ในสมัยสงครามวอร์ซอร์ (ค.ศ.2410) ถือเป็นเหตุการณ์ทางการเมืองเมื่อรัสเซียมาปกครองโปแลนด์ทำให้ชาวโปแลนด์ถูกกดขี่ขากสหภาพรัสเซีย ค่านิยมในสังคมของผู้หญิงส่วนใหญ่จะต้องเรียนการเป็นแม่บ้าน ในช่วงนั้นเป็นช่วงเป็นเวลาเดียวกันที่ Marie Curie ถือกำเนิดขึ้น เธอเป็นสุภาพสตรีที่มีความสามารถและเป็นนักวิทยาศาสตร์หญิงในยุคแรกของโลก เธอเป็นคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบลในสองสาขาที่ต่างกันและเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกในด้านวิทยาศาสตร์
แน่นอนว่าทุกวันนี้ไม่มีใครไม่รู้จักคำว่า “กัมมันตภาพรังสี(radioactivity)” และคำคำนี้เองเป็นผลงานขึ้นชื่อของเธอ เธอที่ชื่อ Marie Curie ด้วยความที่บิดาเป็นครูสอนวิทยาศาสตร์และมักพาเธอมาที่ห้องแลปเสมอ จึงทำให้เธอสนใจวิชาด้านวิทยาศาสตร์ตั้งแต่เด็ก หลังจบการศึกษาระดับต้นแล้วเธอกับพี่สาวก็ทำงานด้วยการเป็นครูสอนอนุบาล สอนหนังสือให้กับเด็กๆในย่านนั้นโดยทั้งสองมุ่งหวังอยากไปเรียนต่อที่ฝรั่งเศส แต่เงินไม่พอกับค่าใช้จ่าย เธอจึงให้พี่สาว ไปเรียนต่อด้านแพทยศาสตร์ก่อน หลังจากที่พี่สาวเธอจบแล้วจึงค่อยให้พี่สาวเป็นผู้ส่งเสียเธอเรียนต่อด้านวิทยาศาสตร์ต่อไป เรื่อยๆมาเรียงๆเมื่อพี่สาวจบมาเธอก็ได้ไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยปารีสสมใจแต่ด้วยเงินอันน้อยนิดจากพี่สาว ไม่พอต่อค่าใช้จ่ายเธอจึงดิ้นรนหางานทำ จนได้เป็นผู้ช่วยในห้องปฏิบัติการทางเคมี ของ ปิแอร์ กูรี จนทั้งสองแต่งงานมีลูกด้วยกัน แต่ปิแอร์เสียชีวิตก่อนเพราะอุบัติเหตุรถม้าชนระหว่างที่เรียนไปทำงานไป เธอก็มุ่งมั่นศึกษาทดลองไปเรื่อยๆจนมาพบรังสีแร่ธาตุเรเดียม(Radium)โดยได้มาจากแร่พิทช์เบลนที่เป็นออกไซต์ชนิดหนึ่งสามารถแผ่กระจายรังสีได้จากการเพียรพยายามทดลองมาหลายปีในการสกัดแร่ชนิดต่างๆ จนมาพบรังสีดังกล่าวทำให้เธอได้รับปริญญาเอกในการค้นพบแร่ธาตุเรเดียม
ในปี ค.ศ. 1902 เธอก็สามารถสกัดแร่เรเดียมให้บริสุทธิ์ได้ เรียกว่า เรเดียมคลอไรด์ ที่สามารถแผ่รังสีได้มากกว่ายูเรเนียมถึง 2,000,000 เท่า มีคุณสมบัติคือ ให้แสงสว่าง และความร้อนได้ และเมื่อแร่นี้แผ่รังสีไปถูกวัตถุอื่น วัตถุนั้นจะเปลี่ยนสภาพเป็นธาตุกัมมันตรังสี และสามารถแผ่รังสีได้เช่นเดียวกันกับแร่เรเดียม จนทำให้เธอได้รับรางวัลโนเบลในสาขาฟิสิกส์ในฐานะผู้ค้นพบกัมมันตภาพรังสี มารี เป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบลไม่ว่าจะในสาขาไหนก็ตาม และเป็นผู้หญิงคนแรกในยุโรปที่สำเร็จการศึกษาปริญญาเอกในด้านวิทยาศาสตร์ และคงเป็นคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบลและเสนอดุษฎีนิพนธ์ในปีเดียวกัน
เมื่อเวลาผ่านไป มารีก็เริ่มค้นพบว่ากัมมันตภาพรังสีไม่ค่อยดีต่อมนุษย์เท่าไหร่ พวกเขาค้นพบสิ่งนี้จากการทำการทดลองแปลกๆหลายอย่างกับตัวเอง เช่นปิแอร์เคยพยายามเผาแขนตัวเองด้วยเกลือเรเดียม(radium salt) ถึงแม้ว่ามารีจะเป็นคนค้นพบสิ่งเหล่านี้ มันกลับเป็นสิ่งที่ฆ่าเธอ และคงจะเป็นสิ่งที่ฆ่าสามีของเธอเช่นกัน ถ้าเขาไม่ได้ถูกรถม้าทับไปเสียก่อน แต่ ถึงแม้มารีจะรู้ว่ากัมมันตภาพรังสีเป็นสิ่งอันตรายต่อตัวเธอเองและสามี เธอก็ยังศึกษาค้นคว้ามันอยู่ดี อาจจะเพราะด้วยความคิดแปลกๆของเธอเอง เธอเชื่อว่านอกจากกัมมันตภาพรังสีจะฆ่าเซลล์ดีในร่างกายมนุษย์ได้แล้ว หากเธอสามารถหาวิธีแยกมันออกมาได้ มันอาจจะสามารถใช้ฆ่าเซลล์มะเร็งได้ด้วย ถ้าเธอไม่เป็นผู้แยกเรเดียมบริสุทธิ์เพื่อนำมาใช้ช่วยมวลมนุษยชาติแล้วจะมีใครอื่นทำได้อีก
ปี ค.ศ. 1911 มารีก็ได้รับรางวัลโนเบลอีกครั้ง ครั้งนี้ในสาขาเคมีในฐานะผู้ค้นพบธาตุโพโลเนียมและเรเดียม แต่คณะกรรมการโนเบลกลับแนะนำไม่ให้เธอขึ้นรับรางวัลนี้ หลังจากทุกคนพบว่าเธอแอบมีสัมพันธ์กับนักศึกษาปริญญาโทคนหนึ่งของปิแอร์ หลังเขาเสียชีวิตไปแล้ว นั่นเป็นช่วงที่สงครามโลกครั้งที่ 1 กำลังปะทุขึ้น ไม่มีทางที่มารีจะอยู่เฉยๆและไม่ทำตัวให้เป็นประโยชน์ เธอประดิษฐ์เครื่องเอ็กซ์เรย์แบบขนย้ายได้เพื่อช่วยทหารที่บาดเจ็บในสนามรบ การแพทย์ในสนามรบสมัยนั้นล้าหลังมาก แถมตัวเธอเองก็เอาก๊าซกัมมันตรังสีไปด้วยมากพอที่จะฆ่าม้าให้ตายทั้งตัว แต่ก็ช่างมันเถอะ รัฐบาลฝรั่งเศสมอบเหรียญกล้าหาญให้เธอเพื่อขอบคุณการช่วยเหลือของเธอ
ด้านชีวิตส่วนตัว มารีต้องเลี้ยงดูลูกสาวสองคนด้วยตัวเอง นอกจากนี้เธอยังได้รับตำแหน่งต่อจากปิแอร์ในสถาบันซอร์บอนน์ อคาเดมี ในกรุงปารีส และกลายมาเป็นศาสตราจารย์หญิงคนแรกของที่นั่นด้วย แต่ในสมัยนั้น การเป็นหญิงอัจฉริยะไม่ใช่เรื่องง่ายนัก อิทธิพลและความสามารถของเธอทำให้คนรอบข้างมากมายไม่ค่อยสบายใจ
หมองูตายเพราะงู มารีอายุยืนกว่าที่ใครหลายคนคาดกันไว้ทั้งที่อวัยวะทุกส่วนของเธอคงจะเรืองแสงได้เพราะกัมมันตรังสี เธอเสียชีวิตเมื่ออายุได้ 66 ปีด้วยโรคลูคีเมีย แน่นอนว่าเพราะรังสีแกมมาทำอันตรายต่อร่างกายของเธอนั่นเอง
*************************************************************************************************
Story : Kittisak Kandisakunanont
*************************************************************************************************
Thanks to information and images from : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B5_%E0%B8%81%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B8%B5
http://www.clccharter.org/euzine1/images/mariecurieimage.gif
http://rack.1.mshcdn.com/media/ZgkyMDEyLzEyLzA0LzFmL2dvb2dsZWRvb2RsLmNncS5qcGcKcAl0aHVtYgk5NTB4NTM0IwplCWpwZw/8439dfad/b3e/google-doodle-pays-homage-to-marie-curie-9b99796a2f.jpg
http://pulsemagonline.com/wp-content/uploads/2013/01/Marie-Curie.png
http://scimans.blogspot.com/2010/10/marie-curie.html