ปลดล็อค “ครูไร้ใบประกอบวิชาชีพ”

thai_student_4

ปลดล็อคครูไร้ใบประกอบวิชาชีพ มอบ ก.ค.ศ.แก้กฎหมายเพื่อปลดล็อคปัญหา เปิดทางให้ผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในวิชาชีพมาเป็นครู ระบุไม่อยากให้ไปปิดช่องทางที่จะให้ผู้มีความรู้และมีประสบการณ์ เข้ามาเป็นครู

“ที่ผ่านมากระทรวงศึกษาธิการมีปัญหาการขาดแคลนครู แต่ไม่สามารถที่จะจ้างคนเก่งที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในวิชาชีพเฉพาะด้าน อาทิ วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต วิทยาศาสตร์บัณฑิต มาเป็นครูได้ เพราะติดปัญหาในเรื่องของใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ซึ่งไม่ใช่จะมีปัญหาเฉพาะในสถานศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.)เท่านั้น แต่ในส่วนของโรงเรียนเอกชน และโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ก็มีปัญหาในเรื่องการจ้างครูต่างประเทศมาสอน เนื่องจากคนเหล่านี้ไม่มีใบประกอบวิชาชีพ ซึ่งตนมองว่าข้อกำหนดดังกล่าวเป็นระบบที่ปิดเกินไป ทำให้เป็นอุปสรรคไม่สามารถดึงคนที่มีความรู้ในวิชาชีพต่างๆมาเป็นครูได้ ทั้งที่คนเหล่านั้นสามารถที่จะเข้ามาสอนเพื่อทดแทนครูที่เรากำลังขาดแคลนได้ ทั้งนี้ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ก.ค.ศ.) ไปตั้งวงพูดคุยเพื่อแก้ปัญหาในภาพรวม หากต้องแก้กฎหมายเพื่อปลดล็อคปัญหาเพื่อเปิดทางให้ผู้ที่มีความรู้ความ เชี่ยวชาญในวิชาชีพต่างๆเข้ามาเป็นครูได้ก็สามารถทำได้ เพราะตนไม่อยากให้ไปปิดช่องทางที่จะให้ผู้มีความรู้และมีประสบการณ์หรือผู้ที่เชี่ยวชาญในวิชาชีพนั้นๆเข้ามาเป็นครู” นาย จาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ กล่าวเปิดเผยเมื่อวันที่ 10 ก.ย. 2556

ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(กอศ.)กล่าวว่า “ทางครุสภาเสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 44 ของพ.ร.บ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่กำหนดไว้ว่าผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพควบคุม ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ คุณสมบัติ มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ มีวุฒิปริญญาทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือมีคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด ซึ่งข้อกำหนดดังกล่าว ไม่มีความยืดหยุ่น ทำให้ผู้ที่ไม่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทางมาเป็นครูได้

ดังนั้นคุรุสภาจึงเสนอทางออกโดยการแก้ไขเพิ่มเติมในมาตราดังกล่าวและกำหนดให้กรรมการคุรุสภาสามารถยกเว้นเงื่อนไขข้อนี้ได้ ซึ่งการแก้ไขเพิ่มเติมตรงนี้ไม่ได้เป็นการแก้ทั้งมาตรา จึงสามรถเสนอให้คณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณา และเข้าสภาได้ทันที 3 สาระ เพราะถือว่าไม่ผิดเจตนารมณ์ในเรื่องใบประกอบวิชาชีพครู ขณะเดียวกันยังช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนครูในวิชาชีพเฉพาะได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น สาขาวิศวกรรมศาสตร์ นาฏศิลป์ ฯลฯ และไม่ได้ช่วยปลดล็อคเฉพาะปัญหาขาดแคลนครูของสอศ. เท่านั้น แต่ยังทำให้หน่วยงานที่มีสถานศึกษาในสังกัน อาทิ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน(สช.) สามารถจ้างผู้ที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทางมาสอนได้มากขึ้น”

การสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยโดยระบบแอดมิชชั่นกลาง ปีพ.ศ.2547 “คนเก่งไปเรียนหมอคะแนนเต็มหมื่น เหล่าบรรดาคุณหมอต้องมีคะแนนมากกว่า8,000 คะแนน แล้วขอเล่าต่อว่าใครมาเป็นครู? ก็คือบุคคลที่มีคะแนนแอดมิชชั่นต่ำกว่า 2,800 คะแนนลงมา” มีอยู่เป็นจำนวนน้อยของคณะวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่เปิดหลักสูตรสำหรับ ครูเฉพาะทาง จึงเป็นเรื่องที่น่าขบคิดถึงอนาคตของประเทศชาติ ครั้งหนึ่งมีโอกาสได้พูดคุยกับแพทย์หญิงกุหลาบ จิตต์มิตรภาพแห่งผิวดีคลินิก ซึ่งครอบครัวของเธอเป็นสายวิชาชีพแพทย์ทั้งหมด เธอกล่าวว่า เพื่อนของเธอที่เป็นชาวอเมริกันพูดถึงอนาคตของประเทศไทยว่าอีกไม่นานจะล้ม ละลาย ซึ่งในขณะนั้นผู้เขียนได้แกคิดขึ้นมาทันทีว่าเป็นเพราะสาเหตุอันใด จนกระทั่งมองถึงสิ่งใกล้ตัวนั่นก็คือระบบการศึกษา รวมทั้งการงานหน้าที่ของเด็กนักเรียน หากใครที่ยังคงคิดว่าการบ้านทำให้เด็กฉลาด ซึ่งหากมองให้ลึกลงไปแล้วจะมีกี่คนที่ใส่ใจ เป็นเวลานานมาแล้วที่กระทรวงศึกษาธิการของไทยได้นำพาการศึกษาของชาติเข้าป่ารกทึบ เพราะผู้กำหนดนโยบายไม่ได้เข้าใจเป้าหมายการศึกษาอย่างแท้จริง เข้าทำนอง “นั่งแต่ห้องแอร์ วางแผนทำนา” แถมไม่ยอมรับรู้สภาพปัญหาที่แท้จริงเพื่อนำมาปรับแก้ไขให้ถูกต้อง ถือทิฐิเชื่อมั่นถือมั่นว่าสิ่งที่ตัวเองคิดถูกต้องเหมาะสม มีเรื่องไร้แก่นสานมากมายในนโยบายการศึกษาไทยจนทำให้ครูอาจารย์ทั่วประเทศทุกวันนี้ต้องทำงานมากมายที่ไม่จำเป็นและไม่เกี่ยวกับการสอน เป็นต้นว่าครูต้องไปเรียนต่อเพิ่มวุฒิให้สูงขึ้นให้มากๆ ความคิดที่เน้นคุณค่าของปริญญามากกว่าความสามารถในการสอนนี้ ทำให้ครูอาจารย์จำนวนมากลาไปศึกษาต่อจนทำให้ขาดแคลนผู้สอน ใครที่ไม่ไปเรียนต่อก็ต้องแบกรับภาระอย่างหนัก เพราะไม่สามารถจ้างคนมาแทนอัตราประจำเดิมได้ บางครั้งทำให้ต้องใช้อาจารย์พิเศษสอนชั่วคราวอย่างมากมาย ส่วนคนที่ยังคงสอนอยู่ก็แทบไม่มีเวลาเตรียมการสอนเลย ทั้งที่เป็นสิ่งจำเป็นมาก

daad2

กรณีที่สองครูต้องทำวิจัย ทั้งที่หน้าที่หลักของครูอาจารย์คือการสอนแต่กลับกำหนดว่าการเลื่อนตำแหน่งทางวิชาการของครูอาจารย์ต้องมีผลงานวิจัยหรือตำรา เงินงบประมาณจำนวนมากจึงถูกเบิกใช้ทำวิจัย มีวิจัยที่แทบไม่มีประโยชน์เต็มไปหมดและบางวิจัยก็ไม่น่าเชื่อถือเพราะเป็นการพยายามสร้างผลวิจัยเพื่อรองรับการขอตำแหน่งทางวิชาการ หนำซ้ำมีนโยบายให้ครูอาจารย์ต้องเขียนตำรา ในอดีตวิชาการใดหากมีผู้เขียนแล้วและเนื้อหาใช้ได้ดีก็จะใช้ตำราเล่มเดิมแล้วใช้กันมาอย่างยาวนาน แต่เนื่องจากการเลื่อนตำแหน่งทางวิชาการของครูอาจารย์ต้องมีงานวิจัยหรือตำรา จึงต้องพยายามเขียนขึ้นเองโดยไม่จำเป็น บางวิชาอาจมีผู้เขียนเป็นร้อยคนแล้วในปัจจุบันและทำให้มีการเปลี่ยนตำราบ่อยมากแม้กระทั่งในชั้นประถมศึกษา

นอกเหนือจากเด็กนักเรียนที่ต้องขะมักเขม้นทำรายงานส่งครูแล้ว ฉันใดฉันนั้นตัวครูอาจารย์ต้องทำรายงานมากมาย มีแบบรายงานการดำเนินงานมากมายที่ครูอาจารย์จะต้องทำจนกลายเป็นภาระครูอาจารย์ ไม่ว่ารายงานมาตรฐานคุณวุฒิต่างๆ รายงานการประกันความเสี่ยง ฯลฯ และส่วนใหญ่ของรายงานเหล่านี้ก็ไม่สามารถนำไปแก้ไขหรือพัฒนาการศึกษาอะไรได้เลย กลายเป็นขยะกองใหญ่ที่สุด ซึ่งแท้ที่จริงแล้วความเป็นครูนั้นคือผู้ชี้นำทางความคิดให้รู้ถูกรู้ผิดคิดอ่านเขียน ให้รู้ทุกข์รู้ยากรู้พากเพียร ให้รู้เปลี่ยนแปลงสู้รู้การงาน ครูคือผู้ยกระดับวิญญาณมนุษย์ให้สูงสุดกว่าสัตว์เดรัจฉาน ครูคือผู้สั่งสมอุดมการณ์ มีดวงมาลย์เพื่อมวลชนใช่ตนเอง

สถาบันการศึกษาต้องพยายามสร้างกิจกรรมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเพราะกิจกรรมต่างๆ จะเป็นการสร้างคะแนนเพิ่มให้กับการประกันคุณภาพการศึกษา ดังนั้นครูอาจารย์ต้องจัดกิจกรรมทั้งของผู้เรียนและช่วยสังคม บางสถาบันการศึกษาจัดกิจกรรมกันแทบตลอดเทอมจนกลายเป็นว่าทุกวันนี้ครูอาจารย์แทบไม่ต่างอะไรกับนักเรียน นักศึกษา คือทำทุกอย่างเพื่อคะแนนแทนประโยชน์ที่แท้จริงของการศึกษา กลับกลายเป็นว่าครูอาจารย์ต้องรับผิดชอบคะแนนการประกันคุณภาพการศึกษา คะแนนและตัวชี้วัดที่ถูกหน่วยงานกำกับการศึกษาของรัฐสร้างขึ้นมา ทำให้เพิ่มภาระและความเครียดมากมายให้กับครูอาจารย์และผู้บริหารสถาบันการศึกษา แทนที่จะตรวจสอบคุณภาพการศึกษาจากผลลัพธ์ เช่น ความรู้ของผู้เรียน เปอร์เซ็นต์การมีงานทำ เปอร์เซ็นต์การสอบเข้าเรียนต่อได้ ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต ฯลฯ ลดการตรวจประกันคุณภาพลงเถอะครับ อย่าพยายามสร้างความสำคัญให้กับหน่วยงานตนเอง เพราะหากดูจากผลลัพธ์การศึกษาไทยจะพบว่ายิ่งตรวจประกันคุณภาพ ประสิทธิภาพของการศึกษากลับมีแต่ตกต่ำลง เรียกง่ายๆทำนองว่า “ผักชีโรยหน้า” ก็หรูแล้ว

1282738271-thai-student-arts-festival_419761

เมื่อครูมุ่งแต่จะสร้างผลงานฉะนั้นแล้วทุกข์อันใหญ่หลวงจึงมาตกอยู่กับเด็ก ทั้งการบ้าน ภาระงานพิเศษ งานวิจัยหรืออื่นๆที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาวิทยฐานะของครูและหรือสถานศึกษาจนเกิดปัญหาในความสัมพันธ์แขนงต่างๆ หนึ่งในนั้นคือ “ระหว่างความรู้กับความสัมพันธ์ในครอบครัวและสังคม สิ่งใดกันแน่ที่จำเป็นกว่าในชีวิต?” ทั้งโรงเรียนไปจนถึงมหาวิทยาลัยจำนวน มาก ได้กำหนดปฏิทินการศึกษาจนแทบไม่มีเวลาปิดภาคเรียนให้กับผู้เรียนและผู้สอน เด็กนักเรียนปิดเทอมแล้วก็ยังให้ไปเรียนพิเศษ จนทำให้นักเรียนนักศึกษาปัจจุบันแทบไม่มีเวลาพักหลังสอบ ไม่สามารถกลับไปเยี่ยมและอยู่กับครอบครัวได้และต้องงดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ช่วงปิดภาคเรียนไปโดยปริยาย

บางสถานศึกษาจำนวนบุคลากรที่ไม่เพียงพอหรือเพียงพอแต่ไม่มีจิตใจให้บริการ ทำให้ภาระการบริการนักเรียนนักศึกษาและงานจำนวนมากกลับไปอยู่ในความรับผิดชอบของครูอาจารย์ ท่านผู้บริหารการศึกษาคงไม่เข้าใจด้วยซ้ำไปว่าพนักงานขายที่ดีในห้างสรรพสินค้าเขาก็จะไม่ยอมให้ไปทำหน้าที่ยกของหรือพ่อครัวฝีมือดีเขาก็จะไม่ยอมให้ไปทำหน้าที่ล้างจานเพราะเป็นการเอาม้าไปใช้ไถนา ในโรงเรียนขนาดเล็กและโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษามีครูไม่ครบในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้จึงทำให้สอนลูกศิษย์ไม่ได้ ได้แต่เป็นครูผู้คอยควบคุมห้องเรียน ในโรงเรียนบางแห่งครู 1 คน สอนเกือบทุกรายวิชาที่แย่ไปกว่านั้นก็คือครูที่ไม่มีความรู้ภาษาอังกฤษ แต่สอนภาษาอังกฤษโดยการให้นักเรียนนั่งคัดนั่งลอกคู่มือครูต่างๆ เหตุผลเหล่านี้น่าจะบอกได้ว่าทำไมนักเรียนของประเทศไทยเรานั้นถึงเรียนไม่เก่ง

ข้อแตกต่างของครูโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนเอกชนคือความสามารถของครู ครูโรงเรียนเอกชนเขาเงินเดือนหมื่นกว่าบาท แต่สอนเด็กให้เก่ง ดี มีคุณภาพได้ มีระบบจัดการบริหารที่ดี ใครสอนไม่ได้เรืองก็ไล่ออก ถือว่าใช้คนคุ้มค่าเต็มประสิทธิภาพ หันมาดูระบบรัฐบาล เงินเดือนหกหมื่น แต่ละคนวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ซึ่งคำว่าชำนาญการพิเศษมันหมายถึงมีความเชียวชาญในการสอน แต่ผลลัพท์ที่ได้กลับตรงข้าม ขนาดลูกตัวเองยังส่งเข้าเรียนโรงเรียนเอกชน ไม่กล้าให้เรียนโรงเรียนตัวเองเพราะ รู้ว่าสู้เอกชนไม่ได้ แล้วอย่านี้ไม่อายเขาหรือ??

เมื่อมีการแก้ปัญหาของการศึกษาไทยโดยได้จ้างพนักงานราชการเข้ามาทำงาน ทำงานไปโดยไม่มีความมั่นคงทางอาชีพ บางคนไม่มีวุฒิครูก็ไปเรียน “ป.บัณฑิต” ที่โอนจากนักวิชาการ อบต. เมื่อเข้ามาแล้วก็ไม่รู้ว่าจะสอนนักเรียนอย่างไรเพราะไม่ได้เรียนครู ไม่มีความรู้เรื่องจิตวิทยา ไม่ได้เรียนเรื่องการสอน ผู้มีอำนาจทางการศึกษาไม่ได้แก้ปัญหาอย่างจริงจังในระดับชาติ ไม่กล้าเผชิญกับความจริง หลอกหลวงกันเองตั้งแต่เขตพื้นที่จนถึงกระทรวงศึกษาธิการ “หัวเรือดีก็พาไปในทิศทางที่ดี แต่หัวเรือไม่ดีก็พาเข้าป่าเข้าพง” สาเหตุหนึ่งคือการเปลี่ยนรัฐมนตรีฯบ่อย ในลักษณะหมุนเวียนเก้าอี้แล้วก็เปลี่ยนนโยบายตามไปด้วย เปลี่ยนแล้วดีไม่ว่า แต่บางเรื่องเปลี่ยนแล้วแย่กว่าเดิม แล้วคนที่มาเป็นรัฐมนตรีฯควรเป็นผู้ที่รู้และเข้าใจการศึกษาเป็นอย่างดี ไม่ใช่เอาใครมาเป็นก็ได้ที่อยากเป็นรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ

Story : Kittisak Kandisakunanont
Reference : เดลินิวส์ วันอังคารที่ 10 กันยายน 2556 // ทัศนะวิจารณ์ : ทำไมครูไทยถึงสอนได้ไม่ดี ?

Thanks to images from : http://static0.demotix.com/sites/default/files/imagecache/a_scale_large/400-1/photos/1282738271-thai-student-arts-festival_419761.jpg
http://www.krumontree.com/web/images/news2/thai_student_4.jpg
http://www.inter.msu.ac.th/document/2012-09-13-01-09-42-s001.jpg
http://www.ait.ac.th/news-and-events/2010/news/daad2.jpg
http://vareeinternational.files.wordpress.com/2013/02/img_6764_resize.jpg

Related contents:

You may also like...