อายุยืนและสุขภาพดีด้วยโปรแกรมทางการแพทย์แบบบูรณาการ Vitallife’s Longevity Index™

happy-man

ความลับของการมีสุขภาพดีและอายุยืนยาวคืออะไร? “แม้เรายังไม่พบสูตรยาวิเศษ แต่เราสามารถพัฒนาความสามารถในการปกป้องและรักษาปัญหาสุขภาพต่างๆ ก่อนที่จะส่งผลต่อชีวิตได้ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางการแพทย์ในการวิเคราะห์พันธุกรรม ทำให้เราทราบถึงสถานะสุขภาพและสามารถวางแผนรับมือกับโรคภัยที่จะเกิดขึ้นได้” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพ.พันธ์ศักดิ์ ศุกระฤกษ์ ผู้อำนวยการด้านการแพทย์ ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ ในเครือโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวและเปิดเผยว่า

ดัชนีการมีอายุยืนยาว (The Longevity Index™)
ด้วยโปรแกรมดัชนีการมีอายุยืนยาวของไวทัลไลฟ์ ทำให้คนเราสามารถลดหรือกำจัดปัจจัยเสี่ยงด้วยการระบุสภาวะเสี่ยงต่อโรคและการรักษาตามแผนสุขภาพเฉพาะบุคคลซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน

ส่วนแรกเกี่ยวข้องกับการสร้างดัชนีการมีอายุยืนยาวให้ผู้ป่วยซึ่งได้จากการทดสอบทางห้องแล็ป และการตรวจร่างกายรวมทั้งการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับไลฟ์สไตล์และความฟิตของร่างกายและจิตใจอันเป็นตัวแปรสำคัญในการชี้วัดจุดอ่อนและจุดแข็งในการที่จะมีชีวิตที่ยืนยาวและมีสุขภาพดี

ส่วนที่สองคือการพัฒนาแผนสุขภาพเฉพาะบุคคลเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับจุดอ่อนของร่างกาย ด้วยแผนการรักษาทางการแพทย์แบบบูรณาการทั้งการแนะนำการใช้ชีวิต การดูแลด้านอาหาร รวมทั้งยาและสารอาหารเสริมต่างๆที่สกัดจากธรรมชาติ

Young

ตัวชี้วัดด้านฮอร์โมน (Hormone Index)
เมื่อเราอายุมากขึ้นสมดุลฮอร์โมนจะเสียไปด้วยปัจจัยด้านอายุและการใช้ชีวิต เช่น ความเครียด โรคภัยไข้เจ็บ รวมทั้งอาหารที่ไม่เหมาะสม (การขาดสมดุลฮอร์โมนเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยตามอายุ ทั้งการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ ไขมันสะสมมากขึ้น โรคหัวใจและหลอดเลือด กระดูกพรุน ความบกพร่องทางการเรียนรู้ และโรคมะเร็ง)

สมดุลฮอร์โมนจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการมีสุขภาพดีและอ่อนเยาว์ ซึ่งตัวชี้วัดด้านฮอร์โมนจะเป็นตัวบอกว่าร่างกายรับมือกับกระบวนการแก่ชราได้ดีแค่ไหน

ตัวชี้วัดจากความดันโลหิต (Blood Pressure Index )
การเฝ้าระวังระดับความดันโลหิตเป็นสิ่งสำคัญเพื่อสุขภาพที่ดี หลายคนมีค่าความดันโลหิตสูงกว่าปกติและอยู่ในระดับที่เป็นอันตราย ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวและโรคหลอดเลือดสมอง

ตัวชี้วัดด้านคาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate Index)

ปัจจุบัน ผู้คนมักรับประทานน้ำตาลและแป้งในปริมาณมากซึ่งมีอยู่ในอาหารต่างๆ อันเป็นปัจจัยกระตุ้นทางการแพทย์ทำให้เกิดการอุดตันในหลอดเลือดแดง โรคอ้วนและโรคเบาหวาน ตัวชี้วัดด้านคาร์โบไฮเดรตจะช่วยในการลดน้ำหนัก ลดการทำงานของเซลล์ในการผลิตอินซูลินที่มากเกินไปทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตอยู่ในระดับปกติ

ตัวชี้วัดด้านความเครียด (Stress Index)
ตัวชี้วัดด้านความเครียดจะบอกว่าคุณมีความเครียดมากน้อยเพียงใดตลอดจนการรับมือกับความเครียด เพราะแต่ละคนมีความสามารถในการจัดการความเครียดได้ไม่เท่ากัน คะแนนความเครียดจะบ่งบอกระดับความจำเป็นในการลดระดับความเครียด โดยการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต พักผ่อนให้มากขึ้น ออกกำลังกาย และปรับการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ

1294425341-blue-valentine-420x0

ตัวชี้วัดด้านการดำเนินชีวิต (Lifestyle Index)
การสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ส่งผลเสียอย่างมากต่อสุขภาพและการมีอายุยืนยาว จึงควรเลิกสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์เพียงเล็กน้อยในปริมาณที่เหมาะสมเท่านั้น โดยปริมาณที่เหมาะสมของแต่ละคนจะแตกต่างกันออกไป ซึ่งตัวชี้วัดด้านการดำเนินชีวิตจะบ่งบอกสิ่งที่เหมาะสมสำหรับร่างกายแต่ละคน

ตัวชี้วัดด้านการดำเนินชีวิต (Lifestyle Index)
การสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ส่งผลเสียอย่างมากต่อสุขภาพและการมีอายุยืนยาว จึงควรเลิกสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์เพียงเล็กน้อยในปริมาณที่เหมาะสมเท่านั้น โดยปริมาณที่เหมาะสมของแต่ละคนจะแตกต่างกันออกไป ซึ่งตัวชี้วัดด้านการดำเนินชีวิตจะบ่งบอกสิ่งที่เหมาะสมสำหรับร่างกายแต่ละคน

ตัวชี้วัดด้านปริมาณและชนิดของไขมัน (Cholesterol Index)
ตัวชี้วัดด้านปริมาณและชนิดของไขมันจะประเมินสัดส่วนของไขมันชนิดดี HDL ซึ่งเป็นประโยชน์ช่วยให้เยื่อหุ้มเซลล์ทำงานเป็นปกติและเป็นส่วนประกอบในการผลิตฮอร์โมนที่สำคัญจ่อสุขภาพหลายชนิด ทั้งฮอร์โมนเอสโตรเจน โปรเจสเตอโรน เทสโทสเตอโรน และคอร์ติโซน กับไขมันเลวหรือ LDL ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกาย

ระดับไขมันเลว LDL ในกระแสเลือดที่สูงเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้ไขมันเกาะที่ผนังหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งแพทย์จะแนะนำให้หยุดบริโภคอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น เนื้อแดง ผลิตภัณฑ์นม จัดการกับความเครียด เพราะฮอร์โมนคอร์ติซอลจะกระตุ้นให้ร่างกายผลิตไขมันเพิ่มขึ้น

ตัวชี้วัดด้านสมรรถภาพของร่างกาย (Fitness Index)
ร่างกายมนุษย์ได้รับการออกแบบมาให้เคลื่อนไหว เห็นได้ว่าเมื่อหลายพันปีก่อนมนุษย์ต้องออกล่าเพื่อหาอาหาร โยกย้ายเพื่อหาที่กำบังและอากาศที่อบอุ่น

ปัจจุบันคนเราออกกำลังกายและเคลื่อนไหวน้อยเกินไป ตัวชี้วัดด้านสมรรถภาพของร่างกายจะทำให้ทราบถึงสมรรถภาพร่างกาย ทั้งความสมดุล ความแข็งแกร่ง ปฏิกิริยาตอบสนองและตัวชี้วัดอื่นๆของแต่ละคน

ตัวชี้วัดด้านการอักเสบ (Inflammation Index)

การอักเสบเรื้อรังเป็นสารพิษที่สะสมในร่างกายแบบค่อยเป็นค่อยไปอันนำไปสู่โรคร้ายแรง เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ และโรคร้ายแรงอื่น ๆ การตรวจภาวะอักเสบจะบ่งบอกถึงกระบวนการเมธิลเลชั่น (methylation) ด้วย ซึ่งเป็นกลไกควบคุมการขนส่งโมเลกุลเล็กๆ ของคาร์บอนและไฮโดรเจน ในกระบวนการซ่อมแซมร่างกาย หากกระบวนการเมธิลเลชั่นทำงานไม่สมบูรณ์จะทำให้เกิดการอักเสบต่อเนื่อง

ด้วยเครื่องมือการวิเคราะห์ที่ครบถ้วนและบูรณาการและการรักษาทางการแพทย์ล่าสุด โปรแกรมดัชนีการมีอายุยืนยาวช่วยให้ทุกคนเข้าใจสภาวะสุขภาพตลอดจนแผนการรักษาส่วนบุคคลเพื่อสุขภาวะที่ดีและโอกาสที่ดีที่สุดในการมีชีวิตยืนยาวและสุขภาพดีตราบนานเท่านานเท่าที่จะเป็นไปได้

ขอขอบคุณความรู้จาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพ.พันธ์ศักดิ์ ศุกระฤกษ์ ผู้อำนวยการด้านการแพทย์ ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ ในเครือโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

Dr. Pansak

Thanks to images from http://chicagoweddingblog.com/wp-content/uploads/2014/05/happy-man-having-a-phone-call.jpg
http://static.squarespace.com/static/4f34530ecb12e336a9dfe29c/t/5308c214e4b0dbc78d1470fe/1393082901448/YoungWomanOlderManOnBeach-850×567.jpg
http://www.teluguone.com/tonecmsuserfiles/The%20Secret%20To%20A%20Happy%20Life%20Joke%281%29.jpg
http://www.chicagoreader.com/images/blogimages/2011/01/07/1294425341-blue-valentine-420×0.jpg

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับข่าวประชาสัมพันธ์โปรดติดต่อ
พิชชาภา รัชชนันท์ หรือ ปุญญาณี ถึงอินทร์
เกรลิ่ง (ไทยแลนด์) โทร 02-635-7151-2 แฟกซ์ 02-635-7155
อีเมล: pitchapa@grayling.com

Related contents:

You may also like...