“จิตรกรมีตาที่ไวกว่าชัตเตอร์ของกล้องถ่ายรูปนะครับ เรามองเห็นสิ่งที่เลนส์อาจจะไม่สามารถเห็นได้ และเราก็ถ่ายทอดออกมาด้วยความละเมียดละไม” นี่คือคำตอบของวัชระ กล้าค้าขาย เมื่อถูกถามว่าภาพเหมือนจากจิตรกรต่างจากภาพเหมือนจากช่างภาพอย่างไร (โดยมีช่างภาพของไฮคลาสยืนยิ้มพลางพยักหน้าสนุบสนุนอยู่ไม่ไกล)
“การเขียนภาพเหมือนในบ้านเรานั้น อาจจะพัฒนาขึ้นทีหลังการเขียนภาพในแนวอื่นๆ เพราะในอดีตคนไม่นิยมเขียนภาพเหมือนของตัวเองด้วยเหตุผลทางความเชื่อ จนกระทั่งในราวรัชกาลที่ 4 นี่เองจึงเริ่มเขียนภาพเหมือนบุคคลกันขึ้น
“ภาพเหมือนที่ดีไม่ใช่แค่เหมือนจนแยกไม่ออกว่าอันไหนภาพเขียน อันไหนภาพถ่าย แต่เสน่ห์ของมันอยู่ที่การดึงเอาบุคลิก ลักษณะ ตัวตน ความรู้สึกของแบบออกมาให้ได้ ดังนั้นจิตรกรที่จะเขียนภาพเหมือนออกมาได้ดีนั้นไม่ใช่แค่มองแบบด้วยตาเท่านั้น แต่ต้องใช้ใจมองเลยทีเดียว
ณ เวลานี้ มนุษย์น้อยคนที่จะไม่มีภาพเหมือนเป็นของตัวเอง ในเมื่อเทคโนโลยีการถ่ายภาพเจริญรุดหน้าจนสามารถบันทึกภาพสวยสดที่เหมือนกับต้นแบบไม่ผิดเพี้ยนโดยใช้เวลาเพียงพริบตาเดียว แต่