัตริย์และการปกครองในระบบเก่าหรือ อองเซียง เรฌีมของราชอาณาจักรฝรั่งเศสฝรั่งเศสและเข้าสู่ช่วงยุคสมัยแห่งความน่ากลัว
Thanks to images from http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/5/57/Anonymous_-_Prise_de_la_Bastille.jpg
www.google.co.th/imgres?imgurl=http%3A%2F%2Fwww.janeausten.co.uk%2Fwp-content%2Fuploads%2F2013%2F01%2F800px-Elefant_der_Bastille1.jpg&imgrefurl=http%3A%2F%2Fjustruth.startlogic.com%2Fjohnnyredbone%2Fphotographyvdku%2FBattle-of-the-Bastille.html&h=437&w=600&tbnid=pYrJAHlaFsICEM%3A&zoom=1&docid=RZifwoJajqDXoM&ei=TJLsU-CaCZft8AWFsoD4Cg&tbm=isch&client=firefox-a&ved=0CGAQMygrMCs&iact=rc&uact=3&dur=971&page=5&start=41&ndsp=12&biw=1093&bih=459