Art Deco ยุคแห่งศิลปะที่เต็มไปด้วยสไตล์ที่งามสง่า

Art Deco เป็นขบวนการการออกแบบนานาชาติระหว่าง ค.ศ. 1925 ถึง ค.ศ. 1939 ที่มีผลต่อศิลปะการตกแต่งเช่น สถาปัตยกรรม, การออกแบบภายใน และ การออกแบบอุตสาหกรรม และรวมทั้งทัศนศิลป์เช่นแฟชั่น, จิตรกรรม, เลขนศิลป์ (graphic arts) และภาพยนตร์ ขบวนการนี้เป็นการผสมผสานระหว่างลักษณะศิลปะและขบวนการหลายแบบในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ที่รวมทั้งศิลปะฟื้นฟูคลาสสิก, ลัทธิเค้าโครง (Constructivism), ลัทธิบาศกนิยม, ลัทธิสมัยใหม่, อาร์ตนูโว และลัทธิอนาคตนิยม อาร์ตเดโคนิยมกันอย่างสูงสุดในยุโรปและสหรัฐอเมริกาในสมัยรู้จักกันว่า “Roaring Twenties” และนิยมกันอย่างกว้างขวางในสหรัฐอเมริกาตลอดคริสต์ทศวรรษ 1930 แม้ว่าขบวนการออกแบบหลายขบวนการเริ่มจากความคิดทางการเมืองหรือทางปรัชญาแต่อาร์ตเดโคมีรากมาจากการตกแต่งเท่านั้น ในขณะนั้นทัศนคติต่ออาร์ตเดโคถือกันว่าเป็นศิลปะของความหรู ความมีประโยชน์ทางการใช้สอยและความเป็นสมัยใหม่ ตัวอย่างที่เด่นยังเห็นได้จากสถาปัตยกรรมตามเมืองใหญ่ๆ เช่นตามนครนิวยอร์ก อาทิ ตึกไครสเลอร์ (Chrysler Building) ที่ออกแบบโดย วิลเลียส แวน อเล็น (William Van Alen)และ ตึกเอ็มไพร์สเตท (Empire state Building)

อาร์ตเดโคจะเป็นศิลปะที่ได้เพียงแต่ชื่นชมความงามด้วยสายตาเท่านั้น นอกจากชิ้นงานศิลปะแบบเพียวอาร์ต หรือไฟน์อาร์ตแล้ว “อาร์ตเดโค” ยังโดดเด่นสอดแทรกอยู่ในงานสถาปัตยกรรม และงานดีไซน์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง งานออกแบบทางสายแฟชั่น ทั้งเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า และลายพิมพ์บนผืนผ้าต่างๆ ล้วนยังเป็นแรงบันดาลใจให้วงการแฟชั่นหลายยุคหลายสมัย มาจนถึงปัจจุบันทีเดียว

เครื่องประดับยุคอาร์ตเดโคนี้ นักออกแบบจำนวนมากในสมัยนั้นมีการใช้เส้นที่คมชัด เหลี่ยม มุมเครื่องประดับชัดเจน อันเป็นผลมาจากยุคสมัยของการนำเครื่องจักรกลมาใช้ รูปทรงที่เป็นแรงบันดาลใจมักมาจากธรรมชาติ โดยมักจะมีเส้นรอบนอกที่เป็นรูปทรงเรขาคณิต ทั้งนี้ทั้งนั้นมีการคำนึงถึงความสมดุลมากขึ้น ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญแสดงถึงความหนักแน่น ทั้งรูปแบบต่างๆและสีสันของอัญมณีที่จัดจ้านได้ถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งถือเป็นจุดเด่นสำคัญของอาร์ตเดโค จึงเป็นข้อแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างยุคอาร์ต นูโวก่อนหน้านี้

รูปทรงของเครื่องประดับยุคอาร์ตเดโคนี้จะมีรูปแบบกระทัดรัดและลวดลายที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอียิปต์โบราณ โดยมีการนำรูปแบบลวดลายภาพวาดผนัง, เครื่องประดับกาย, เครื่องราง มาดัดแปลง ตัดทอน อ้าบงอิงกันว่ามีการค้นพบสุสานของกษัตริย์ตุตันคามุน(ในปีค.ศ.1922) จะเห็นได้ชัดว่าในสมัยนั้นแบรนด์เครื่องประดับระดับโลกอย่าง cartier มีการผลิตเครื่องประดับในเชิงลักษณะกึ่งยุโรป-อียิปต์ออกมา ที่เป็นที่ขึ้นชื่อระดับโลกคือเข็มกลัดแมลงทับ


สิ่งซึ่งแตกต่างจากเครื่องประดับยุคอื่นๆที่เคยกล่าวกันมาคือ นักออกแบบให้ความสำคัญกับสีสันในเครี่องประดับ โดยนิยมใช้สีที่ตัดกันหรือสีที่ตรงข้ามกันมาประกอบในชิ้นเครื่องประดับ ด้วยเหตุนี้เองอัญมณีที่มีสีสันอย่างพลอยในตระกูลคอรันดัม(Corundum) อาทิ ไพลิน(Sapphire) ทับทิม(ruby) และควอตซ์(quartz)สีต่างๆจึงถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย รวมถึงลูกปัดอัญมณีต่างๆ ก็ถูกนำมาใช้ในในเครื่องประดับเช่นกัน ที่ยังคงความนิยมสืบเนื่องต่อจากยุควิคตอเรียนคือเทคนิคการลงยา ซึ่งยังคงปรากฏให้เห็นอยู่

“ความขัดแย้งของสีสันนำมาซึ่งความสวยงาม” อาจเรียกได้ว่าเป็นคอนเซปต์ของยุคอาร์ตเดโคนี้ก็ว่าได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณสีที่นักออกแบบในยุคนั้นต้องการ นอกจากสีสันที่ฉูดฉาดแล้วยังคงคำนึงถึงความสวยงาม ตามทฤษฎีสีของศิลปศึกษาจะมีเรื่องของวงจรสี สีตรงกันข้ามคือสีคู่ปฏิปักษ์ กล่าวคือสีที่มีค่าความเข้มสีตัดกันอย่างรุนแรง ในทางปฏิบัติไม่นิยมนำมาใช้ร่วมกันเพราะจะทำให้สีไม่สดเท่าที่ควร แต่นักออกกแบบในยุคนี้สามารถจัดสรรความงดงามจากธรรมชาติได้อย่างลงตัว และอัญมณีที่ขาดไม่ได้คือเพชร(diamond)อัญมณีที่คงความงาทมชั่วนิจนิรันดร มีการนำเพชรมาประดับร่วมด้วยเพื่อเพิ่มความสวยงามและมูลค่าให้กับเครื่องประดับ อย่างไรก็ตามการเจียระไนรูปทรงของอัญมณีในยุคอาร์ตเดโคนี้ กว่า 90% จะเจียระไนเป็นทรงเหลี่ยมมากว่าทรงอื่นๆ รวมไปถึงการฝังที่เป็นเหลี่ยมเป็นช่อง(Channel setting) เป็นที่นิยมอย่างมาก ภาพด้านล่างเป็นภาพเครื่องประดับแสดงถึงการฝังที่เป็นเหลี่ยมเป็นมุม ที่เกิดขึ้นในยุคอาร์ตเดโค และการใช้สีสันที่เรียกได้ว่างดงามและเลอค่าเป็นอย่างมากของแบรนด์เครื่องประดับ Van Cleef & Arpels ที่เป็นเครื่องประดับระดับเวิลด์คลาส เช่นเดียวกับกับ Cartier


เครื่องประดับยุคอาร์ตเดโคมีความอ่อนช้อย ประณีตสวยงาม เพราะเนื่องจากในยุคนี้ใช้โลหะมีค่าในตระกูลแพลตตินัม (Platinum, Pt) ซึ่งตามโลหะวิทยา (Precious metallology)แล้วแพลตตินัมมีความอ่อนนิ่มมากที่สุด มากกว่าโลหะบริสุทธิ์ (Pure precious metal) มีค่าอื่นๆ (ทองคำ, เงิน) นักออกแบบเข้าใจเลือกโลหะชนิดนี้เพื่อเพิ่มความฉูดฉาดของอัญมณี ทำให้เราเห็นเครื่องประดับยุคอาร์ตเดโคที่มีสีทองของทองคำน้อยมาก หรือแทบมีไม่เห็นเลย นอกจากนี้แล้วในยุคนี้เองเป็นต้นกำเนิดการเจียรไนเพชรและพลอยเป็นรูปทรงเหลี่ยม นั่นก็คือ Emerald cut  หรือเหลี่ยมมรกต, Princess cut และรูปทรงหยดน้ำ(pear shape)

ความนิยมในอาร์ตเดโคเริ่มลดถอยลงในปลายคริสต์ทศวรรษ 1930

Text : Kittisak Kandisakunanont

Thanks to images from :
http://newyorkjewelrydiary.com/signed-jewels/
http://elogedelart.canalblog.com/tag/emerald/p40-0.html
http://pinterest.com/theuptownpurr/jewels-beget-jewels/
http://pinterest.com/jeaninepezzenti/antique-vintage-fine-jewelry/
http://www.nadeausauction.com/listlots/?auction=224384
http://pinterest.com/pin/2674080998817803/

Related contents:

You may also like...