ผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกายเป็นผลิตภัณฑ์ที่แสดงถึงวัฒนธรรม ภูมิปัญญาและความเป็นอยู่ของท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งในประเทศไทยมีกว่า 17,000 ผลิตภัณฑ์ การผลักดันสินค้าโอทอปไทยให้มีมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับในตลาดสากลและรองรับการแข่งขันเมื่อเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 นี้ ต้องพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจกิจชุมชนในหลายด้าน อาทิ ด้านคุณภาพและมาตรฐาน สร้างความเข้าใจความต้องการของตลาด ฯลฯ ทั้งนี้ มีเพียง 1,000 กว่าผลิตภัณฑ์ หรือ 1 ใน 10 เท่านั้น ที่จัดอยู่ในระดับ A ซึ่งเป็นระดับดาวเด่น จึงจำเป็นอย่างยิ่งในการส่งเสริมและพัฒนาเพื่อให้โอทอปไทยโดดเด่นในระดับนานาชาติ
ผ้าไหมโคราช เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายทั้งภายในและต่างประเทศ เนื่องจากลักษณะที่มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น คือเนื้อผ้าแน่น ละเอียด มีความมัน วาว ซักแล้วสีไม่ตก ไม่ซีด มีความพิถีพิถันในการทอ ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมที่ผลิตขึ้น ได้สะท้อนภูมิปัญญาของท้องถิ่น และที่ได้สืบทอดการทอผ้าไหมแบบรุ่นต่อรุ่นจนถึงปัจจุบัน ผ้าไหมโคราช มีลักษณะกรรมวิธีการผลิตแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
- ประเภทหัตถกรรม ได้แก่ ผ้าไหมหางกระรอก ผ้าไหมมัดหมี่ ผ้าไหมลูกแก้ว
- ประเภทอุตสาหกรรม ได้แก่ ผ้าไหมลายประยุกต์ ผ้าไหมพิมพ์ลาย ผ้าไหมพื้นเรียบ
การแปรรูปผ้าไหมโดยมีแหล่งผลิตที่สำคัญอยู่ที่อำเภอปักธงชัย ซึ่งปัจจุบันในเขตอำเภอปักธงชัย มีผู้ประกอบการทอผ้าไหมไทยครบวงจร กว่า 200 ราย โดยในแต่ละหมู่บ้านยังมีผู้ประกอบรายย่อย ซึ่งใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นทอผ้าไหม อีกจำนวนนับพันครัวเรือน สำหรับวัตถุดิบเส้นไหมนั้นรับซื้อจากพื้นที่ใกล้เคียงที่มีการเพาะเลี้ยงไหม ก่อให้เกิดอาชีพ และรายได้ให้ท้องถิ่น ถือเป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่น ที่มีความโดดเด่นของคุณภาพผ้าไหม กระบวนการผลิตทุกขั้นตอนใช้ฝีมือมนุษย์ทั้งสิ้น ไม่มีการใช้เครื่องจักรกลแต่อย่างใด โดยเฉพาะฝีมือการทอ “ผ้าไหมลายหางกระรอก” ซึ่งเป็นผ้าที่มีลักษณะพิเศษ เรียกชื่อตามผิวสัมผัส เพราะลายที่ปรากฏบนเนื้อผ้า คล้ายกับขนของหางกระรอกแลดูสวยงาม แปลกตา ถือเป็นเอกลักษณ์และภูมิปัญญาโดยแท้ของปักธงชัย
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม(กสอ.)ในฐานะหน่วยงานรัฐที่ให้การส่งเสริม สนับสนุนพัฒนาผลิตภัณฑ์โอทอปสู่สากลและเพิ่มมูลค่าสินค้าโอทอปด้วยทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา (High Value OTOP Based On Rich Culture and Local Wisdom) จึงร่วมกับสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ จัดทำ “โครงการพัฒนามาตรฐานคุณภาพผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกายโอทอปตลอดกระบวนการผลิตและทดสอบตลาดจากการพัฒนา” ภายใต้ “โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกายก้าวสู่สากล” เพื่อยกระดับผู้ประกอบการโอทอปประเภทผ้าและเครื่องแต่งกายทั่วประเทศ ให้สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์โอทอปให้ได้คุณภาพมาตรฐานสอดคล้องตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกาย โดยใช้นวัตกรรมต่างๆเพื่อสร้างมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์ซึ่งจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งในตลาดในประเทศและต่างประเทศ การเปิดการค้าเสรีอาเซียนจะทำให้ตลาดสิ่งทอของไทยกว้างมากขึ้น มีการซื้อขายสินค้าสิ่งทอที่เป็นสินค้าพื้นบ้านระหว่างในกลุ่มอาเซียนด้วยกันมากขึ้น ทั้งนี้ได้นำร่องพัฒนาผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกายโอทอปที่ จ.นครราชสีมา เป็นแห่งแรกและตั้งเป้าพัฒนาผู้ประกอบการมากกว่า 200 ราย โดยจะขยายผลสู่ภูมิภาคอื่นๆต่อไป
นางกมลชนก สนิทกลาง ผู้ประกอบการ บริษัทเมืองย่า ซิลเค่น
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม(กสอ.) ลงพื้นที่พัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าOTOPภูมิปัญญาไทย มุ่งยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ผ่านโครงการพัฒนามาตรฐานคุณภาพผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกายโอทอปตลอดกระบวนการผลิตและและทดสอบตลาดจากการพัฒนา เพื่อยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถผู้ประกอบการโอทอปประเภทผ้าและเครื่องแต่งกายทั่วประเทศให้สามารถแข่งขันได้ในระดับนานาชาติและเตรียมความพร้อมในการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 นี้ เน้นการให้ความรู้ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำและนวัตกรรมต่างๆ นำร่องพัฒนาผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกายโอทอป จ.นครราชสีมา เตรียมขยายสู่ภูมิภาครวม 4 จังหวัด ตั้งเป้าพัฒนาผู้ประกอบการมากกว่า 200 ราย และยกระดับอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกายไทยสู่ตลาดสากลไม่น้อยกว่า 150 ผลิตภัณฑ์
สำหรับโครงการพัฒนามาตรฐานคุณภาพผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกายโอทอป ตลอดกระบวนการผลิตและทดสอบตลาด สถาบันฯได้วางแผนการดำเนินงานลงพื้นที่เพื่อสำรวจข้อมูล วิธีการผลิต วัตถุดิบ เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ผู้ประกอบการต้องการส่งออก จากนั้นจึงนำกลับมาทดสอบตามมาตรฐานสากล หากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่ตรงตามมาตรฐาน จะมีการส่งทีมที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญเพื่อวิเคราะห์ปัญหาพร้อมให้คำแนะนำเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานตามสากล โดยที่ผ่านมาปัญหาส่วนใหญ่คือ ผู้ประกอบการเลือกใช้วัตถุดิบให้สีหรือสีย้อมที่ไม่ได้คุณภาพ มีสารตกค้างต่างๆ รวมทั้งกระบวนการย้อมที่ไม่คงที่ ส่งผลให้ผ้าที่ได้เกิดตกสี ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้ผู้ประกอบการไทยไม่สามารถก้าวถึงตลาดต่างประเทศได้ นอกจากนี้โครงการฯยังมีกิจกรรมต่างๆ อาทิ การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม โดยดำเนินการเข้าถึงในภูมิภาค ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคเหนือ พื้นที่นำร่อง 4 จังหวัด คือ นครราชสีมา เชียงใหม่ อุบลราชธานี และกรุงเทพฯ สำหรับเนื้อหาในการสัมนานั้นเน้นการให้ความรู้ตลอดกระบวนการผลิต
อย่างไรก็ตาม คาดว่าเมื่อดำเนินโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์โอทอปอย่างเต็มรูปแบบแล้ว จะสามารถยกระดับผู้ผลิตผลิตภัณฑ์โอทอปประเภทผ้าและเครื่องแต่งกายให้สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล ผู้ประกอบการจะได้รับการพัฒนา โดยสถาบันฯสิ่งทอจะทำหน้าที่ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตลอดกระบวนการผลิตและทดสอบตลาด อาทิ ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งเป็นศูนย์การเรียนรู้เกี่ยวกับการย้อมสีธรรมชาติและหน่วยงานอื่นๆ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้กับการดำเนินธุรกิจให้มากที่สุด ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันและสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ซึ่งนำไปสู่การส่งออกในตลาดต่างประเทศและในอาเซียน
เจซีแอนด์โค พับลิครีเลชั่นส์- JC&CO PUBLIC RELATIONS -
ณภัทร กาญจนะจัย
6687-477-0707 / napatk@jcpr.co.th
เนติมา นิจจันพันศรี
6686-756-3939 / netiman@jcpr.co.th
** MEDIA HOTLINE : 081-486-3407 (ฝ่ายสื่อมวลชนสัมพันธ์)**