ความน่าฉงนในพระพุทธอุบัติภูมิ มิใช่ที่อินเดียหรือเนปาล (2)

url5

นับตั้งแต่ ค.ศ.2000 (พ.ศ.2543) มีนักวิชาและกลุ่มผู้ปฏิบัติธรรรม 3 กลุ่ม ได้รับการจุดประกายจากหนังสือ “อ้อยต้นจืดปลายหวานฯ” ของพระธรรมเจดีย์(ปาน)และจากความสงสัยที่มีมายาวนานเกี่ยวกับคติที่ว่าพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในอินเดีย จึงได้เริ่มศึกษาค้นคว้าประวัติพระพุทธศาสนาตามคติเดิมเกี่ยวกับที่ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนาและเผยแผ่ศาสนาขององค์พระศาสดาในช่วงเวลา 80 พรรษา จนเสด็จดับขันธปรินิพพาน ตามเอกสารโบราณหลายฉบับ ได้แก่ 1.พงศาวดารกรุงเก่าฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2. ประกาศเทวดาครั้งสังคายนาพระไตรปิฎกในรัชกาลที่ 1 พ.ศ. 2331 3. หนังสือ “สังคีติยวงศ์” ซึ่งสมเด็จพระวันรัตน์(แก้ว) วัดพระเชตุพนซึ่งเป็นพระอาจารย์ของพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ได้เขียนไว้ใน พ.ศ. 2332 ได้แสดงให้เห็นชัดเจนว่าชมพูทวีปคือดินแดนที่เป็นที่ตั้งของ 5 ประเทศ คือ ไทย ลาว เขมร พม่า และมอญ ชาวสุวรรณภูมิถือคตินี้ มาตั้งแต่บรรพกาล 4.มูลศาสนา 5.ศิลาจารึกวัดศรีชุม 6.คัมภีร์อุรังคธาตุ 7.มหาวงศ์

นับตั้งแต่ที่ Sir Alexander Cunningham เขียนประวัติพระพุทธศาสนาขึ้นใหม่และเผยแพร่ไปทั่วโลกในช่วงพ.ศ.2397-2419 ก่อนหน้าที่เขาจะเสียชีวิต 17 ปี พระพุทธองค์ก็กลายเป็นชาวอินเดียและชมพูทวีปก็กลายเป็นอินเดียไป ทั้งๆที่มีความเชื่อมายาวนานว่าชมพูทวีปคือดินแดนที่เป็นที่ตั้งของไทย ลาว เขมร พม่าและมอญ ก็หาได้มีผู้ใดไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือใครอื่นกล้าที่จะทักท้วงข้อเท็จจริงแต่อย่างใด ไม่อาจด้วยเชื่อว่าเป็นอย่างนั้นจริงหรืออาจเกรงภัยจากการล่าอาณานิคมของอังกฤษก็ได้ เท่านั้นไม่พอชาวไทยบางคนกลับช่วยกระพือและเผยแพร่ความคิดไปให้แพร่หลายออกไป หากไม่มีหลวงพ่อพระธรรมเจดีย์ปานเขียนหนังสือประท้วงไว้ เรื่องก็คงเงียบหายไป

สาระในหนังสือของหลวงพ่อพระธรรมเจดีย์(ปาน)ประกอบกับข้อสงสัยดังกล่าวในตอนต้นคณะผู้วิจัยจึงได้ดำเนินการศึกษาวิจัยในเรื่องขึ้น ในการค้นคว้าพระพุทธอุบัติภูมิ มีคณะผู้วิจัย 4 คณะคือ 1. คณะของศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์และรองศาสตราจารย์ ดร.นิคมทาแดง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2. คณะของอาจารย์ศุภรัตน์ แสงจันทร์และอาจารย์โสภณ วงศ์เทวัน นักปฏิบัติธรรมสายหลวงปู่ทวด 3.คณะของอาจารย์เอกอิสโร วรุณศรี และคณาจารย์จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ลาดกระบัง และ 4.คณะของอาจารย์อาตม ศิโรศิริ นักวิชาการอิสระ โดยมีศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ในฐานะที่เป็นแกนกลางการวิจัยได้ทำหน้าที่ประสานข้อมูลต่างๆและนำมาสรุปเพื่อนำเสนอให้มีการเผยแพร่ความจริงนี้ให้ปรากฏแก่ชาวโลกต่อไป วัตถุประสงค์การวิจัย มี 3 ประการ คือ 1. เพื่อพิสูจน์ว่าชมพูทวีปคือดินแดนสุวรรณภูมิและนำไปสู่การพิสูจน์ว่าพระพุทธอุบัติภูมิอยู่ในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน 2. เพื่อศึกษาร่องรอยการประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา การเผยแผ่ศาสนาและปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และ 3. เพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับสังเวชนียสถานทั้ง 4 คือ สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนาและปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและเมืองต่างๆในพระไตรปิฎก

ขั้นตอนการวิจัย คณะผู้วิจัยแบ่งการวิจัยเป็น 3 คือ 1.เป็นการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) จากพระไตรปิฎกอรรถกถาจารย์ เอกสารโบราณทางพระพุทธศาสนา ศิลาจารึก พงศาวดาร ตำนานและสัมภาษณ์ผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 90 ปี หรือผู้ที่ยังไม่ถูกครอบงำด้วยแนวคิดประวัติพระพุทธศาสนาจากตะวันตกและอินเดีย 2.เป็นการศึกษาภาคสนามโดยเดินทางไปศึกษาแนวลึกตามสถานที่ต่างๆเพื่อหาร่องรอยการประสูติ ตรัสรู้ เผยแผ่ศาสนาและปรินิพพานทั้งในประเทศไทยและใกล้เคียง รวมทั้งในประเทศอินเดียและเนปาล และ 3.เป็นการวิเคราะห์และหาข้อสรุปเพื่อกำหนดสถานที่ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา และปรินิพพาน พร้อมทั่งระบุเมืองต่างๆ จากหลักฐานทางโบราณคดีที่ได้จากการวิจัยระยะที่ 1 และ 2

สรุปการวิจัยเบื้องต้นแม้จะยังไม่มีการสรุปผลการวิจัยอย่างเป็นทางการก็พอสรุปข้อค้นพบตามประเด็นต่างๆ 7 ประเด็น ได้แก่ สภาพภูมิศาสตร์ ขนบธรรมเนียมประเพณีวิถีชีวิต โบราณสถาน สถาปัตยกรรม ภาษา และหลักฐาน/ตำนานไทย

1. สภาพภูมิศาสตร์
สภาพภูมิประเทศของเนปาลในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎก เกี่ยวกับปราสาท 3 ฤดู ช่วงเวลาเข้าพรรษาและระยะทางจากเมืองต่างๆ ตามที่ปรากฏในพระสูตรและตามที่เป็นจริง

1.1 ปราสาท 3 ฤดู ตามพุทธประวัติ เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเจริญวัย พระราชบิดาได้โปรดให้สร้างปราสาท 3 ฤดู คือ ปราสาทฤดูร้อน ปราสาทฤดูฝน และปราสาทฤดูหนาว แต่เมื่อดูที่ตั้งดินแดนที่อ้างว่าเป็นที่ตั้งของกรุงกบิล พัสดุ ในประเทศเนปาลแล้วปรากฏว่าอยู่เหนือเส้นขนานที่ 24 จัดอยู่ในเขต Tropic of Cancer มี 4 ฤดู ประเทศเนปาลตั้งอยู่เชิงเขาหิมาลัยซึ่งโดยทั่วไปจะมีอากาศเย็น ดังนั้นกรุงกบิลพัสดุซึ่งเป็นที่ตั้งของปราสาท 3 ฤดูจึงไม่น่าจะอยู่ในประเทศเนปาล

1.2 ช่วงฤดูเข้าพรรษา ตามพระวินัยกำหนดให้พระอยู่ประจำพรรษา 4 เดือนในช่วงกลางเดือนกรกฎาคมถึง กลางเดือนพฤศจิกายน แต่ในเนปาลและอินเดียตะวันตกจะมีฝนตกในช่วงสั้นคือเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม ดังนั้นการกำหนดช่วงเข้าพรรษาจึงน่าจะไม่ใช่กำหนดให้สอดคล้องกับสภาพภูมิศาสตร์ในเนปาลหรือ อินเดียตะวันตก แต่น่าจะกำหนดให้สอดคล้องกับสภาพภูมิศาสตร์ ในดินแดนสุวรรณภูมิซึ่งเป็นที่ตั้งของไทย ลาว มอญ เขมรในปัจจุบัน เพราะแม้เหตุการณ์จะผ่านไปกว่าสองพันปี ช่วงเวลาเข้าพรรษาก็ยังตรงกับที่บัญญัติไว้ในพระวินัย คือ แรม 1 ค่ำเดือน 8 (กลางเดือนกรกฎาคม) จนถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 (กลางเดือนพฤศจิกายน)

1.3 ระยะทางและทิศทางของเมืองต่างๆ ในพระไตรปิฎกได้มีการกำหนดระยะทางระหว่างเมืองต่างๆไว้ โดยใช้หน่วยเป็นโยชน์ (1 โยชน์=16) เช่นสาวัตถีถึงโกสัมพี 3 โยชน์ สาเกตถึงสาวัตถี 7 โยชน์ เป็นต้น เมื่อพิจารณาระยะทางตามความเป็นจริงหลายกรณี อาทิกรุงพาราณสีห่างจากตักสิลา 10โยชน์ เป็นระยะทางประมาณ 160 กิโลเมตร แต่ถ้าเทียบกับระยะทางระหว่างตักสิลาซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงอิสลามบัดในปากีสถานซึ่งอยู่ห่างออกไปเกือบสองพันกิโลเมตรก็ไม่ตรงกับที่ระบุในพระไตรปิฎกจึงน่าจะเป็นคนละเมือง แต่หากเทียบกันระหว่างเมืองตาก (อำเภอบ้านตาก ซึ่งคนไทยเคยเชื่อกันมาแต่เดิมว่าเป็นตักสิลา) กับบริเวณเชิงเขาใหญ่(บริเวณกลางดง ของอำเภอปากช่อง)ซึ่งเชื่อว่าเป็นที่ตั้งกรุงพาราณสี แล้วระยะทางประมาณนี้ มีความเป็นไปได้สูง โดยตั้งสมมติฐานว่า ตำบลสาวะถีน่าจะเป็นเมืองสาวัตถี, อำเภอโกสุมพิสัยน่าจะเป็นโกสัมพี, ตำบลเสมา อำเภอสูงเนิน โคราช น่าจะเป็นนครเวสาลี ส่วนสาเกตเมืองร้อยเอ็ดประตูก็คือจังหวัดร้อยเอ็ด(จากอุรังคนิทาน) เมื่อพิจารณาระยะทางแล้วเป็นไปได้สูงมากคือสาวัตถีถึงโกสัมพี 3 โยชน์ คือ 48 กิโลเมตร ใกล้เคียงกับระยะทางจากอำเภอโกสุมพิสัยถึงตำบลสาวะถี ประมาณ 50 กิโลเมตร สาเกตถึงสาวัตถี 7 โยชน์ มีหลักฐานว่าสาเกตคือร้อยเอ็ด ห่างจาก ตำบลสาวะถีซึ่งสันนิษฐานว่า เมืองสาวัตถี 120 กิโลเมตร ก็ใกล้เคียงกับที่ระบุในพระไตรปิฎกไว้ 7 โยชน์ คือ 118 กิโลเมตร

ในส่วนที่เกี่ยวกับทิศทางในอินเดียก็มีพิรุธหลายแห่ง อาทิในพระไตรปิฎก ทิศทางระหว่างกุสินารายไปราชคฤห์ต้องผ่านเมืองสาวัตถี แต่ในอินเดีย สาวัตถีอยู่เหนือ กุสินารายอยู่กลางและราชคฤห์อยู่ทางใต้ จากแผนที่อินเดียกุสินารายอยู่ใกล้สาวัตถีและกบิลพัสดุ์มาก ไม่ตรงกับที่ระบุไว้ในพระไตรปิฎกเพราะเมืองกบิลพัสดุ์อยู่แคว้นสักกะ ส่วนกุสินาราย(ปัจจุบันฝรั่งทำให้เพี้ยนไปเป็น“กุสินารา”) อยู่ที่แคว้นมัลละ ส่วนสาเกตซึ่งท่านเศรษฐีธนัญชัยยกพลมาตั้งเมืองตามคำขอของพระราชาปทีปเสนอยู่ในแคว้นโกศลติดเขตแดนเมืองสาวัตถี ดังนั้นกุสินารายต้องอยู่ไกลจากกบิลพัสดุมาก เมืองกัสมีระอยู่ใกล้ทะเลแต่ฝรั่งเข้าใจว่าเป็นแคชเมียซึ่งอยู่ไกลจากทะเลเป็นพันกิโลเมตร เมืองปาตาลีบุตรตั้งอยู่ฝั่งทะเลโดยมีท่าเรือปัฏนะ(ปัฏนะ แปลว่าท่าเรือ)ซึ่งพระพุทธโฆษาจารย์เดินทางจากท่าเรือนี้ไปลังกา ฝรั่งเห็นคำว่า “ปัฏนะ” เข้าก็ไประบุว่า เมือง Patna คือปาตาลีบุตรที่ศรีลังกาก็มีท่าเรือชื่อโปล(โปลปัฏนะ) การนำ “กัสมิร” ไปเป็น Kashmir และ คำว่าปัฏนะไปเป็น Patna และการระบุสถานที่คนขุดพบเป็นเมืองนั้นเมืองนี้โดยไม่คำนึงถึงระยะทางระหว่างเมืองและทิศทางของเมืองต่างๆที่ระบุไว้ในพระไตรปิฎก แสดงให้เห็นถึงการลากเข้าข้างตัวเองอย่างข้างๆคูๆ โดยไม่ดูบริบทที่อยู่ในพระคัมภีร์ทางศาสนาจึงเห็นได้ว่าหากพิจารณาระยะทาง ทิศทางที่เป็นจริงในอินเดียกับที่ปรากฏในพระไตรปิฎกแล้วไม่สอดคล้องกันเลย

683

2. ขนบธรรมเนียมประเพณี
ประเพณีที่ปรากฏในพระไตรปิฎกยังถือปฏิบัติในดินแดนสุวรรณภูมิ โดยชาวไทย ลาว เขมร พม่า มอญ รวมทั้งชาวจีนทางใต้บริเวณคุนหมิง สิบสองปันนา ฯลฯ ที่ใช้ภาษาไทยเหนือ ประเพณีที่ถือว่าเป็นลักษณะเด่นของดินแดนสุวรรณภูมิที่ถือปฏิบัติกันในไทย ลาว เขมร พม่า และมอญคือ พิธีแรกนาขวัญ พิธีแต่งงาน พิธีเผาศพ วรรณะทั้ง 4 และการตั้งศาลพระภูมิ

2.1 พิธีแรกนาขวัญ เป็นพิธีที่พระมหากษัตริย์จะเป็นผู้นำทำพิธีแรกนา ก่อนที่ไพร่ฟ้า จะลงมือทำไร่ไถนาจริงๆ เป็นราชประเพณีของประเทศในสุวรรณภูมิ ไม่ปรากฏว่าเป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันในอินเดียหรือเนปาล ในพระพุทธประวัติเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จตามพระราชบิดาไปทำพิธีแรกนาขวัญและพระองค์เสด็จไปนั่งสมาธิที่ใต้ต้นหว้า(ต้นหว้าชมพู) เวลาผ่านไปถึงห้าโมงเย็นแล้ว เงาต้นหว้าก็ไม่ทอดไปตามแสงตะวัน แต่ยังคงปกคลุมเจ้าชายสิทธัตถะอยู่ตลอดเวลา
2.2 ประเพณีการแต่งงาน ในประเทศไทย ลาว เขมร พม่า และมอญ ฝ่ายชายจะไปสู่ขอเจ้าสาวจากฝ่ายหญิงแต่ในอินเดีย ฝ่ายหญิงจะเป็นผู้ไปสู่ขอฝ่ายชาย ประเพณีการที่ฝ่ายชายไปสู่ขอฝ่ายหญิงตรงกับที่ปรากฏในพระปฐมสมโพธิกถาที่กล่าวว่า พระเจ้าสีหหนุราช พระราชบิดาของเจ้าชายสิริสุทโธทนะเป็นผู้ให้ท่านโกณทัญญพราหมณ์เป็นผู้นำพราหมณ์อีก 7 คน ไป
แสวงหาธิดามาเป็นคู่ครองให้ราชบุตรคือเจ้าชายสิริสุทโธทนะ เมื่อได้พบพระนางสิริมหามายาซึ่งมีพระชนมายุ 16 พรรษา ต้องด้วยคุณลักษณะอันเลิศ พระเจ้าสีหหนุราชก็ได้กรีฑาพลไปสู่ขอและกระทำพิธีอาวาหมงคล อภิเษกสมรส ณ สถานที่ที่เป็นพระธาตุศรีสมรัก(ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นศรีสองรัก) ริมฝั่งแม่น้ำหมัน ชายแดนกรุงเทวทหะและกรุงกบิลพัสดุ์ จะเห็นว่ามิใช่ฝ่ายพระนางสิริมหามายามาสู่ขอพระเจ้าสิริสุทโธทนะ ตามประเพณีที่ฝ่ายหญิงไปสู่ขอฝ่ายชายดังที่เป็นประเพณีในอินเดีย ประเพณีแต่งงานในสมัยพุทธกาลจึงน่าจะเป็นประเพณีที่พบเห็นในดินแดนสุวรรณภูมิ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีก็ไปสู่ขอนางสุชาดา น้องสาวนางวิสาขามาเป็นภริยาบุตรชายของตนเช่นเดียวกัน
2.3 ประเพณีเผาศพแบบอินเดียกับแบบพุทธ ชาวไทย ลาว เขมร ทำพิธีเผาศพให้ไหม้จนเหลือแต่กระดูกแล้วเก็บกระดูกไว้บูชาส่วนหนึ่ง ฝังไว้ที่วัดส่วนหนึ่ง ตรงตามเรื่องราวที่ปรากฏในพระไตรปิฎก… แต่ที่อินเดียจะนำศพไปเผาให้ไหม้แต่ไม่หมดแล้วปล่อยศพลอยแม่น้ำ หลักฐานในพระไตรปิฎกปรากฏในอรรถกถาปุณโณวาทสูตร มัชฌิมนิกายที่ว่าเมื่อพระเถระปรินิพพานที่สุนาปรันตะ ประชาชนได้บูชาพระสรีระ เผาสรีระแล้วเก็บธาตุ(กระดูก)แล้วสร้างเจดีย์
2.4 ประเพณีการถือวรรณะ ชาวพุทธในประเทศไทยบางคนอาจจะยังไม่เข้าใจความหมายของวรรณะ ตามที่ปรากฏในพระไตรปิฏกดีนัก วรรณะในพระพุทธศาสนาแตกต่างจากวรรณะของฮินดู วรรณะของชาวฮินดูมี 4 คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพทย์ และศูทร วรรณะสูงสุดคือพราหมณ์ ที่วรรณะอื่นถือว่าต่ำกว่า ต้องเคารพนับถือเพราะพราหมณ์เป็นเจ้าพิธีกรรม แม้แต่การ “เปิดสาว” ก็ต้องนำมาให้พราหมณ์เป็นผู้ทำพิธีให้ ถือว่าวรรณะพราหมณ์อยากได้อะไร วรรณะอื่นต้องหามาสังเวยสักการะ วรรณะต่ำที่สุดคือพวกศูทรและจัณฑาลซึ่งเป็นผู้ที่เกิดจากการผสมวรรณะ พวกศูทรไม่สามารถจะอยู่ร่วมกับวรรณะที่สูงกว่าได้ เช่น ดื่มน้ำในบ่อเดียวกับวรรณะอื่นไม่ได้ ไม่สามารถแตะต้องเสื้อผ้าของใช้ของวรรณะอื่นได้ มีชีวิตต่ำกว่าสุนัขด้วยซ้ำ เช่น สุนัขลงดื่มในห้วยก็ไม่เป็นที่รังเกียจของวรรณะที่สูงกว่า แต่หากพวกศูทรหรือจัณฑาลลงดื่มแล้วถือเป็นของแตะต้องไม่ได้เลย

2.5 ศาสนาพราหมณ์ของไทยกับพราหมณ์ของอินเดีย(ฮินดู)ไม่เหมือนกัน มีการสอนผิดๆว่าชาวไทยรับศาสนาพราหมณ์จากอินเดีย ศาสนาพราหมณ์ของไทยเชื่อว่าพวกเราสิบเชื้อสายมาจากพระพรหมมีแสง(อิสานเรียก “ผีฟ้าแสง”)คือพรหมประกายมาศหรือพรหมประกายหรืออาภัสราพรหมคือขุนสรวงและนางสางซึ่งลงมากินง้วนดินแล้วเหาะกลับวิมานไม่ได้ กลายเป็นคน ทั้งสองได้อยู่กินเป็นสามีภรรยาและมีลูก 8 คน 2 คนแรกถูกพ่อแม่ฉีกเนื้อกินแต่ที่เหลือนางสางสงสารลูกได้ขอไว้ เมื่อโตขึ้นได้จับคู่ชาย 3 หญิง 3 และมีลูกหลาน ต่อมาเป็นชาวไทยลว้า(ไทยกับลาว) ขุนสรวงเมื่อตายแล้วก็กลับไปเป็นอาภัสราพรหมดังเดิม ก็ลงมาบอกลูกหลานให้ตั้งกองฟืน(กองฟอน) เผาศพ เก็บกระดูก สอนให้เอาดินเหนียวมาปั้นเป็นรูป พ่อแม่ ตายาย และตั้งศาลพระภูมิเพื่อวิญญาณพ่อแม่ ปู่ย่าตายายจะได้ลงมาดูแลปกป้องได้ คนไทยลาวจึงมีความปรารถนาอยู่เบื้องลึกที่จะตั้งศาลพระพรหมและก็เป็นเช่นนั้น คือมีศาลพระพรหมให้กราบไหว้บูชาอยู่ทั่วไป แต่ที่อินเดียไม่มีศาลพระภูมิหรือศาลพระพรหมพระพรหมที่กล่าวถึงในพระไตรปิฎกจึงเป็นคนละพรหมกับศาสนาฮินดู ดังท่านมหาพรหมที่เข้าเฝ้าและตามเสด็จพระพุทธเจ้า ก็ไม่ใช่พระพรหมของฮินดูที่เชื่อว่าเป็นพระผู้สร้าง ดังนั้นการที่กล่าวว่าชาวไทยนำศาสนาพราหมณ์มาจากอินเดียก็ไม่น่าจะถูกต้องจึงเป็นเรื่องที่นักวิชาการไทยจะต้องไปศึกษาและทำความเข้าใจเสียใหม่

url 2

3. วิถีชีวิตในสมัยพระพุทธกาล

วิถีชีวิตไทยแตกต่างจากวิถีชีวิตของชาวอินเดีย ของไทยกลมกลืน และสอดคล้องกับที่ปรากฏในพระไตรปิฎกในทุกเรื่อง ไม่ว่า จะเป็นเรื่องความใจบุฯ ข้าวที่บริโภค การทำนาข้าวเหนียว พืชพันธุ์ นกเขาคูที่ร้องว่าของกูและการวัดระยะทางล้วนสอดคล้องกับพระไตรปิฎก
3.1 ชนชาวสุวรรณภูมิและชาวอินเดียมีนิสัยเรื่องความใจบุญแตกต่างกัน คนสุวรรณภูมิ พวกเราในถิ่นไทยนี้ได้ชื่อว่า เป็นคนใจบุญมาแต่โบราณ ดังนั้นเมื่อมีเรื่องเศรษฐีใจบุญที่ตั้งโรงทานแจกทานคนยากจน สร้างมหาวิหารถวายพระพุทธองค์ ปรากฏในพระไตรปิฎก เช่น ท่านเศรษฐีธนัญชัยที่เมืองสาเกตบิดาของนางวิสาขาก็จะเห็นว่าเศรษฐีใจบุญเหล่านั้นเป็นคนไทยหรือคนที่อยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิ
3.2 ข้าวที่พระสงฆ์ในสมัยพระพุทธกาลฉัน พระพุทธองค์และเหล่าพระภิกษุในสมัยพุทธกาลเสวยหรือฉันข้าวเหนียวมิใช่โรตี หรือข้าวจ้าว มีหลักฐานในพระวินัยที่บัญญัติ(โภชนปฏิยุกต์) ไว้ว่า ภิกษุพึงสำเนียกอย่างนี้ว่า “เราจักไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่นัก … เราจักทำก้อนข้าวให้กลมกล่อม …เราจักไม่โยนข้าวเข้าปาก …เราจักไม่ฉันข้าวกัดคำข้าว …เราจักไม่โปรยเมล็ดข้าวลงในบาตร (เมื่อมือเปียกน้ำข้าวเหนียวจะร่วน) …เราจักไม่เอาก้อนข้าวกลบแกงโดยหวังจะได้แกงมาก … ” ก็จะเห็นว่า “ข้าว” ที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาลฉันเป็น “ข้าวเหนียว”
3.3 ทำนาข้าวเหนียวในเมืองโกสัมพีและเมืองสาวัตถี พระพุทธองค์และพระภิกษุในสมัยพระพุทธกาลเสวยและฉันข้าวเหนียว ทีหลักฐานปรากฏในพระไตรปิฎกหลายแห่ง กล่าวคือ อรรถกถาวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค วินัยปิฎกเล่มที่ 2 มหาวิภังค์ ทุติยภาคและวินัยปิฎกเล่มที่ 3 ภิกขุนีวิภังค์ นอกจากนี้คำว่า “บิณฑบาตร” ก็แปลว่า “ก้อนข้าว” ทั้งนี้ รวมทั้งข้าวมธุปายาส หรือข้าวทิพ (ไม่ได้เขียน“ข้าวทิพย์”) ซึ่งนาวสาวทิพพาคิดขึ้นในสมัยสุวรรณภูมิ ก็ทำจากข้าวเหนียว
3.4 พืชพันธุ์ไม้ในพระไตรปิฎก กว่า 264 ชนิด ล้วนเป็นพืชที่มีอยู่ในเมืองไทยทั้งนั้น แม้ชื่อจะเปลี่ยนแปลงไปแต่พบเห็นได้ในปัจจุบันอาทิหญ้าชนิดหนึ่งที่พระพุทธองค์เสวยแทนอาหารหลังจากทรงหยุดอดอาหาร เมื่อครั้งแสวงหาสัจธรรม คือ “หญ้ากับแก้” (“กับแก้” เป็นภาษาอีสาน ภาษากลางคือ ตุ๊กแก)และลูกกะเบา(โกลียะ) ก็เป็นพืชที่เกิดขึ้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลูกกะเบาใช้รักษาโรคเรื้อนได้ เมื่อพระพุทธองค์เริ่มเสวยพระกระยาหาร ถัดจากเสวยหญ้ากับแก้แล้ว ก็มาเสวยเนื้อลูกกระเบาช่วงเวลาหนึ่ง จึงเริ่มเสวยโภชนาหาร ซึ่งปรกติพระพุทธองค์จะบริโภคได้ 49 คำ เนื่องจากทรงมีพระวรกายทรงสูง 4 เมตร (8 ศอก) ปรกติพวกเราจะรับประทานข้าวเหนียวได้เพียง 2025 คำ
3.5 นกมัยหกะ(นกเขาคู)ที่ร้องจุ๊กๆกู ที่มาของ “ของกูๆ” ตามเสียงร้องและพระนำไปสอนเป็นปริศนาธรรม แสดงว่าเสียงร้องของนกเขา สอดคล้องกับเสียงในภาษาไทย คือ กู หาก ชาวเมืองสาวัตถีมีคำว่า “กู” ที่มีความหมายว่า “เรา – ข้า ( I )” ก็แสดงว่าเมืองสาวัตถีไม่ได้อยู่ที่อินเดีย เพราะที่อินเดียคำว่า กูหรือคู(เสียงร้องของนกเขา) มิได้มีความหมายว่า เรา–ข้าฯ ( I ) เลย ..
3.6 การวัดระยะทางโดยใช้ “โยชน์” “เส้น” “วา” เป็นการวัดระยะที่ปรากฏในพระไตรปิฎก และยังคงใช้กันอยู่ในประเทศไทยในปัจจุบัน ในขณะที่ในอินเดียไม่มีการวัดระยะทางเช่นนี้มาตั้งแต่บรรพกาล การวัดระยะทางเป็นกิโลเมตรหรือไมล์เพิ่งใช้เมื่ออิทธิพลของตะวันตกเข้ามาในประเทศไทยเมื่อประมาณร้อยปีมานี้เอง

4. โบราณสถานและโบราณวัตถุ
โบราณสถานและโบราณวัตถุเป็นหลักฐานที่ยินยันว่าสุวรรณภูมิเป็นที่อุบัติของพุทธศาสนา
4.1 ในประเทศอินเดียและเนปาล มีโบราณสถานหรือโบราณวัตถุ จำนวนน้อยกว่าในเมืองไทย นอกจากโบราณสถานที่อ้างว่า เป็นที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงพระปฐมเทศนา ปรินิพพาน และอีก 3 แห่งที่เมืองสาญจี ถ้ำอาชันตา นาลันทาและที่เล็กๆน้อยๆ อีกไม่กี่สิบแห่งแล้ว แทบจะไม่มีโบราณสถานอื่นๆ เช่น พระพุทธบาท เจดีย์ วิหาร ฯลฯ เหลือให้เห็นเลย หากรวมกันแล้วประมาณ 120 แห่ง
4.2 ในดินแดนสุวรรณภูมิ มีโบราณสถานและโบราณวัตถุเป็นจำนวนมาก อาทิ เจดีย์ พุทธวิหาร พระบรมสาริกธาตุ พระพุทธบาท พระพุทธฉาย รวมกันก็เป็นหมื่นแห่ง
4.3 มีความขัดแย้งกันระหว่างข้อมูลกับหลักฐานที่หลงเหลือในอินเดีย ที่อ้างว่าพระเจ้าอโศกมหาราชสร้างวิหาร 84,000 วิหาร ใน 84,000 เมือง เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา เมื่อถามว่าในอินเดียอยู่ที่ไหนบ้างก็ไม่มีทางจะตอบได้ แต่ถ้าถามเรื่องของพระเจ้าอโศกของไทย คือ พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ผู้ครองเมืองอโศกไทย(ใกล้สุโขทัย) ซึ่งมีพระมหินทรเถระเป็นพระโอรสและพระนางสังฆอมิตตาเป็นพระธิดาก็มีหลักฐานวัดวิหารที่หลงเหลือในสุวรรณภูมิ ส่วนพระเจ้าเทวานัมปิยะ ปิยทัสสี ที่ James Prinsep ซึ่งเชื่อ George Turnour บอกว่า เป็นพระเจ้าอโศกก็ยืนยันว่าเป็นคนละองค์กับพระเจ้าอโศกมหาราชซึ่งเป็นคนไทย ข้อค้นพบที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือข้อมูลเกี่ยวกับพระเจ้าอโศกอินเดีย คือวันขึ้นครองราชย์ และสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าอโศกอินเดีย (พ.ศ. 311 บางตำราว่า พ.ศ. 306) ไม่ตรงกับที่ระบุไว้ในพระคัมถีร์ ทางพระพทุ ธศาสนา ที่ระบุว่า พระเจ้าอโศกสวรรคต พ.ศ. 259 ชื่อที่ปรากฏในเสาหินพระเข้าอโศกคือ “พระเทวานัม ปิยะ ปิยทัสสี” ซึ่งเป็นสมัยเดียวกันและชื่อเดียวกับกษัตริย์ศรีลังกา ชื่อพระเจ้าเทวนัมปิย ปิยะทัสสะ จึงเป็นไปได้ว่ากษัตริย์ศรีลังกาองค์นี้จะแผ่อิทธิพลไปถึงอินเดีย ไม่ปรากฏการสังคายนาพระไตรปิฏกในเสาหินพระเจ้าอโศก รวมทั้งไม่มีการเอ่ยถึงการส่งพระราชโอรส(พระมหินทรเถระ)และพระราชธิดา(สังฆอมิตตาเถรี) ซึ่งบวชและบรรลุเป็นพระอรหันต์ทั้งคู่ ไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในลังกาเลย จึงน่าประหลาดใจมากที่ไม่ได้บันทึกไว้เรื่องสำคัญอย่างนี้อย่างนี้ เพราะเป็นสาระสำคัญในชีวิตของพระมหากษัตริย์พระองค์นี้ แต่หากเป็นพระเจ้าอโศกไทยคือพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชแล้ว มีการบันทึกข้อมูลไว้ตรงกับพระคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ในประวัติพระเจ้าเทวานัมฯหรืออโศกแขกปรากฏว่า มเหสีท่านควักนัยน์ตาบุตรตนเองอย่างเหี้้ยมโหด พระเจ้าอโศกแขกเองตามประวัติโหดร้ายมาก ส่วนพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ทรงดุแต่ไม่โหดร้าย เมื่อจับพระสึก 60,000 รูป เพราะตอบปัญหาหัวใจของพุทธศาสนาไม่ได้ก็จับสึก ห่มขาวและส่งไปเลี้ยงช้าง ส่วนพระเจ้าอโศกแขกสั่งประหารทั้งหมด แม้แต่อำมาตย์ที่ไม่เห็นด้วยกับคนก็ใช้ดาบประหารด้วยตนเองอย่างโหดร้าย นอกจากนี้ก็มีพิรุธหลายประการกับการอ้างว่าพระเจ้าอโศกคือพระเจ้าเทวานัม ปิยันปิยทัสสี เพราะในเสาหินไม่มีการเอ่ยถึงพระเจ้าอโศกเลย
4.4 หลักฐานจากจารึกวัดศรีชุม ยืนยันว่าปาตารีบุตรห่างจากศรีสัชนาลัย 23 คืน ในจารึกวัดศรีชุม หลัก 1, 3, 4 มีข้อความยืนยันว่าเมื่อได้มีการสร้างวัดศรีชุม พระะมหาเถระะพระองค์หนึ่งนามว่า พระมหาเถรศรีสรัทธาราชจุฬามุณี หลานพ่อขุนผาเมืองได้ อธิษฐานว่า “….(หาก) กูแล้ยังจักได้แก่สัพพัญญุตญาณเป็นพระพุทธจริงว่าไซร้ จุ่งให้พบปูน…..อธิษฐานบัดแปรแห่งนั้น ดายกลายพบสังปูนอันหนึ่งทายาทหนักหนา เอามาสทายพระธาตุก่อใหม่ เก่าแล้วเอามาต่อพระพุทธรูปหินอันหักอันพังบริบูรณ์แล้วปูนก่อยังเหลือเลย พระมหาธาตุหลวงนั้น กระทะทำปาฏิหาริย์อัศจรรย์หนักหนาและมีพระธาตุอันใหญ่ล้อมหลายแก่กม ฉลองมหาพิหารใหญ่ด้วยอิฐเสร็จบริบูรณ์แล้วจึงไปหาเอาพระพุทธรูปหินเก่าแตกมาบูชาด้วย ไกลชั่วสองสามคืน เอามาประดิษฐานไว้ในมหาพิหารบางแห่งได้คอได้ตน บางแห่งได้หัวตกไกลแลสี่คนหาบเอามาจึงได้ บางแห่งได้แข้งได้ขา บางแห่งได้มือได้ตีน ญ่อมพระหินอันใหญ่ ชักมาด้วยล้อด้วยเกวียน เข็นเจ้ามาในมหาพิหารเอามาต่อติดประกิดด้วยปูน มีรูปโฉมพรรณอันงามพิจิตรดังอินทรนิรมิต เอามาประกิดชิดชนเป็นตนพระพุทธรูปอันใหญ่อัน
ถ่าวอัน….งามหนักหนา เอาไว้เต็มมหาพิหารเรียงหลายกองช่องงามหนักหนาแก่กม ในมัชฌิมประเทศในปาตลี บุตรนครใกล้ฝั่งน้ำอโนมานที ….” จากหลักฐานนี้แสดงว่า เมืองปาตาลีบุตรและแม่น้ำอโนมานที ที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงปลงพระเกศาอยู่ห่าง
จากสุโขทัยเพียง 2-3 คืนเท่านี้ จึงสามารถขนพระพุทธรูปที่แตกหักจากวัดอโศกราม มาปฏิสังขรใหม่ได้
4.5 มีหลักฐานว่า พระนารายณ์ พระกฤษณะ เกิดในชมพูทวีปคือไทย ดังปรากฏในจารึกวัดศรีชุมที่ระบุว่าพระมหาเถระคือพระกฤษณะมาจุติเป็นพระนารายณ์ พระราม และจะได้บรรลุสัมมาสัมโพธยานเป็น “พระรามพุทธ” ในมัณฑกัปป์ ต่อจากพระศรีอารยเมตไตรย ในจารึกวัดศรีชุม หน้า 3 ระบุว่า “… พระกฤษณ์พระเจ้าหากประดิษฐาน พระกฤษณ์นั้นคือ ตนพระมหาสามีศรีสรัทธา ราชจุฬามุณีศรีรัตนลังกาทีปเป็นเจ้า คือตนพระราม พระนารายณ์ เทพจุติหากท่องเที่ยวในสงสารภพอันโทลเกิดไปมาแล เมดไตโย…”
4.6 มีการกล่าวถึงรอยพระพุทธบาท อยู่ 5 แห่ง ซึ่ง มีอย่างน้อย 4 แห่งที่ยืนยันว่าอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิ คือ (1)ที่สุวรรณบรรพต คือพระพุทธบาทสระบรุี (2) ที่เมืองโยนกบุรี คือพระพุทธบาทตากผ้าที่ลำพูน (3) เขาสุวรรณมาลิก(พระพุทธบาทที่เมืองลังกาพะโค วัดหลวงปู่ทวด ภาคใต้ของไทย) (4) ยอดเขาสุมนะกูฏ (ตามศิลาจารุกหลักที่ 8 หน้า 4 ที่ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร แปลไว้ ระบุว่า พระเจ้าลิไทย “…พาบริวารไปนมัสการพระบาทลักษณ์ บนยอดเขาสมนกูฏ…” ซึ่งสันนิษฐานว่า เป็นเขาสมอแครงในจังหวัดพิษณุโลกเพราะเป็นยอดเขาเพียงแห่งเดียวในละแวกนั้นที่มีพระพุทธบาทจริง ไม่ใช่จำลอง แต่ชาวพุทธทั่วไปเข้าใจว่าเป็นเขาสมนกูฏ ที่อยู่ใกล้เมืองอนุราชปุระในศรีลังกา) และ (5) ที่แม่น้ำชื่อนัมทานที (สันนิษฐานว่า เป็นพุทธบาทที่เขาตะเกียบ หัวหิน ซึ่งอยู่ใกล้สุนาปรันต คือสวนปราณหรือปราณบุรี).
4.6 มีการเอ่ยถึงคำสำคัญในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาหลายแห่ง อาทิ คำว่า ชมพูทวีป กุรุราฐ ปัจจันตชนบท ฯลฯ ซึ่งแสดงว่า เมืองเหล่านี้อยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิ ดังนั้นชมพูทวีป (อิสานเรียก “ทีปซมพู” หรือ “ซมพูทีป” ดังปรากฏอยู่ในนิทานและใบลานธรรมเป็นจำนวนมาก)

Credit : ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์
Thanks to image from : http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/1/1a/Rock-cut_Lord_–Buddha–_Statue_at_Bojjanakonda_near_Anakapalle_of_Visakhapatnam_dist_in_AP.jpg
http://cheriehanson.com/wp-content/uploads/2013/07/2-buddha.jpg
http://www.cultural-china.com/chinaWH/images/exbig_images/6655848205e13fd37eafc57a8ce9853f.jpg

Related contents:

You may also like...