ความงามของเนเฟอร์ติตีนั้น เป็นที่เลื่องลือว่า “งดงามที่สุดในโลก ความงามของนางเป็นที่ร่ำลือว่า พระพักตร์งาม ทรงความเบิกบาน เป็นผู้ให้ความสำราญหาใครเทียม” สมกับพระนามเนเฟอร์ติตีที่แปลว่า “ผู้งดงามหมดจด” รูปโฉมของเนเฟอร์ติตี มีลักษณะเป็นสตรีเอวบาง แต่บั้นท้ายและสะโพกหนา ชุดที่พระนางสวมใส่มักจะบางเบาโปร่งแสง ทำให้แลดูมีเสน่ห์ยั่วยวน เหตุที่พระนางมีใบหน้าที่สวยงามกว่านางใดในแผ่นดิน ใบหน้าของพระนางในรูปเขียนต่างๆ จึงถูกทำลายอย่างเฉพาะเจาะจง!
พระนางเนเฟอร์ตีติเป็นราชินีของฟาโรห์อาเมนโฮเทป ที่ 4 แห่งอียิปต์ (ภายหลังได้เปลี่ยนพระนามมาเป็นอาเคนาเตน) และพระมารดาสะใภ้ของฟาโรห์ตุตันคามุน กล่าวกันว่าเนเฟอร์ติติอาจเคยขึ้นครองบัลลังก์อียิปต์เป็นช่วงเวลาสั้นๆหลัง จากพระสวามีสิ้นพระชนม์ และก่อนที่ฟาโรห์ตุตันคามุนจะเถลิงศิริราชสมบัติ Zแต่ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันในหมู่นักวิชาการ) พระนางเนเฟอร์ติติอภิเษกสมรสกับอาเมนโฮเทปที่สี่ ทั้งคู่มีธิดาด้วยกันหกพระองค์ ซึ่งฟาโรห์ก็ทรงโปรดปราน รักใคร่ยิ่งนัก จนมีปรากฏในรูปส่วนใหญ่ ที่เป็นภาพฟาโรห์ประทับอยู่กับมเหสี และธิดาองค์ใดองค์หนึ่งหรือหลายองค์ ในลักษณะธิดานั่งบนตักบ้าง คลอเคลีย อยู่บนตัวบ้าง ขอให้อุ้มบ้าง หรือมิฉะนั้นก็ยืนอยู่แนบข้างฟาโรห์ จัดเป็นภาพที่ออกจะผิดแผก ไปจากภาพชีวิตของฟาโรห์องค์อื่นๆ บางคนกล่าวว่า เป็นการจัดฉากโดยฝีมือของเนเฟอร์ติตี เพื่อแสดงให้ผู้คนเห็นว่าฟาโรห์ทรงหลงใหลในมเหสีเอกองค์นี้เพียงใด อาจเป็นได้เพราะนอกจากพระนางเนเฟอร์ติตีแล้ว อาเคนาเตนก็ยังมีมเหสีรองที่สำคัญอีกคือพระนางกิยา (Kiya) ผู้ซึ่งเป็นพระมารดาของฟาโรห์องค์ต่อมา ที่โด่งดังทั่วโลก ตุตันคาเมน รายชื่อและปีเกิดของธิดามีดังนี้:-
- เมรีตาเตน – เกิดในปีที่ 2 หลังจากที่อาเมนโฮเทปที่สี่ขึ้นครองราชย์ (1348 ปีก่อนคริสตกาล)
- เมเคตาเตน – เกิดในปีที่ 3 (1347 ปีก่อนคริสตกาล)
- อานเคเซนปาเตน, ผู้ที่ต่อมาเป็นชายาของ ฟาโรห์ตุตันคามุน – เกิดในปีที่ 4 (1346 ปีก่อนคริสตกาล)
- เนเฟอร์เนเฟอรัวเตน ตาเชริต – เกิดในปีที่ 6 (1344 ปีก่อนคริสตกาล)
- เนเฟอร์เนเฟอร์รูเรNeferneferure – เกิดในปีที่ 9 (1341 ปีก่อนคริสตกาล)
- เซเตเปนเร – เกิดในปีที่ 11 (1339 ปีก่อนคริสตกาล)
ระยะเวลา 17 ปี ที่ครองราชย์นั้น แม้ว่าชีวิตในวังจะมีความผาสุกดังที่เห็นในภาพเพียงไร แต่สิ่งหนึ่งที่นำมาซึ่งความวิบัติเสื่อมเสียให้แก่ฟาโรห์และมเหสีในภายหลังก็คือพระองค์ได้ปฏิรูปศาสนาและศิลปกรรมของอียิปต์อย่างมากมาย ทั้งสองพระองค์ทรงนับถือบูชาในเทพเจ้าอาเตน (Aten) ก่อความระส่ำระสายให้แก่นักบวชดั้งเดิมจนกลายเป็นความโกรธแค้นอาฆาต ซึ่งบุคคลที่สนับสนุนอยู่เบื้องหลังฟาโรห์และมีอิทธิพลต่อราชวงศ์ไอยคุปต์ก็ คือ พระมเหสีเอกเนเฟอร์ติตี
แต่เดิมนั้นบรรดาประชากรอียิปต์ มีศาสนาที่นับถือพระเจ้าหลายองค์ (พหุเทวนิยม) โดยมีเหล่านักบวช เป็นผู้ดูแลทำพิธีในวิหารต่างๆ แต่อาเคนาเตน ได้นำเอาศาสนาพระเจ้าองค์เดียว (เอกเทวนิยม) คือ สุริยเทพอาเตน มายัดเยียด และได้ปฏิรูปศาสนา อย่างถอนรากถอนโคน อาทิ หลังจากขึ้นครองราชย์ได้ ไม่นาน ฟาโรห์ก็ ทรงมีบัญชาให้สร้างเมืองหลวงขึ้นใหม่ กลางดินแดนอียิปต์ระหว่างเมืองธีบิสกับเมมฟิส สำหรับการสักการบูชาเทพอาเตน โดยเฉพาะชื่อของนครนี้ คือ อาเคตาเตน (Akhetaten) แปลว่า “ขอบฟ้าแห่งเทพอาเตน” ทรงย้ายสมาชิกในราชวงศ์ ตลอดจนขุนนาง และบริพารใกล้ชิดไปอยู่ที่เมืองหลวงใหม่นี้ ใจกลางนครมีมหาวิหารสถิตเทพอาเตนกับมีพระราชวังหลวง โดยมีอาคารพักอาศัยของข้าราชบริพารอยู่รอบนอก มีสุสานของพระราชวงศ์อยู่ที่หน้าผานอกเมือง แม้แต่พระนามเดิมของฟาโรห์คือ เอเมนโฮเทปที่ 4 ก็ยังทรงเปลี่ยนมาเป็น อาเคนาเตน ซึ่งแปลว่า “วิญญาณอันรุ่งโรจน์ของอาเตน”
เทพอาเตน มีสัญลักษณ์เป็นแผ่นกลมที่มีรัศมีแผ่ออกมาเป็นรูปมือเล็กๆซึ่งหมายถึงกำเนิดชีวิตหรือจะหมายถึงพลังแห่งสุริยเทพก็ได้ มหาวิหารทีฟาโรห์และมเหสีสร้างถวายเทพอาเตนนั้นเป็นแบบวิหารสุริยโบราณที่ไม่มีหลังคา ปล่อยให้แสงแดดส่องลงมาได้เต็มที่
นอกจากจะคลั่งไคล้บูชาอาเตนเต็มที่แล้ว ฟาโรห์ยังกระทำยํ่ายีศาสนาเดิมโดยมีบัญชาให้ปิดวิหารเทพเจ้าอื่นๆจนสิ้น ลบรูปสัญลักษณ์ต่างๆในวิหาร ริบข้าวของสมบัติต่างๆ ภายในวิหารแล้วนำเอาสัญลักษณ์เทพอาเตน เข้าไปตั้งแทน เพื่อให้ราษฎรอียิปต์สักการบูชา บ้างก็ว่าเทพอาเตนไม่มีรูปปั้นแทนตัวใดๆทั้งสิ้น แต่ว่าจะเป็นการบูชาที่ตัวดวงอาทิตย์ ดังนั้น Great Temple of Aten ในเมืองอาเคนาเตนถึงได้เปิดเพดาน อย่างไรก็ตามนี้ได้สร้างความโกรธเป็นเดือดเป็นแค้นแก่ นักบวชที่เคยมีอิทธิพลต่อจิตใจของชนอียิปต์อย่างมากมาย
ใน ปีที่ 1336 ก่อนคริสตกาล ฟาโรห์อาเคนาเตน สิ้นพระชนม์ แผ่นดินตกอยู่ในการปกครองของผู้สำเร็จราชการนาม เนเฟอร์เนเฟอรู อาเตน ซึ่งไม่มีใครรู้แน่ชัดว่าเขาเป็นใครมาจากไหน บางคนกล่าวว่าเป็นลูกพี่ลูกน้องกับอาเคนาเตน ผู้มีนามว่า เสม็นคาเร แต่หลายคนกล่าวว่าเขามิใช่ใครอื่นหากแต่เป็นมเหสีเอกเนเฟอร์ติตีนั่นเอง
พระนางเนเฟอร์ติตีนั้นไม่ปรากฏพระองค์ หรือมีบทบาทใดๆให้เห็นในช่วงท้ายๆรัชกาลอาเคนาเตน จะเป็นด้วยเหตุผลใดไม่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าทรงรู้ดีว่าพระองค์นั้นมีส่วนร่วมกับฟาโรห์ทำลายล้างศาสนาเดิม และได้สร้างศัตรูไว้มากมาย จึงต้องทรงซ่อนเร้นและปกครองอียิปต์ต่อมาอย่างไม่เปิดเผยพระองค์ ในช่วงระยะเวลาอันสั้นราว 3 ปี ในฐานะผู้สำเร็จราชการนี้ได้มีความพยายามที่จะประนีประนอมรื้อฟื้นการบูชาเทพเจ้าดั้งเดิมขึ้นใหม่ เพื่อบรรเทาความอาฆาตแค้นของศัตรู หากแต่ไม่เป็นผล
การสิ้นพระชนม์ของเนเฟอร์-ติตีเป็นเรื่องลึกลับ บางคนถึงกับอ้างว่า พระนางสิ้นพระชนม์ก่อนหน้า พระสวามีด้วยซํ้า อย่างไรก็ตาม โดยที่มีผู้เกลียดชังมาก ทำให้ภาพของเนเฟอร์ติตีตามวัง และวิหารต่างๆ ถูกลบพระพักตร์ ออก อันเป็นการกระทำ ที่เกิดจากความเคียดแค้นอาฆาต ที่สะสมมานาน และโดยเหตุที่พระนาง มีใบหน้าที่สวยงามกว่านางใดในแผ่นดิน ด้วยเหตุนี้เองครับที่ใบหน้า ของพระนางในรูปเขียนต่างๆ จึงถูกทำลายอย่างเฉพาะเจาะจง แม้แต่มัมมี่ของพระนาง ก็ยังไม่มีหลักฐานปรากฏชัดเจนว่าอยู่หนใด
สำหรับอาณาจักรฮิตไทต์เป็นอาณาจักรแรกของเขตอนาโตเลีย ถือเป็นตุรกีโบราณ อาณาจักรฮิตไทต์สาบสูญไปไร้ร่องรอย สันนิษฐานว่าเกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่ทำให้เมืองทั้งเมืองเหลือแต่ซากและโครง สร้างรากฐาน ปัจจุบันรัฐบาลตุรกีกำลังเร่งสำรวจหาความรู้ให้ได้มากกว่าเดิมที่มีอยู่เพียงน้อยนิด
จวบจนกระทั่งนักอียิปต์ วิทยาได้สันนิษฐานว่ามัมมี่ 1 ใน 3 ร่าง ที่พบในสุสานหมายเลข KV 35 แห่งหุบเขากษัตริย์ ใกล้เคียงกับสุสานของตุตันคาเมน นั่นน่าจะเป็นมัมมี่ของเนเฟอร์ติตีดังที่กล่าว ในเบื้องต้นเหตุผลของการสันนิษฐานประมวลได้ว่ามัมมี่ร่างนั้นมีคอเรียวยาวดุจหงส์ ซึ่งละม้ายกับรูปลักษณ์ของเนเฟอร์ติตีผู้งดงาม และอายุของมัมมี่นี้ก็อยู่ในยุคเดียวกับพระนาง นอกจากนี้ตลอดร่างของมัมมี่ก็ถูกทำลายเสียหาย เช่น ใบหูถูกเจาะ ศีรษะถูกโกน คิ้วถูกกดเป็นรอย ลำตัวมีริ้วรอย ซึ่งล้วนตรงกับความเสียหายที่เกิดขึ้น ต่อภาพเขียนทั้งหลายของพระนาง และที่สำคัญคือได้พบวิกผมสไตล์นูเบียน ตกอยู่ใกล้ๆ กับมัมมี่ทั้ง 3 เป็นแบบวิกผมที่พระนางเนเฟอร์ติตีและสมาชิกราชวงศ์ของเธอสวมใส่อยู่เป็นประจำทำให้น่าเชื่อได้ว่า มัมมี่นี้ก็คือพระศพของพระนางเนเฟอร์ติตี และจากการสันนิษฐานว่าเป็นมัมมี่ของเนเฟอร์ติตีผู้งามที่สุดในโลก โครงการหนึ่งของทีมงานศึกษาครั้งนี้ จึงมุ่งเน้นในการสร้างภาพดิจิตอลพระพักตร์ของเนเฟอร์ติตีจากโครงหน้าของมัมมี่นี้ซึ่งจะได้ภาพราชินีอียิปต์ผู้ทรงโฉมที่สุดจริงหรือไม่…
คำตอบคือ “ไม่จริง”
มัมมี่ที่เคยคาดว่าเป็น Nefertiti ใน KV35 หรือที่บางท่านอาจจะคุ้นหูในชื่อ Younger Lady ล่าสุดประมาณเดือนพฤศภาคม ปี ค.ศ.2007 ได้มีการนำ Younger Lady นี้ไปทำการ CATScan และได้ผลออกมาว่า “Now, it is time to present the evidence that we have discovered from the study of the CT scan, which will prove that the younger lady discovered in KV 35 cannot be Nefertiti.”
พระนางเนเฟอร์ติติโด่งดังจากรูปปั้นท่อนบน ซึ่งตอนนี้จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์อียิปต์แห่งชาติเยอรมนีในนครเบอร์ลิน รูปปั้นดังกล่าวเป็นรูปที่ถูกทำเลียนแบบซ้ำมากที่สุดในบรรดาศิลปวัตถุของไอยคุปต์ สร้างขึ้นโดยประติมากร Djhutmose และถูกค้นพบในห้องทำงานศิลปะของเขา รูปปั้นท่อนบนนี้มีชื่อเสียงโด่งดังเนื่องจากเป็นตัวอย่างของความเข้าใจ อย่างถ่องแท้ของชาวอียิปต์โบราณเกี่ยวสัดส่วนขององค์ประกอบบนใบหน้า
พระนางถูกเรียกขานมากมายหลายชื่อที่วิหารคาร์นัก มีศิลาจารึกที่ขานพระนางว่าเป็น ‘ผู้สืบทอด’ ‘ที่สุดของผู้เป็นที่โปรดปราน’ ‘ผู้มีสเน่ห์’ ‘ผู้แผ่ความสุข’ ‘ชายาผู้อ่อนหวาน’ ‘ผู้เป็นที่รัก’ ‘ผู้ปลอบประโลมหัวใจขององค์ราชาในวัง’ ‘ผู้มีถ้อยคำอ่อนโยน’ ‘ชายาแห่งอียิปต์ตอนบนและอียิปต์ตอนล่าง’ ‘ชายาของกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่’ ‘ผู้ที่กษัตริย์ทรงรัก’ ‘สตรีแห่งดินแดนทั้งสอง’ ‘เนเฟอร์ติติ’
Text : Kittisak Kandisakunanont
*************************************************************************
Thanks to information and images from :-
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B9%8C:House_Altar_Akhenaten_Nefertiti_Berlin.jpg
http://www.dek-d.com/board/view.php?id=569555
http://www.freakingnews.com/Nefertiti-Courtney-Cox-Pics-66684.asp
http://neffertiti-ms.blogspot.com/2010/11/unique-family-in-chain-of-royalty.html
http://www.paganspace.net/group/sacredsecretsofancientegyptians/forum/topics/findings-tuts-dna