โค้งสุดท้ายแห่งชีวิต เมื่อทราบว่าคุณติดเอดส์

priscilladepaulacampanh

ฟ้าฝนตกเอาทุกวันๆ บรรยากาศช่างเป็นใจต่อการชวนฝันและ “หลับนอน” บางคนก็บอกว่านอนหนุนหมอนก็ไม่อุ่นเท่าซบอกภรรยา แต่ก็มีหลายรายที่ไม่ได้ซบอกภรรยาตน ครั้นเครื่องร้อนขึ้นมาแล้วฝนทั้งห่าก็เอาไม่อยู่ ต้องไปคลายร้อนกับความสุขที่อยู่ตรงหน้าเป็นใครก็ได้ลูบไม่มีหางก็เป็นใช้ได้แล้ว

ในปี พ.ศ. 2527 พบผู้ป่วยเอดส์ที่เป็นคนไทยรายแรก ในขณะนั้นเข้าใจว่า โรคเอดส์เป็นโรคที่พบกันในชายรักร่วมเพศเท่านั้น และไม่คิดว่าโรคเอดส์จะเข้ามาแพร่กระจาย ในคนทั่วไป มาตรการในการป้องกันและเผยแพร่ความรู้จึงเน้นกลุ่มเป้าหมายคือ ชายรักร่วมเพศหรือกลุ่มเกย์

ในปี พ.ศ.2530-2531 พบผู้ติดเชื้อเอดส์ในกลุ่มผู้ฉีดยาเสพติดเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยติดจากการใช้เข็มและหลอดฉีดยาร่วมกัน ในปีต่อมาพบผู้ติดเชื้อเอดส์ในกลุ่มผู้ค้าบริการทางเพศสูงขึ้นตามลำดับ การติดเชื้อส่วนใหญ่เป็นการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จากที่เคยคิดว่าติดเฉพาะในชายรักร่วมเพศ กลับพบการติดเชื้อสูงในหญิงโสเภณีและชายชอบเที่ยวที่มาตรวจรักษาที่คลินิกกามโรค

นับแต่ปี พ.ศ.2535 พบทารกป่าวเป็นโรคเอดส์มากขึ้นเป็นลำดับ เพราะได้รับเชื้อจากแม่ที่ติดเชื้อ ที่กรุงเทพฯมารดาที่มาฝากครรภ์ ตรวจเลือดพบติดเชื้อร้อยละ 2 ในจังหวัดทางภาคเหนือ เช่น เชียงราย พะเยา ลำปาง พบว่าแม่ติดเชื้อถึงร้อยละ 10 ทารกที่เกิดจากแม่ติดเชื้อประมาณ 1 ใน 4 ป่วยเป็นโรคเอดส์

เนื่องจากโรคนี้ยังไม่มียารักษาให้หายขาดและยังไม่มีวัคซีนป้องกันที่ได้ผลแน่นอน การป้องกันจึงต้องเน้นในเรื่อง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ให้ความรู้ว่าเชื้อติดต่อทางใด และจะหลีกเลี่ยงไม่รับเชื้อได้อย่างไร รัฐบาลจึงจัดตั้งคณะกรรมการเอดส์แห่งชาติ โดยมีกระทรวงสาธารณสุขเป็นแกนนำในการรณรงค์เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสเอดส์ การให้ความรู้ผ่านสื่อมวลชนระยะแรก เน้นให้เห็นความน่ากลัวของโรคเอดส์ คือ เป็นแล้วตายลูกเดียว และได้ลงรูปผู้ป่วยโรคเอดส์ระยะสุดท้าย ที่น่าเกลียดน่ากลัว เหลือแต่หนังหุ้มกระดูก มีผิวหนังเน่าเปื่อยทั่วตัว ด้วยความคิดว่า การใช้แนวทางนี้จะทำให้ผู้ชายกลัว และเลิกเที่ยวโสเภณีได้

เมื่อเวลาผ่านไปพบว่าแนวทางการให้ความรู้โดยสร้างความกลัวโรคเอดส์ไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง ชายเที่ยวหญิงโสเภณี ยังคงมีอยู่แม้จะลดน้อยลงบ้างและที่สำคัญคือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความกลัวโรคเอดส์เป็นอย่างมากคือ ผู้ติดเชื้อเอดส์ถูกสังคมรังเกียจ ครอบครัวไม่ยอมรับให้อยู่ร่วมบ้านเพราะกลัวติดโรค

ภาพที่น่ากลัวและความตายทำให้คนบางกลุ่มที่ไม่มีความรู้เพียงพอไม่ยอมรับผู้ที่ติดเชื้อและพยายามกีดกันเขาเหล่านั้นออกจากสังคม บางคนถูกไล่ออกจากงาน บางคนถูกขับออกจากหมู่บ้าน และที่เจ็บปวดไปกว่านั้นคือ บางคนถูกคนในครอบครัวไล่ออกจากบ้าน ให้ไปตายเอาดาบหน้า!

can-mobile-phones-help-fight-pediatric-aids--0f3f8d36c3

การกระทำเหล่านี้ทำให้ผู้ติดเชื้อเหมือนคนแค่ครึ่งคน พวกเขาไม่กล้าออกมายืนอยู่ในมุมสว่างของสังคม ได้แต่หลบอยู่ในวอกมืด ทำให้เพวกเขาขาดโอกาสอีกหลายอย่าง เช่น โอกาสที่จะได้รับความช่วย-เหลือจากรัฐฯ โอกาสได้รับการดูแลจากแพทย์ โอกาสในการใช้ชีวิตอย่างปกติ โอกาสทางสังคมอื่นๆอีกมากมาย

หากเรามีความรู้เรื่องโรคเอดส์ รู้ว่าเอดส์นั้นติดได้โดยการร่วมเพศ ร่วมเข็มหรือร่วมเลือด ไม่ได้ติดต่อง่ายๆเหมือนหวัดหรือวัณโรคที่หายใจ ไอ จาม รดกันก็ติดเชื้อได้หรือโรคกลากเกลื้อนที่ติดทางการสัมผัส เราอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอดส์หรือแม้แต่ผู้ป่วยเอดส์ได้ กินข้าวด้วยกัน พูดคุยกัน จับต้องตัวกันได้โดยไม่ติดเชื้อ ที่สำคัญคือผู้ที่ติดเชื้อยังสามารถอยู่ได้อย่างปกติอีกนาน หากได้รับการดูแลสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ ในทางกลับกันหากสังคมใกล้ตัวไม่ให้โอกาส ความกดดันจะทำให้ผู้ติดเชื้ออายุสั้น ถ้าหากคุณมีญาติพี่น้องหรือเพื่อนติดเชื้อเอดส์ คุณและเขาจะปฏิบัติตัวอย่างไรที่จะอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างไม่เดือดร้อน

พ.ญ.จันทพงษ์ วะสี และ น.พ.สถาพร มานัสสถิต, หนังสือถาม-ตอบปัญหาโรคเอดส์/กองโรคเอดส์ กระทรวงสาธารณสุข และโครงการ เข้าถึงเอดส์ แอคเซส
Thanks to image from http://rack.3.mshcdn.com/media/ZgkyMDEyLzEyLzA0LzFkL2Nhbm1vYmlsZXBoLmFUcS5qcGcKcAl0aHVtYgk5NTB4NTM0IwplCWpwZw/a10ba721/cd7/can-mobile-phones-help-fight-pediatric-aids–0f3f8d36c3.jpg
http://img30.imageshack.us/img30/1328/priscilladepaulacampanh.jpg

Related contents:

You may also like...