กลุ่มอาชีพที่เสี่ยงต่อการเป็นนิ้วล็อค

thumbpain

อยู่ดีๆนิ้วก็เกิดอาการกระตุกขึ้นมา กำมืองอนิ้วได้ แต่เวลาเหยียดนิ้วออก นิ้วใดนิ้วหนึ่งเกิดเหยียดไม่ออกเหมือนโดนล็อคไว้ จึงเป็นที่มาของคำว่า “นิ้วล็อค”

นิ้วล็อค ถ้าเรียกกันให้ถูกต้องแล้วโรคนี้ต้องเรียกว่า “โรคนิ้วเหนี่ยวไกปืน” ภาษาอังกฤษเรียกว่า “Trigger Finger” เป็นโรคที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูก ซึ่งเป็นโรคที่พบได้บ่อยกับทุกเพศทุกวัย แต่จะส่วนใหญ่จะพบได้มากในกลุ่มคนวัยทำงาน โรคนี้ไม่ได้เกิดอันตรายถึงชีวิต แต่หากใครก็ตามที่เป็นโรคนี้แล้วมือของคุณจะไม่สามารถกลับมาใช้งานได้เต็ม 100 % เพราะจะทั้งเจ็บปวด ทั้งน่ารำคาญ ไม่สามารถหยิบจับอะไรได้สะดวก แถมต้องระมัดระวังเป็นพิเศษเพื่อจะได้ไม่เกิดการผิดพลาดในการหยิบจับ ส่วนสาเหตุของการเกิดนิ้วล็อคนั้นก็จะมาจากการทำงานที่ต้องใช้นิ้วซ้ำๆกันบ่อยๆทำให้นิ้วเกิดการเกร็ง ซึ่งจะทำให้ปลอกหุ้มเอ็นอักเสบจนสุดท้ายก็นำไปสู่การเป็นภาวะนิ้วล็อคได้

ในแต่ละกิจกรรมจะใช้งานแต่ละนิ้วไม่เหมือนกัน จึงทำให้เกิดนิ้วล็อคที่ตำแหน่งนิ้วต่างกันด้วย เช่น อาชีพครู หรือนักบริหาร มักเป็นนิ้วล็อคที่ นิ้วโป้งขวา เพราะใช้เขียนหนังสือมาก และใช้นิ้วโป้งกดปากกานานๆ ส่วนแม่บ้านซักบิดผ้า มักเป็นที่นิ้วชี้ซ้ายและขวา แต่ทั้งนี้ภาวะดังกล่าวไม่มีอันตรายใดๆ เพียงแต่ให้ความรู้สึกเจ็บปวดและใช้มือได้ไม่ถนัด เป็นโรคที่สามารถป้องกัน และรักษาให้หายได้ ถ้ารู้จักวิธีดูแลตนเองอย่างถูกต้อง

ในระยะแรกจะมีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วมือ กำมือไม่ถนัด หรือกำได้ไม่เต็มที่โดยเฉพาะตอนเช้าหลังตื่นนอน พอใช้มือไปสักพักก็จะกำมือได้ดีขึ้น เวลางอที่จะเหยียดนิ้วมือมักจะได้ยินเสียงดังกึก ต่อมาจะมีอาการนิ้วล็อค คือ เวลางอนิ้วจะเหยียดขึ้นเองไม่ได้ มักเกิดกับมือข้างถนัดที่ใช้งาน ซึ่งอาจเป็นเพียงนิ้วเดียว หรือเป็นพร้อมกันหลายนิ้วก็ได้ บางรายอาจรุนแรงถึงนิ้วบวมชา ติดแข็งจนใช้งานไม่ได้
อาชีพที่เสี่ยงต่นิ้วล็อค มีดังนี้

นักกอล์ฟ (Golfer)

นักกอล์ฟส่วนใหญ่จะพบว่าตัวเองมีอาการเป็นนิ้วล็อค สาเหตุก็เพราะนักกอล์ฟที่ตีกอล์ฟ และทำการฝึกซ้อมมากๆเป็นเวลานานๆ การเกร็งมือจับไม้กอล์ฟไว้แน่นๆ การออกแรงสวิงมากเกินไปและการหวดวงสวิงซ้อมติดต่อกันทุกๆวัน ปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลทำให้เกิดการอักเสบของปลอกหุ้มเอ็นที่ข้อนิ้วมือ ส่วนอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดนิ้วล็อคก็คือ การเลือกไม้กอล์ฟที่หนักเกินกำลังของวงแขนและมือ โดยส่วนใหญ่ท่านนักกอล์ฟจะเลือกไม้ที่มีความหนัก เช่น ไม้กอล์ฟก้านเหล็กที่ความแข็งของก้านตั้งแต่ 5.5 – 6.5 ขึ้นไป เพื่อหวังระยะในการตีแต่ละครั้ง ทุกครั้งที่หวดซ้อมลูกและโดนลูกไม่เต็มใบ แรงสั่นหรือแรงช็อคของไม้จะส่งถึงมือและข้อนิ้วโดยตรงเป็นเหตุให้เกิดโรคนิ้วล็อคในระยะยาว

หมอนวดแผนโบราณ (Massaur)

นวดแผนโบราณเป็นอาชีพที่ต้องใช้กำลังจากนิ้วมืออย่างมากที่สุด คนที่จะทำการนวดได้จะต้องเป็นคนที่มีพลังจากแรงกดของมือค่อนข้างหนักมากโดยเฉพาะนิ้วหัวแม่โป้ง ข้อนิ้วมือแรกและหลังข้อนิ้วที่สอง เพราะต้องใช้นิ้วเหล่านี้ทำการกดบีบ ตัดเส้นให้กับลูกค้าที่มีอาการเส้นตึงทั้งหลาย โดยเฉพาะการนวดเท้าซึ่งผู้ที่มีเท้าแข็งและหนา คนที่นวดจึงต้องออกแรงใช้นิ้วมือนวดอย่างมาก แม้ว่าจะมีไม้นวดเท้าออกมาช่วย แต่อาชีพนวดแผนโบราณนั้น ก็ยังคงเสี่ยงต่อการเกิดนิ้วล็อคอยู่ดี เพราะไม่ใช่แค่ส่วนเท้าอย่างเดียวที่ต้องนวด แต่หมายถึงทั้งร่างกายตั้งแต่หัวจรดเท้าที่มือต้องทำหน้าที่บีบนวดคลายเส้น

ช่าง (Craftsman, Mechanic)
อาชีพช่างนั้นมีความจำเป็นที่จะต้องใช้มืออย่างหนัก เพราะต้องอยู่กับเครื่องมือที่ต้องใช้แรง โดยเฉพาะงานอย่างช่างฝีมือหรือช่างเครื่องที่วันๆต้องอยู่กับไขควง ประแจ สิ่ว กบไสไม้ ขวานหรือค้อนต่างๆ ยิ่งงานใดที่ต้องการความประณีตละเอียดอ่อน ยิ่งทำให้มือต้องใช้งานหนักมากยิ่งชึ้น ซึ่งนั่นก็หมายถึงความเสียหายที่มือจะต้องได้รับนั่นเอง ยิ่งใช้งานอย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆโดยไม่มีการพักก็จะทำให้เกิดอาการนิ้วล็อคขึ้นได้

นักยูโด (Judo, Jujitsu)
นักยูโดก็เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ต้องฝึกฝนกำลังข้อมือกำลังแขน และกำลังนิ้วเป็นอย่างมาก เพื่อที่จะได้มีความแข็งแรงมากพอที่จะจับคู่ต่อสู้ทุ่มลงไปนอนกับพื้นได้ ซึ่งนักยูโคต้องใช้มือกำตรงชายเสื้อชุดยูโด (กิ) แล้วฉุดกระชากดึงในท่วงท่าที่หลากหลายรูปแบบเพื่อให้คู่ต่อสู้เสียหลัก ซึ่งบางครั้งคู่ต่อสู้บิดตัวทำให้ชายเสื้อม้วนรัดที่กำปั้นและข้อมือ ซึ่งทำให้เกิดอาการบาดเจ็บได้ กีฬายูโดเป็นกีฬาที่ต้องใช้กำลังนิ้วติดต่อกับเป็นเวลานานไม่ว่าจะเป็นใน เวลาแข่งหรือในเวลาซ้อม อีกทั้งนักยูโดจะฝึกกำลังนิ้ว ด้วยการนำเอายางในจักรยานมาผูกเข้ากับเสา แล้วดึงขึ้นลงอยู่ตลอดทำให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคนิ้วล็อคได้มากกว่าอาชีพอื่น

แม่บ้าน (Housewife)
อาชีพแม่บ้านเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นนิ้วล็อค ซึ่งหากเราดูกันอย่างผิวเผินแล้วจะคิดว่าอาชีพนี้ไม่น่าจะเกิดอันตรายกับ นิ้วมือได้ แต่คุณอย่าลืมว่าอาชีพแม่บ้านนั้น งานหลักที่ต้องทำคือทำงานในบ้าน ไม่ว่าจะทำกับข้าว จ่ายตลาด ทำความสะอาดบ้าน แต่ในทุกรายละเอียดของการทำงานนั้นเต็มไปด้วยสภาวะที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค นิ้วล็อคไดเทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นตอนที่หิ้วตะกร้าหรือหิ้วถุงเดินตลาด การทำกับข้าวที่ต้องใช้แรงผัด แรงกวน หรือการซักผ้า บิดผ้า ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่จะเกิดนิ้วล็อคได้ทั้งสิ้นตลอดเวลาในการทำงาน ที่สำคัญอาชีพแม่บ้านนั้นไม่เคยมีวันหยุด จะต้องทำซ้ำๆ แบบนั้นอยู่ทุกๆวัน ปัจจุบันนี้จึงจะพบว่าแม่บ้านเป็นจำนวนมาก ที่จะป่วยเป็นโรคนิ้วล็อคอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก

อาการที่เกิดขึ้นกับมือและข้อมือที่กล่าวมานี้ แต่หากยังใช้งานมากเกินไปในทุกๆวันก็จะยิ่งเจ็บปวดมากจนถึงขั้นต้องรักษาด้วยการฉีดยาหรืออาจถึงขั้นที่จะต้องทำการผ่าตัดในที่สุด ดังนั้นผู้ที่เริ่มมีอาการควรลดการใช้งานของ iphone หากมีอาการเจ็บที่ปลายนิ้วมือตรงข้อต่อแสดงว่าใช้งานมากไป ควรลดลงหรือปรับเปลี่ยนท่าใช้งานและควรมีการป้องกันเบื้องต้นด้วยวิธี ยืดเหยียดมืออยู่เสมอ ยืดนิ้วมือหรือข้อมือและประสานมือเหยียดออกไป หากมีเวลาควรจะเอามือไปแช่ในน้ำอุ่นเพื่อทำให้มือรู้สึกผ่อนคลายบ้าง เพื่อเป็นการช่วยบรรเทาอาการดังกล่าว

ทั้งนี้โทรศัพท์มือถือซึ่งนิยมใช้กันในกลุ่มวัยรุ่นและกลุ่มคนวัยทำงาน โดยส่วนใหญ่นิยมใช้สื่อสารด้วยโปรแกรม Chat ที่สามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลาและใช้ได้บ่อยครั้งตามที่ต้องการ

ขอขอบคุณความรู้จาก นพ.ธีรวัฒน์ กุลทนันทน์

คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล

Related contents:

You may also like...