การแข่งขันโปโลช้างการกุศลสร้างประโยชน์อันยิ่งใหญ่

Mercedes vs Bangkok Bank in the finals

ตั้งแต่เริ่มการแข่งขันในปีพ.ศ. 2544 การแข่งขันโปโลช้างชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้สร้างชื่อเสียงในการเป็นกิจกรรมเพื่อการกุศล ที่ดึงดูดผู้ชมจำนวนมากจากทั่วทุกมุมโลกที่มีความสนใจประสบการณ์ที่เกี่ยวกับช้างไทยอันมีเอกลักษณ์

สวัสดิภาพของช้างที่ร่วมในการแข่งขันโปโลเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด จึงได้มีการรักษากฎระเบียบที่ใช้การแข่งขันอย่างเข้มงวดเพื่อให้มั่นใจว่าช้างทุกตัวได้รับการดูแลอย่างดีที่ อนันตราให้ความมั่นใจว่าช้างเหล่านี้ไม่ได้ถูกลักลอบนำออกมาจากป่าหรือประเทศเพื่อนบ้าน โดยการจัดเก็บดีเอ็นเอและติดตั้งไมโคชิพสำหรับช้างทุกตัวอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และห้ามช้างที่ไม่มีไมโครชิพลงแข่งขัน

ช้างที่ได้รับการคัดเลือกจะต้องเป็นช้างหนุ่มสาวอายุไม่เกิน 20 ปี เนื่องจากเป็นวัยที่ชอบทำกิจกรรม เล่นกีฬาและมีขนาดตัวใหญ่แข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักผู้เล่นได้อย่างง่ายดาย

ช้างทุกเชือกได้รับการอนุญาตให้ร่วมแข่งขันเพียง 30 นาที ต่อวัน และใช้เวลาในอย่างน้อย 90 นาทีเพื่อพักผ่อนในป่าธรรมชาติ อาบน้ำ และยังมีการให้อาหารที่มีประโยชน์ทุกๆ 14 นาที ของการแข่งขัน ธรรมชาติของเกม ทำให้ช้างได้ออกกำลังกาย 14 นาที และได้พัก 15 นาทีระหว่างการแข่งขันสองรอบ

Mehkong Whiskey's Cindy Bishop battles with Mercedes  Oliver Winter

อนันตราได้ช่วยเหลือช้างเร่ร่อนกว่า 30 เชือก ให้มีที่พักพิงอย่างสบาย ณ แคมป์ช้าง อนันตรา สามเหลี่ยมทองคำ แคมป์ช้าง แอนด์ รีสอร์ท และช้างเร่ร่อนอีกกว่า 50 เชือก ได้ออกจากท้องถนนเพื่อมาร่วมในการแข่งขันนี้เป็นเวลา 2 สัปดาห์ โดยระหว่างการเข้าร่วมกิจกรรมช้างทุกเชือกได้รับอาหารที่เหมาะสมและมีประโยชน์ ได้พักผ่อนในสภาพแวดล้อมที่ดีตามธรรมชาติ และยังเป็นโอกาสเดียวที่ช้างเหล่านี้จะได้รับการตรวจเช็คสุขภาพประจำปี รับวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกาย โดยการดูแลอย่างใกล้ชิดจากสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอีกด้วย

ชีวิตบนท้องถนนนับเป็นเรื่องโหดร้ายสำหรับช้าง ช้างเหล่านี้ต้องเดินผ่านย่านท่องเที่ยวที่แออัดและถนนที่วุ่นวายกว่า 10 ชั่วโมงในแต่ละคืน ถูกบังคับให้พักในตอนกลางวันบนพื้นที่สีแคบๆกลางเมืองอย่างไม่มีทางเลือก บ่อยครั้งที่ปราศจากร่มเงาหรือน้ำดื่ม โปรแกรมการแข่งขันโปโลช้างจึงนี้ถูกออกแบบมาเพื่อให้ช้างเหล่านี้ได้พักผ่อนและผ่อนคลายอย่างเต็มที่ในแบบพวกเค้าไม่เคยได้รับในชีวิตประจำวัน
อนันตราให้การรับรองว่าช้างทุกตัวได้รับการปฏิบัติอย่างดีเฉกเช่นเดียวกับแขกของโรงแรม ซึ่งการแข่งขันโปโลช้างมีบทบาทสำคัญในการช่วยระดมทุนเพื่อช่วยเหลือช้างไทย โดยมีมูลนิธิช้างเอเชีย สามเหลี่ยมทองคำ (Golden Triangle Asian Elephant Foundation – GTAEF) ซึ่งองค์กรการกุศลในเครืออนันตรา เป็นผู้ดูแลหน้าที่อันสำคัญยิ่งนี้

จวบจนปัจจุบัน อนันตราสามารถระดมเงินได้แล้วกว่า 750,000 ดอลลาร์สหรัฐ จากผู้ร่วมการแข่งขันและผู้ร่วมงานประมูลการกุศลทุกท่าน โดยรายได้จำนวนนี้ได้ถูกใช้เพื่อช่วยเหลือเรื่องที่พักสำหรับช้างไทย รวมถึงที่พักอาศัยสำหรับควาญช้างและครอบครัว ซื้อเครื่องหมุนเหวี่ยงเลือดเคลื่อนที่ และรถพยาบาลสำหรับช้างที่ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย (Thai Elephant Conservation Centre – TECC)

ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2552 รายได้จากการแข่งขันถูกนำไปใช้เพื่อสนับสนุนโครงการช้างบำบัดเพื่อช่วยฟื้นฟูเด็กออทิสติกแห่งแรกของโลก โครงการช้างบำบัด โดยความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Thai Elephant Therapy Project – TETP) ซึ่งทำให้ช้างเร่ร่อน 5 เชือก ได้ออกจากถนนมาร่วมโครงการและรับการฝึกอบรมเพื่อเป็นผู้ช่วยของนักบำบัดสำหรับเด็กออทิสติก ปัจจุบันโครงการนี้ให้การรักษาดูแลเด็กออทิสติกในประเทศไทยโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ

นอกจากนั้น รายได้เหล่านี้ยังใช้ในการสร้างโรงพยาบาลช้างแห่งแรกและแห่งเดียวในจังหวัดกระบี่ บริจาคเพื่อใช้ในการวิจัยและปลูกแนวต้นไม้เพื่อเป็นรั้วแบ่งที่ช่วยลดทอนความขัดแย้งระหว่างช้างและชาวนาชาวไร่ในกุยบุรี สนับสนุนโครงการคอมพิวเตอร์แอปปลิเคชั่นเพื่อการศึกษาที่จัดทำขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อสอนเด็กๆ ถึงความสำคัญของการอนุรักษ์และคุ้มครองช้างป่าในประเทศไทย และเป็นทุนในการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติครั้งแรกในเอเชีย เพื่อสอนถึงประโยชน์ของการฝึกช้างบ้านด้วยวิธีเชิงบวกให้กับควาญช้างและเจ้าของปางช้างอีกด้วย

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.anantara.com และ www.anantaraelephantpolo.com

Miss Tiffany's Ladyboy team - a crowd favourite

Related contents:

You may also like...