Harmonia Macrocosmica

ALS_421_032_Blue_Moon_2014_a4

ในภาษาอังกฤษคำว่าพระจันทร์สีน้ำเงิน นั้นหมายถึงพระจันทร์เต็มดวงครั้งที่ 2 ในรอบเดือนปฏิทิน ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้ยาก โดยเฉลี่ยแล้วจะเกิดขึ้นเพียงทุกๆสองปีครึ่งเท่านั้น นาฬิกาจักรกลแสดงข้างขึ้นข้างแรมส่วนใหญ่จึงจำเป็นต้องได้รับการปรับตั้งให้ถูกต้องไปหนึ่งวัน ณ เวลาที่ “เกิดปรากฏการณ์พระจันทร์สีน้ำเงิน” นี้ และเพื่อให้ง่ายยิ่งขึ้น นาฬิกาเหล่านี้จึงสร้างช่วงระยะเวลาระหว่างจันทร์ดับสองดวงให้เหลือลงเพียง 29.5 วัน แม้ว่าแท้จริงแล้วจะมีระยะเวลาห่างกันกว่านั้นอีก 44 นาที 3 วินาที

เผยโฉมเรือนเวลาทั้งห้าเรือนพร้อมด้วยการแสดงข้างขึ้นข้างแรม ณ เบื้องหน้าของเหล่าภาพแผนภูมิดวงดาวอันน่าประทับใจจาก Harmonia Macrocosmica โดย Andreas Cellarius

ALS_180_032_Blue_Moon_2014_02_a4

ความน่าหลงใหลที่เกิดขึ้นบนทั้งสองด้าน ภายใน ริชาร์ด ลังเงอ เพอร์เพทชวล คาเลนดาร์ “แทราลูนา” ด้วยการแสดงวิถีการโคจรและข้างขึ้นข้างแรมของดวงจันทร์ไว้บนด้านหน้าของภาพแผนที่ท้องฟ้าที่รังสรรค์ขึ้นโดย แอนเดรอัส เซลลาริอุส

นาฬิกาแสดงข้างขึ้นข้างแรมของ เอ.ลังเงอ แอนด์ โซเนอ นั้นมีความเที่ยงตรงแม่นยำกว่ามาก โดยส่วนใหญ่แล้วเป็นการแสดงเดือนจันทรคติขึ้นมาใหม่ ด้วยความแม่นยำถึง 99.998 เปอร์เซ็นต์ เช่นในรุ่นใหม่ของ GRAND LANGE 1 MOON PHASE ที่เป็นตัวอย่างหนึ่งซึ่งการแสดงข้างขึ้นข้างแรมของนาฬิกาเรือนนี้จำเป็นต้องได้รับการปรับตั้งเพียงหนึ่งวันในทุกๆ 122.6 ปีเท่านั้น กระนั้น นักพัฒนานาฬิกาของ ลังเงอ ยังได้สาธิตถึงความเที่ยงตรงนี้ให้ยิ่งเปี่ยมเสน่ห์มากขึ้น ด้วยการแสดงข้างขึ้นข้างแรมในรูปแบบการโคจรที่ปรากฏในรุ่นRICHARD LANGE PERPETUAL CALENDAR “Terraluna” ที่เปิดตัวในปีนี้ ซึ่งผ่านการคำนวณด้วยความเที่ยงตรงแม่นยำสูง ด้วยความคลาดเคลื่อนเพียงแค่หนึ่งวันในระยะเวลาถึง 1,058 ปี นอกจากนี้ยังถ่ายทอดการโคจรของดวงจันทร์ที่สัมพันธ์กับโลกและดวงอาทิตย์ได้อย่างน่าชม

นับจากปี 1994 โรงงานการผลิตแห่งนี้ได้พัฒนากลไกด้วยการแสดงข้างขึ้นข้างแรมมากถึง 15 คาลิเบอร์ และเรือนเวลาห้ารุ่น จากคอลเลคชั่น ณ ปัจจุบัน ซึ่งมาพร้อมคุณสมบัติของการแสดงข้างขึ้นข้างแรมบวกกับความสลับซับซ้อนอื่นๆ นี้ได้ถูกนำมาถ่ายภาพคู่กับภาพพื้นหลังอันน่าหลงใหล: นั่นคือ ภาพวาดถ่ายทอดเรื่องราวของจักรวาลอันยิ่งใหญ่จาก “ฮาร์โมเนีย แมโครคอสมิคา” ที่ได้สร้างเป็นเวทีให้กับเรือนเวลาอันเที่ยงตรงแม่นยำสูงเหล่านี้ โดยภาพพื้นหลังทั้งหมดล้วนมาจากแผนที่ท้องฟ้าอันโดดเด่นที่รังสรรค์ขึ้นโดยนักคณิตศาสตร์และนักเขียนแผนที่ชาวเยอรมัน-ดัตช์ แอนเดรอัส เซลลาริอุส ในปี 1660* ภาพมิตินี้ยังย้ำถึงความเชื่อมโยงระหว่างดาราศาสตร์และศาสตร์แห่งเครื่องบอกเวลา: ภายใต้เรือนเวลาที่มาพร้อมกับความสลับซับซ้อนทางดาราศาสตร์ที่เหล่าช่างนาฬิกาต่างก็พยายามที่จะจำลองและถ่ายทอดการเคลื่อนตัวของเหล่าองค์ประกอบและดาวเคราะห์ต่างๆ บนท้องฟ้าให้มีความเที่ยงตรงแม่นยำสูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ จากมุมมองของทุกวันนี้ ภาพแสดงแผนที่ท้องฟ้าของ เซลลาริอุส ได้สร้างความชัดเจนให้กับการมองและความเข้าใจเกี่ยวกับโลกของเราที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดสองสหัสวรรษที่ผ่านมา วิวัฒนาการมาจากแนวคิดเรื่องโลกเป็นศูนย์กลางจักรวาลตามทฤษฎีของ Ptolemy สู่แนวคิด ณ ปัจจุบันของจักรวาลที่แผ่ขยายออกไป

ALS_410_032_Blue_Moon_2014_a4

Related contents:

You may also like...