“ราชธานีเก่า อู่ข้าวอู่น้ำ เลิศล้ำกานต์กวี คนดีศรีอยุธยา” เสน่ห์เมืองเก่า…จังหวัดพระนครศรีอยุธยาหรือเรียกสั้นๆ ว่า “อยุธยา” ตั้งอยู่ในภาคกลางเป็นเมืองหลวงเก่าของไทย สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1893 โดยสมเด็จพระเจ้าอู่ทองหรือสมเด็จพระราคมธิบดีที่ 1 ในเวลา 417 ปีที่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี มีกษัตริย์ปกครอง 33 พระองค์ จาก 5 ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์อู่ทอง ราชวงศ์สุพรรณภูมิ ราชวงศ์สุโขทัย ราชวงศ์ปราสาททอง และราชวงศ์บ้านพลูหลวง นับเป็นราชธานีของไทยที่มีอายุยืนยาวที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย
อยุธยา หลายคนทราบดีด้วยประวัติครั้นเมื่อเป็นราชธานีเก่าแก่กว่า 700 ปี ได้รับจาก UNESCO เป็น มรดกโลก มีวัดและสถานที่ทางประวัติศาสตร์นับร้อยแห่ง ส่วนมากแล้วจะเป็นการท่องเที่ยวเชิงโบราณคดี ชมโบราณสถาน อาทิ วัดพนัญเชิง, วัดใหญ่ชัยมงคล, วัดหน้าพระเมรู, วิหารมงคลบพิตร, วัดพระศรีสรรเพชญ์, วัดไชยวัฒนาราม, วัดมหาธาตุ หรือจะท่องเที่ยวชมเมือง อาทิ บึงพระราม, ตลาดน้ำอโยธยาที่รวบรวมชนบธรรมเนียมวิถีประชาในสมัยอยุธยาให้เราได้ชมกัน ตลอดข้างทางของอยุธยาคุณจะได้พบขนมหวานเลื่องชือนั่นก็คือ “โรตีสายไหม” สัตว์ที่เป็นสัญญลักษณ์ของอยุธยาที่ชาวต่างชาติชอบมากคือ “ช้าง” โดยจะมีการนั่งช้างชมเมืองที่วังช้าและเพนียดคล้องช้างไว้บริการด้วย
ยูเนสโกแถลงข่าวเปิดโครงการ “การจัดทำแผนป้องกันและรองรับอุทกภัยสำหรับแหล่งมรดกโลกพระนครศรีอยุธยา” ณ. สานักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ ในวันศุกร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2556
ผู้ร่วมงานแถลงข่าวประกอบด้วยนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญระดับชาติที่มีบทบาทด้านการบรรเทาอุทกภัย และตัวแทนจากสถานทูตประเทศเยอรมนี ญี่ปุ่น โปรตุเกส และสหรัฐอเมริกา ซึ่งให้ความร่วมมืออย่างต่อเนื่องในการฟื้นฟูแหล่งมรดกโลกพระนครศรีอยุธยาหลังมหาอุทกภัยระหว่างปี พ.ศ. 2554-2555 โครงการนี้ถูกพัฒนาขึ้นหลังจากเหตุอุทกภัยในปี พ.ศ. 2554 ภายใต้การสนับสนุนจากโครงการงบประมาณเพื่อทรัพยากรน้ำของธนาคารพัฒนาเอเซีย (ADB) นายควาง-โจ คิม ผู้อำนวยการสำนักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ กล่าวว่า “การป้องกันและรองรับภัยธรรมชาติเป็นเรื่องสำคัญที่สุดประการหนึ่งในการอนุรักษ์มรดกโลกตามที่คณะกรรมการมรดกโลกได้ระบุไว้” ซึ่งตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 รัฐบาลไทยได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์แหล่งมรดกโลกพระนครศรีอยุธยาครั้งใหญ่หลังจากเหตุมหาอุทกภัย และดำเนินงานด้านระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา แต่อย่างไรก็ตาม จนถึงปัจจุบันยังไม่มีการจัดทำโครงการระยะยาวเพื่อปกป้องแหล่งมรดกในพระนครศรีอยุธยาจากเหตุอุทกภัยในอนาคต
โครงการ “การจัดทำแผนป้องกันและรองรับอุทกภัยสำหรับแหล่งมรดกโลกพระนครศรีอยุธยา” นี้มีระยะเวลา 2 ปี โดยมุ่งเน้นการจัดการประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดอุทกภัยโดยเฉพาะในพื้นที่แหล่งมรดกโลกพระนครศรีอยุธยา รวมทั้งการพัฒนาแผนป้องกันและรองรับอุทกภัย โดยผู้เชี่ยวชาญจะสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์แสดงระดับและรูปแบบการเคลื่อนที่ของกระแสน้ำเพื่อประเมินความเสี่ยงต่ออุทกภัยในในพื้นที่แหล่งมรดกโลก จากนั้นจะนำผลการประเมินมาพัฒนาแผนป้องกันและรองรับอุทกภัยร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง ยูเนสโกจะคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญจากนานาชาติด้านการรองรับความเสี่ยงต่อภัยธรรมชาติเพื่อการอนุรักษ์แหล่งมรดกทางวัฒนธรรมมาร่วมให้แนวทางการพัฒนาแผนป้องกันและรองรับอุทกภัยที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลในการอนุรักษ์โบราณสถาน
นายควาง-โจ คิม ผู้อำนวยการสำนักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ กล่าวเสริมว่า “เมื่อโครงการนี้สำเร็จลุล่วงแล้ว พระนครศรีอยุธยาจะเป็นแหล่งมรดกโลกในภูมิภาคเอเซียอาคเนย์แหล่งแรกที่มีแผนบริหารจัดการที่รวมการป้องกันและรองรับอุทกภัยไว้ด้วยกัน ซึ่งจะเป็นแบบอย่างให้กับแหล่งมรดกโลกอื่นๆในภูมิภาค”
โครงการนี้จะดำเนินการโดยสถาบันการศึกษาอุทกศาสตร์ของยูเนสโก (ยูเนสโก-ไอเอชอี) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยจะมีสำนักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ ให้ความร่วมมืออย่างใกล้ชิด ส่วนหน่วยงานที่ร่วมโครงการได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (สสทก) และกรมศิลปากร ทั้งนี้ จะมีการวางแผนการประชุมหารือระหว่างผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติเพื่อเริ่มต้นโครงการพัฒนาแผนป้องกันและรองรับอุทกภัยในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2556
Ms. Rojana Manowalailao
Media and Communications Officer
UNESCO Asia-Pacific Regional Bureau for Education
920 Sukhumvit Rd, Bangkok 10110, Thailand
Tel. +6623910577 ext.347 Fax. +6623910866
http://www.unesco.org/bangkok
Thanks to image from : www.toptenthailand.com