หลังจากที่บ่าวสาวได้ผ่านพิธีวิวาห์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หากแต่จะมีการจดทะเบียนสมรสหรือเปล่านั้นก็เป็นสิทธิส่วนบุคคลของแต่ละครอบครัว ซึ่งหากเมื่อใดที่คุณมีพยานรักเป็นทารกออกมาร้องอุแว๊…อุแว๊ แล้ว เมื่อนั้นความเป็นบิดาและมารดาก็ถือกำเนิดขึ้นตามกฎหมายโดยปริยาย เมื่อวันนั้นมาถึงจะต้องเตรียมตัวกับลูกน้อยของเราอย่างไรบ้าง
การรับรองบุตรเป็นวิธีการหนึ่งที่จะทำให้บุตรนอกสมรสเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดาได้ซึ่งวิธีการนี้บิดาสามารถจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรของตนโดยไม่ต้องจดทะเบียนสมรสกับมารดาของเด็ก โดยบิดาสามารถจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรของตนได้แต่กฎหมายกำหนดเงื่อนไขในการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรต้องได้รับความยินยอม จากเด็กและมารดาของเด็ก โดยทั้งสองคนต้องไปให้ความยินยอมต่อหน้านายทะเบียนแต่หากบุคคลทั้งสองไม่อาจให้ความยินยอมได้ เช่น มารดาถึงแก่ความตายแล้ว หรือกรณีเด็กไม่อาจแสดงเจตนาให้ความยินยอมได้ เช่น อายุยังน้อยเกินไป การรับรองบุตรนั้นผู้ร้อง(บิดา)จะต้องมาร้องขอให้ศาลมีคำสั่งรับรองบุตร
ดังนั้นผู้ร้อง(บิดา)จึงสามารถยื่นคำร้องต่อศาลขออนุญาตศาลให้ความยินยอมแทนผู้เยาว์หรือแทนมารดา ในการที่ผู้ร้องจะจดทะเบียนรับรองบุตรต่อนายทะเบียนต่อไป ทั้งนี้เพื่อเป็นการพิทักษ์และคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของผู้ร้องและบุตรตาม ที่กฎหมาย– บุตรที่เกิดโดยบิดามารดามิได้จดทะเบียนสมรสกันถือว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วย กฎหมายของมารดาเพียงฝ่ายเดียว แต่กฎหมายเปิดโอกาสให้ชายจดทะเบียนรับรองบุตรได้และถือเป็นบุตรที่ชอบด้วย กฎหมายของฝ่ายชายด้วย นับแต่วันจดทะเบียน หรือโดยบิดามารดาได้จดทะเบียนสมรสกัน ไม่ต้องจดทะเบียนรับรองบุตร หรือโดยคำพิพากษาของศาลให้เด็กนั้นเป็นบุตรของชายผู้เป็นบิดา การจดทะเบียนรับรองบุตรจึงมี ๒ วิธี คือ การรับรองบุตรด้วยความสมัครใจของชายผู้เป็นบิดาและโดยคำพิพากษาของศาล
การรับรองบุตรด้วยความสมัครใจของชายผู้เป็นบิดา
หลักเกณฑ์
บิดามารดาและบุตรต้องไปที่สำนักงานเขตหรืออำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสถานทูต สถานกงสุลไทยในต่างประเทศแห่งใดก็ได้ ถ้ามารดาและบุตรไม่ไปด้วย นายทะเบียนจะมีหนังสือแจ้งไปยังฝ่ายที่ไม่มาเพื่อให้มาให้ความยินยอมหรือคัด ค้านการจดทะเบียน ถ้าพ้น ๖๐ วัน นับแต่การแจ้งความของนายทะเบียนไปถึง ถือว่าไม่ให้ความยินยอม ถ้ามารดาและบุตรอยู่ต่างประเทศจะขยายเวลาเป็น ๑๘๐ วัน ในกรณีที่เด็กหรือมารดาเด็กคัดค้านว่าผู้ขอจดทะเบียนไม่ใช่บิดาหรือไม่ให้ ความยินยอม หรือไม่อาจให้ความยินยอมได้การจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรต้องมีคำพิพากษาของศาล
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
- บัตรประจำตัวของบิดามารดา
- สูติบัตรของบุตร
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
ค่าธรรมเนียม
- การรับรองบุตรด้วยความสมัครใจของชายผู้เป็นบิดา ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใดๆ
สถานที่ติดต่อ
- งานปกครอง สำนักงานเขตทุกเขต หรืออำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสถานทูต สถานกงสุลไทยในต่างประเทศแห่งใดก็ได้กำหนดต่อไป
เอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนรับรองบุตร (นำต้นฉบับเอกสารให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบพร้อมสำเนา 2 ชุด)
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง(บิดา)
- ทะเบียนบ้านของผู้ร้อง,มารดา และผู้เยาว์
- สูติบัตรของผู้เยาว์ หรือบุตร
- ใบมรณบัตรของมารดาผู้เยาว์ (กรณีมารดาผู้เยาว์เสียชีวิต)
- ใบเปลี่ยนชื่อตัว / ชื่อสกุล (ถ้ามี) ของผู้ร้อง,ผู้เยาว์,มารดาของบุตร
- หนังสือให้ความยินยอมของมารดาผู้เยาว์และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (กรณีมารดายังมีชีวิต)
ค่าใช้จ่ายในการยื่นคำร้อง
- ค่าขึ้นศาล 200 บาท
- ค่าประกาศหนังสือพิมพ์ 500 บาท
นับแต่วันที่ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตร ศาลจะนัดไต่สวนคำร้องไม่น้อยกว่า 45 วันนับแต่วันยื่นคำร้อง และภายในเวลา 15 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งรับคำร้องแล้ว ผู้ร้องจักต้องนำบุตรและมารดาของบุตรไปให้ถ้อยคำต่อผู้อำนวยการสถานพินิจฯ กรุงเทพ เพื่อประมวลและรายงานข้อเท็จจริงเสนอความเห็นต่อศาลประกอบในการ พิจารณาคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตร (ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 117)
อนึ่ง ในวันนัดไต่สวนคำร้อง ผู้ร้องพร้อมมารดาผู้เยาว์และผู้เยาว์ต้องมาศาลและนำเอกสารพยานหลักฐานต่างๆ ตามที่ระบุไว้ในบัญชีพยานมาศาลเพื่อทำการไต่สวนคำร้องเมื่อพ้นกำหนด 1 เดือนนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง ผู้ร้องสามารถขอคัดถ่ายคำสั่งศาลโดยให้เจ้าหน้าที่รับรองสำเนาถูกต้องและขอ หนังสือสำคัญแสดงคดีถึงที่สุด แล้วนำเอกสารดังกล่าว ไปดำเนินการตามความประสงค์ต่อไป.
ข้อควรทราบ
- การจดทะเบียนรับรองบุตร สามารถกระทำได้ ๒ วิธี ได้แก่ การจดทะเบียนรับรองบุตรในสำนักทะเบียนและการจดทะเบียนรับรองบุตรนอกสำนักทะเบียน โดยการจดทะเบียนรับรองบุตรนอกสำนักทะเบียนต้องเสียค่าธรรมเนียมรายละ ๒๐๐ บาท
- การจดทะเบียนรับรองบุตรไม่มีใบสำคัญออกให้ ถ้าต้องการหลักฐานก็ให้ยื่นคำร้องขอคัดสำเนาทะเบียนบ้านฯ โดยเสียค่าธรรมเนียมฉบับละ ๑๐ บาท
ประโยชน์ของการจดทะเบียนรับรองบุตร
- เด็กมีสิทธิใช้ชื่อสกุลและรับมรดกของบิดา
- ข้าราชการมีสิทธิได้รับเงินค่าช่วยเหลือต่างๆ ของบุตร
- บิดามีสิทธิได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้
Credit : ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง
Thanks to image from http://ourfemininemystique.blog.com/files/2012/10/happyFamily-Pardee-Homes-Carmel-Valley.jpg