ภัยเงียบที่ยังถูกมองข้าม “หลับไม่สนิทจริง…เสี่ยงเป็นโรคร้ายแรง” คุณเคยฉุกคิดและตั้งคำถามกับตนเองบ้างหรือไม่ว่าการนอนหลับของคุณนั้นเป็นการนอนหลับที่สนิทดีมีคุณภาพจริงหรือไม่? เพราะแม้ว่าคุณจะสามารถนอนหลับได้ครบ 8 ชั่วโมง ตามคำแนะนำของแพทย์แต่หากแท้จริงแล้วคุณอาจไม่รู้ว่าการนอนหลับของคุณมีความผิดปกติ คุณอาจไม่ได้นอนหลับสนิทอย่างที่ควรเป็นซึ่งอาจส่งผลกระทบอันตรายต่อสุขภาพของคุณเกิดกว่าที่คาดหมายไว้
ภาวะการนอนหลับผิดปกติ ที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป ได้แก่ โรคนอนไม่หลับ, ภาวะการนอนไม่หลับซึ่งเกิดจากการปรับตัวด้านสภาพเวลาไม่ทัน (เจ็ทแล็ก), การละเมอ (การละเมอเดินระหว่างหลับ, การฝันผวา, การเคลื่อนไหวอย่างรุนแรงระหว่างการฝัน และ การรับประทานอาหารระหว่างหลับ), โรคนอนเกิน (ภาวะนอนไม่พอ และ ภาวะ ไม่สามารถควบคุมการหลับได้) และ โรคนอนหยุดหายใจแบบอุดกั้น (Obstructive Sleep apnea หรือ OSA) ทั้งนี้แม้ว่าภาวะการนอนหลับผิดปกติ เป็นสิ่งที่สามารถป้องกันและรักษาได้ แต่มีไม่ถึง 1 ใน 3 ของมีกลุ่มผู้ที่มีปัญหาการนอนหลับผิดปกติ ที่เลือกปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อจัดการรักษาภาวะดังกล่าว โดยมีการประมาณการว่า มีประชากรหลายล้านคนทั่วโลกที่กำลังเผชิญอยู่กับภาวะการนอนหลับผิดปกติเรื้อรัง
“การศึกษาของฟิลิปส์ระบุว่าผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการนอนหลับมากกว่า 2 ใน 3 ไม่รู้ว่าตัวเองมีปัญหาด้านการนอน ด้วยปัจจุบัน เราพบว่าคนไทยมีรูปแบบการใช้ชีวิตที่ซับซ้อนมากกว่าสมัยก่อน กิจกรรมต่างๆ ในแต่ละวัน ทั้งหน้าที่การงาน การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย รวมไปถึงการบริหารความเครียด ล้วนส่งผลกระทบต่อการขาดการนอนหลับเต็มอิ่มอย่างมีสุขภาพดีได้ ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ อาทิ ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ภาวะเส้นโลหิตไปเลี้ยงสมองอุดตัน และโรคเบาหวาน ปัญหาด้านการนอนหลับหนึ่งที่สำคัญคือโรคนอนหยุดหายใจแบบอุดกั้น (Obstructive Sleep apnea หรือ OSA) ซึ่งถือเป็นประเด็นที่ยังขาดความตระหนักและความเข้าใจในวงกว้าง ถือเป็นอุปสรรคต่อการมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีที่ไม่ควรละเลย หลายๆ คนไม่ได้ฉุกคิดในส่วนนี้ เพราะสามารถจัดสรรเวลาเข้านอนได้แต่หัวค่ำ แต่กลับไม่ทราบว่าจริงๆ แล้วตนเองนอนหลับไม่สนิท นี่คือความเสี่ยงที่คนส่วนใหญ่ยังคงมองข้าม เพราะพวกเขาไม่รู้ตัว” กล่าวโดย คุณวิโรจน์ วิทยาเวโรจน์ ประธานและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด
มาทำความรู้จัก โรคนอนหยุดหายใจแบบอุดกั้น (Obstructive Sleep apnea หรือ OSA) กัน
ปัจจุบันมีการประเมินว่ามีประชากรกว่า 100 ล้านคนทั่วโลกกำลังเผชิญปัญหาโรคนอนหยุดหายใจแบบอุดกั้น ซึ่งถือเป็นภาวะการนอนหลับผิดปกติที่พบได้มากที่สุด ในกลุ่มภาวะการนอนหลับผิดปกติที่เกิดผลจากระบบหายใจ อาการของโรคนอนหยุดหายใจแบบอุดกั้น คือผู้ป่วยจะหยุดหายใจเป็นระยะระหว่างการหลับเกิดจากช่องหลอดอากาศด้านบนที่หดแคบลงหรือปิดลงระหว่างการนอนหลับ การหยุดหายใจในแต่ละครั้งมีระยะเวลาตั้งแต่ 10 วินาทีขึ้นไป นำไปสู่ระดับออกซิเจนในร่างกายที่ลดลง หากมีการหยุดหายใจในลักษณะดังกล่าวมากกว่า 5 ครั้งใน 1 ชั่วโมง ของการหลับ ถือว่ามีระดับการเป็นโรคนอนหยุดหายใจแบบอุดกั้นที่เด่นชัด โดยผู้ป่วยบางรายอาจมีการหยุดหายใจแบบอุดกั้นได้มากถึง 100 ครั้งต่อชั่วโมงการหลับ ผู้ป่วยโรคดังกล่าวมีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพร้ายแรง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เส้นเลือดอุดตันและเบาหวาน
ลักษณะอาการของโรคนอนหยุดหายใจแบบอุดกั้น คือ นอนกรนเสียงดัง นอนอ้าปากค้างหรือหายใจขัดระหว่างหลับ รู้สึกง่วงอย่างหนักในเวลากลางวัน ปวดหัวในช่วงเช้า ขี้ลืม มีปัญหาทางการเรียนรู้ หงุดหงิดระหว่างวัน ขาดสมาธิในการทำงาน อารมณ์แปรปรวน มีหลายบุคลิกหรือรู้สึกหดหู่ รวมไปถึงมีอาการคอแห้งเมื่อตื่นนอนและเข้าห้องน้ำเบาบ่อยในช่วงกลางคืน
ทางเลือกหนึ่งในการรักษาโรคนอนหยุดหายใจแบบอุดกั้น ได้แก่ การใช้เครื่องเป่าความดันลมเพื่อขยายทางเดินหายใจ หรือ Continuous Positive Airway Pressure (CPAP) ซึ่งจะเป่าความดันลมผ่านจมูก และ/หรือ ปาก ของผู้ป่วยซึ่งสวมหน้ากากระหว่างนอนหลับ ความดันลมดังกล่าวจะป้องกันช่องหลอดอากาศด้านบนไม่ให้หดแคบหรือปิดตัวลง ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถหายใจได้สะดวกตลอดช่วงการนอนหลับ โดยการบำบัดจากภายนอกดังกล่าวจะช่วยบรรเทาอาการของโรคนอนหยุดหายใจแบบอุดกั้นลงได้
อย่างไรก็ดี ทั้งในกลุ่มสาธารณชนและหรือแม้กระทั่งในแวดวงการแพทย์ ยังคงมีระดับความตระหนักและความเข้าใจต่อโรคนอนหยุดหายใจแบบอุดกั้นในระดับต่ำ ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ได้รับการวินิจฉัยหรือรักษาอย่างถูกต้อง ซึ่งอาจนำไปสู่ความเสี่ยงด้านสุขภาพที่ร้ายแรงต่อเนื่องได้ ทั้งนี้มีการประมาณการว่า ค่าใช้จ่ายในการรักษาอาการของผู้ป่วยโรคนอนหยุดหายใจแบบอุดกั้นในประเทศสหรัฐอเมริกาในแต่ละปี นั้นมีมูลค่าสูงถึง 3.4 พันล้านเหรียญ ขณะที่คาดการณ์ว่าผลกระทบต่อเศรษฐกิจที่เกิดจากโรคนอนหยุดหายใจแบบอุดกั้น มีระดับสูงกว่านี้มากโดยเป็นต้นทุนทางอ้อมทั้งจากผลิตภาพการทำงานที่ลดลง อุบัติเหตุและผลจากความพิการ
เริ่มต้นดูแลตัวเองวันนี้…ด้วยการตรวจสอบคุณภาพการนอนหลับของคุณ
14 มีนาคม 2557 ที่ผ่านมา ฟิลิปส์ได้ร่วมฉลองวันนอนหลับโลก (World Sleep Day) ซึ่งริเริ่มขึ้นโดยสมาคมการแพทย์เพื่อการนอนหลับโลก(World Association of Sleep Medicine หรือ WASM) ด้วยการออกแคมเปญ “พลังแห่งการนอนหลับ” หรือ Sleep Powers ชูประเด็น “การนอนหลับที่ดี เพื่อพลังงานเต็มเปี่ยมตลอดวัน” ส่งเสริมให้ประชาชนทั่วโลกตระหนักและเข้าใจถึงความสำคัญและคุณประโยชน์ของการนอนหลับอย่างมีคุณภาพ โดยได้เปิดออนไลน์ควิส “ตรวจคุณภาพพลังแห่งการนอนหลับของคุณ” (คลิก http://www.worldsleepday.respironics.com/files/wsd-sleep-quiz.pdf) เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคสามารถตรวจวัดระดับคุณภาพการนอนหลับของตนได้ด้วยการตอบคำถามง่ายๆเกี่ยวกับนิสัยในการนอนหลับและสุขภาพ โดยผู้บริโภคที่ได้คะแนนคุณภาพการนอนหลับต่ำ จะได้รับลิงก์ “คู่มือตรวจสอบความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนอนหยุดหายใจแบบอุดกั้น (คลิก http://www.worldsleepday.respironics.com/risk-test.html) ซึ่งประกอบด้วยการตอบคำถามเพียงไม่กี่ข้อเช่นกัน
นอกจากนี้ฟิลิปส์ยังนำเสนออินโฟกราฟิก ใน 2 หัวข้อ ได้แก่
- “คู่มือ OSA ที่จะช่วยให้ผู้บริโภครู้จักและเข้าใจโรคนอนหยุดหายใจแบบอุดกั้นมากยิ่งขึ้น (คลิก http://www.worldsleepday.respironics.com/files/sleep-apnea-infographic.pdf ) และ
- “7 เคล็ดลับ เพื่อการพักผ่อนอย่างเต็มอิ่ม และความสดชื่นของคุณเมื่อยามตื่น” (7 Tips to A More Restful & Refreshed You) ส่งเสริมการนอนหลับอย่างมีคุณภาพอันจะส่งผลดีต่อทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย (คลิก http://www.worldsleepday.respironics.com/files/sleep-tips-infographic.pdf)
สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวันนอนหลับโลก ประจำปี 2557 และกิจกรรมส่งเสริมการนอนหลับอย่างมีคุณภาพของฟิลิปส์ได้ที่ www.philips.com/worldsleepday
คุณนรานาฏ พวงกนก
ฝ่ายประชาสัมพันธ์
บริษัท ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด
โทร: +66 2614 3333 #3486
อีเมล: Naranart.Phuangkanok@philips.com