กายกับใจมีความสัมพันธ์จนแยกไม่ออก สุขภาพกายไม่ดีก็ส่งผลถึงสุขภาพใจ ขณะเดียวกันหากสุขภาพจิตและสุขภาพใจไม่ดีก็ส่งถึงสุขภาพกายด้วย ความแปรปรวนทางจิตเป็นอาการแปรปรวนทางจิตใจ ทำให้เกิดมีการเปลี่ยนแปลงทางบุคลิกภาพ อารมณ์ ความสามารถในการทำงาน ความสัมพันธ์กับบุคคลในสังคมและครอบครัว อาจจะทำให้เกิดการแตกแยกในครอบครัว หากท่านพบคนที่รู้จักหรือสมาชิกในครอบครัวมีอาการดังกล่าว ให้แนะนำให้เพื่อนหรือญาติท่านไปพบแพทย์เพื่อบำบัดอาการ
ตามมาด้วยอาการแปรปรวนทางอารมณ์ เป็นการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นทุกวันได้แก่อารมณ์ ดีใจ เสียใจ โกรธ ความเครียด การนอนไม่หลับ เป็นต้น เรียนรู้ถึงอารมณ์ของเราและหัดความคุมการแสดงออกของอารมณ์ นอกจากนี้แล้วในบางรายอาจเกิดอาการซึมเศร้าและนำไปสู่อาการแห่งโรคซึมเศร้าได้ โรคซึมเศร้าอาจจะเกิดในคนที่มีการสูญเสียหรือโรคซึมเศร้าอาจจะเกิดในคนที่มีโรคประจำตัวหรือเกิดในคนปกติทั่วๆไป มีการประเมินว่าในระยะเวลา 1 ปีจะมีประชาชนร้อยละ 9จะเป็นโรคซึมเศร้า ทำให้สูญเสียทางเศรษฐกิจประเมินมากมาย แต่สูญเสียคุณภาพชีวิตรวมทั้งความทุกข์ที่เกิดกับผู้ป่วยจะประเมินมิได้ โรคซึมเศร้าจะทำให้การดำรงชีวิตเปลี่ยนแปลงและเกิดความเจ็บปวดทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแล บางครั้งอาจจะทำให้ครอบครัวแตกแยก
โรคซึมเศร้ามีกี่ชนิด?
Major depression ผู้ป่วยจะมีอาการ(ดังอาการข้างล่าง)ซึ่งจะรบกวนการทำงาน การรับประทานอาหาร การนอน การเรียน การทำงาน และอารมสุนทรีย์ อาการดังกล่าวจะเกิดเป็นครั้งๆแล้วหายไปแต่สามารถเกิดได้บ่อยๆ
Dysthymia เป็นภาวะที่รุนแรงและเป็นเรื้อรังซึ่งจะทำให้คนสูญเสียความสามารถในการทำงานและความรู้สึกที่ดี
Bipolar disorder หรือที่เรียกว่า manic-depressive illness ผู้ป่วยจะมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ซึ่งบางคนอาจจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่วนมากจะค่อยเป็นค่อยไป เวลาซึมเศร้าจะมีอาการมากบ้างน้อยบ้าง แต่เมื่อเปลี่ยนเป็นช่วงอารมณ์ mania ผู้ป่วยจะพูดมาก กระฉับกระเฉงมากเกินกว่าเหตุ มีพลังงานเหลือเฟือ ในช่วง mania จะมีผลกระทบต่อความคิด การตัดสินใจและพฤติกรรมผู้ป่วยอาจจะหลงผิด หากไม่รักษาภาวะนี้อาจจะกลายเป็นโรคจิต อาการ Mania คือ อาการ Mania มีอาการร่าเริงเกินเหตุ หงุดหงิดง่าย นอนน้อยลง
หลงผิดคิดว่าตัวเองเก่ง ตัวเองใหญ่ พูดมาก มีความคิดชอบแข่งขัน ความต้องการทางเพศเพิ่ม มีพลังงานมาก ตัดสินใจไม่ดี มีพฤติกรรมเปลี่ยนไปจนเป็นที่สังเกตของคนรอบข้าง
อาการซึมเศร้า depression มีการแสดงออกได้หลายลักษณะดังนี้
1.การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ได้แก่
• รู้สึกซึมเศร้า กังวล อยู่ตลอดเวลา
• หงุดหงิดฉุนเฉียว โกรธง่าย
• อยู่ไม่สุข กระวนกระวาย
2. การเปลี่ยนแปลงทางความคิด
• รู้สึกสิ้นหวัง มองโลกในแง่ร้าย
• รู้สึกผิด รู้สึกตัวเองไร้ค่า ไม่มีทางเยียวยา
• มีความคิดจะทำร้ายตัวเอง คิดถึงความตาย พยายามทำร้ายตัวเอง
3. การเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้หรือการทำงาน
• ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ความสนุก งานอดิเรก หรือกิจกรรมที่เพิ่มความสนุกรวมทั้งกิจกรรมทางเพศ
• รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีพลังงาน การทำงานช้าลง การงานแย่ลง
• ไม่มีสมาธิ ความจำเสื่อม การตัดสินใจแย่ลง
4. การเปลี่ยนปลงทางพฤติกรรม
• นอนไม่หลับ ตื่นเร็ว หรือบางรายหลับมากเกินไป
• บางคนเบื่ออาหารทำให้น้ำหนักลด บางคนรับประทานอาหารมากทำให้น้ำหนักเพิ่ม
• มีอาการทางกายรักษาด้วยยาธรรมดาไม่หายเช่น อาการปวดศีรษะ แน่นท้อง ปวดเรื้อรัง
• ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นแย่ลง
ขอขอบคุณความรู้จาก รศ.พญ.สุพัตรา แสงรุจิ
Thanks to image from http://www.backandneck.ca/wp-content/uploads/2013/03/anxiety-back-pain.jpg
http://www.menopausia.biz/wp-content/uploads/2012/08/Photoxpress_4247580.jpg